"ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
ฉันจึง มาหา ความหมาย
ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย
สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว"
เป็นส่วนหนึ่งของบทประพันธ์ของ
อาจารย์ วิทยากร เชียงกูล ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ยูงทองของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี พ.ศ. 2511
ในยุคสมัยนั้น นักศึกษาตั้งคำถามกับระบบการเรียน การสอน ในมหาลัย ซึ่งไม่ตอบโจทย์พวกเขา และนำพามาถึงพลังนักศึกษาต่อสู้มาหลายครั้งเพื่อให้มีระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง
ผ่านมา 50 ปี ไม่แน่ใจว่าหนุ่มสาวยุคนี้ จะเคยเห็นบทกลอนนี้บ้างไหม
หาก 4 ปี ในรั้วมหาลัย เราเรียนอย่างเดียว ก็คงได้เพียงใบปริญญาอย่างเดียวจริงๆ
ทว่าในหลักสูตรปัจจุบัน จะให้นักศึกษาทำรายงานกลุ่ม มีโครงงานทั้งเป็นทฤษฎีคิดหัวขัอต่างๆ และภาคปฏิบัติ ค้นคว้าทดลองต่างๆ ประยุกต์ ให้เกิดสิ่งใหม่ๆ สนับสนุนความเป็นอยู่ในโลกปัจจุบัน ให้ดีขึ้น
การเรียนรู้ การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม การบริหารจัดการ การใช้โปรแกรมรายงาน ถ่ายรูป คลิป ต่างๆ การวิเคราะห์ปัญหา ข้อเสนอแนะต่างๆ แล้วนำเสนอ เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการและเชิงวิจัย
เราอย่าไปคิดว่าระบบมันปิดกั้นเรา เราเป็นคนสร้างระบบเปิดเองได้ ในยุคปัจจุบัน พยายามฝึกให้ตนเองมีความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ มีความรู้หลากหลาย การคำนวณ มีตรรกะ มีเหตุผล ความเชี่ยวชาญภาษาต่างๆ การสื่อสาร ถ่ายรูป ศิลปะ และศาสตร์อื่นๆที่เราสนใจ
เราควรปรับทัศนคติให้ถูกต้อง เข้าใจวิถีการใช้ชีวิตปัจจุบัน ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาตลอดเวลา และปรับตัว อยู่ได้กับทุกสถานการณ์อย่างเข้าใจ และอยู่อย่างมีความสุข
หากมีคำถามว่า ฉันสู้แล้ว แต่ยังท้อเหลือเกิน หมดแรงแล้ว เกินกำลังที่จะสู้ต่อ..
เราก็ควรมีกัลยาณมิตร ทั้งจากครอบครัว เพื่อนฝูง พี่น้อง ที่ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ แล้วเราก็สร้างแรงบันดาลใจ หา passion ของตัวเอง..เขียนออกมา ..
"ลงมือทำ ..
อย่ายอมแพ้ ..
ทำอย่างต่อเนื่อง"
คาถาง่ายๆ ที่ขอฝากไว้นะคะ
ปล. คนเขียน ก็ keep writing เหมือนกัน ?
แจ๊คหม่า แนะนำว่า หนุ่มสาวยุคใหม่ ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มี innovation จึงจะอยู่รอดได้ และหากเป็นส่วนหนึ่งใน sport team ก็เยี่ยมเลย เพราะรอดแน่ ไม่ถูก AI ทดแทน
?????
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in