กลับมาที่พม่าต่อนะครับ
กษัตริย์พระองค์ต่อมาคือพระเจ้าสี ป้อ(พ.ศ.2421-2428)หรือพระเจ้าธีบอ ทรงมีเชื้อสายของเจ้าเมืองสีป้อในรัฐฉาน ซึ่งโดยทั่วไปที่ผมอ่านมาหลายเล่มว่าพม่าเสียเมืองเราจะดูแต่ปัจจัยภายในว่า พระเจ้าสีป้อไม่นำพาย่อหย่อนราชการทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ซ้ำอ่อนแอตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของมเหสี และขุนนาง
ประเด็นนี้ผมไม่ พูดละกันเพราะเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้สำหรับผู้ปกครองในระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชผมจะชี้ประเด็นปัจจัยภายนอกมากกว่าว่าเป็นต้นเหตุทำให้ พม่าเสียเมือง
ซึ่งในสมัยนั้นมีเหตุการณ์สำคัญๆเช่น
1.การปฏิวัต อุตสาหกรรมในยุโรป ซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรตที่ 19 ในอุตสาหกรรมทอผ้าสามารถเพิ่มผลผลิตได้เป็นจำนวนมาก และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงที่ 2 ในอุตสาหกรรมเหล็กและถ่านหิน ทำให้การเอาเหล็กมาสร้างเรือไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป จึงสามารถสร้างเรือขนาดใหญ่ที่ทำจากเหล็ก ซึ่งทนทานต่อลมพายุในท้องทะเล และสามารถบรรทุกของได้มากขึ้น
2.การเปิดคลองสุเอซ ในปี 2419/1869 ทำให้การเดินทางจากยุโรปมาเอเซียมาได้รวดเร็วขึ้น สามารถบรรทุกสินค้ามาขายยังเอเซียได้สะดวกขึ้น
ภาพวาดคลองสุเอซในศตวรรตที่ 18
คลองสุเอซในปัจจุบัน
3.กระแส ตื่นจีน ในช่วงนั้นมหาอำนาจในยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศสพยายามทำการค้ากับจีน ทั้งทางประตูหน้า(ทางทะเล)และประตูหลัง(ทางมณทลยูนาน) ซึ่งทางฝรั่งเศสเริ่มสำรวจทางแม่น้ำโขง(แต่ไม่สำเร็จเพราะแม่น้ำโขงมีเกาะ แก่งมากเกินไป แต่ได้ลาวกับเขมรจากไทยไปแทน)
ทำให้อังกฤษสนใจที่จะ สำรวจมั่งซึ่งก็เหล่ไปที่แม่น้ำอิระวดีและแม่น้ำสาละวินในพม่า และยิ่งต้องเร่งมือมากขึ้นเมื่อมีตัวแทนการค้าของฝรั่งเศสเข้ามาตีสนิทกับ ราชสำนักของพระเจ้าสีป้อทำให้ฝรั่งเศสได้สัมปทานตัดไม้ในภาคเหนือของพม่า เดินเรือในแม่น้ำอิระวดีแทนอังกฤษ ดำเนินกิจการไปรษณีย์ในพม่า และผลประโยชน์อื่นๆในอนาคต(ถ้ามี)
แลกกับฝรั่งเศสยอมขายอาวุธให้พม่า และช่วยขัดขวางอังกฤษไม่ให้ขยายอิทธิพลเข้ามาในพม่าตอนเหนือ ฝ่ายอังกฤษทราบข่าวก็ไม่พอใจ จึงให้รัฐบาลของตนกดดันทางปารีสว่าอย่ามาแหยมในพม่านะ พร้อมอ้างสนธิสัญญาที่ทำกันในปี 1854 ตอนวิกฤตฟาโดชา ในเรื่องอิทธิพลในเอเซีย คือ พม่า ฟอร์ อิงค์แลนด์ ,อินโดจีน ฟอร์ ฟรานซ์ ฝ่ายฝรั่งเศสจึงถอนตัว
เมื่อฝรั่งเศสถอนตัว ก็จึงมาเช็กบิลกับพม่า เพราะขืนปล่อยต่อไป พม่าอาจไปเอามหาอำนาจอื่นมายุ่ง พาลจะวุ่นวายเปล่า แล้วบังเอิญมีเหตุ.......
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in