เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
เขตคลองมองเมือง By บัณฑิต จุลาสัย, รัชดา โชติพานิช
  • รีวิวเว้ย (1210) หากเราย้อนอ่านหนังสือเก่าที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมไทย ทั้งจากครั้งอดีจงตกระทั่งช่วงก่อน พ.ศ. 2530 เราจะพบว่างานหลายชิ้นมุ่งไปในทิศทางเดียวกันที่บอกเล่าเรื่องราวของการเป็น "เมืองน้ำ" และเป็นแหล่งเกษตรกรรมของพื้นที่ลุ่มภาคกลาง ที่วิถีชีวิตของผู้คนผูกติดอยู่กับฤดูกาล โดยเฉพาะเมื่อฤดูน้ำเดินทางมาถึงวิถีของผู้คนก็ดำเนินไปตามวงรอบของฤดูกาล การตั้งบ้านเรือน การประกอบอาชีพ รวมถึงกิจกรรมกิจการต่าง ๆ ก็ผูกโยงตัวเองเข้ากัลฤดูกาลและสภาพแวดล้อม ทำให้ในปัจจุบันเราจะยังเห็นความผูกโยงกับอดีตถึงแม้นว่าบริบทของสังคมและพื้นที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากก็ตามที อาทิ เรื่องของชื่อเมืองที่ผูกโยงกับบริบทในสมัยก่อน หรือกระทั่งลักษณะของการตั้งบ้านเรือนและชุมชนเก่าที่หันหน้าเข้าหาน้ำหันหลังให้กับถนน สิ่งเหล่านี้ล้วนทำหน้าที่เป็นบันทึกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์สังคมของไทย ซึ่งการเรียนรู้และทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นประโยชน์กับเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
    หนังสือ : เขตคลองมองเมือง
    โดย : บัณฑิต จุลาสัย, รัชดา โชติพานิช
    จำนวน : 280 หน้า

    "เขตคลองมองเมือง" หนังสือที่บนปกหน้าของหนังสือมีข้อความเล็ก ๆ ที่สะท้อนภาพของสิ่งที่หนังสือ "เขตคลองมองเมือง" ต้องการบอกและเล่าเอาไว้ว่าหนังสือเล่มนี้ตั้งจะจะบอกเล่าถึงเรื่อง "จากนามคลองสู่ชื่อเขต ประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ เลียบสายน้ำ" โดยที่ผู้เขียนพาเราในฐานะของผู้อ่านไปย้อนทำความเข้าใจเรื่องราวของ "เขต" ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ ที่ตั้งชื่อตาม "คลอง" ที่เคยปรากฏและเป็นหนทางหลักของการสัญจรและการดำรงชีวิตของชาวกรุงในครั้งอดีต ทั้งฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี

    เนื้อหาของหนังสือ "เขตคลองมองเมือง"  บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเขตในกรุงเทพฯ จำนวน 28 (เขต) คลอง จากทั้งหมด 50 เขตของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ที่แต่ละเขตนั้นมีชื่อที่สัมพันธ์อยู่กับคลองและกิจกรรมตามคลองในสมัยก่อน โดยเนื้อหาของ "เขตคลองมองเมือง" แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักดังนี้

    (1) เขตคลองแห่งพระนครกรุงเทพฯ

    (2) เขต (คลอง) ฝั่งธนบุรี บอกเล่าเรื่องราวของเขต-คลอง จำนวน 11 เขต ที่มาจากนามของคลองในครั้งอดีต

    (3) เขต (คลอง) ฝั่งพระนคร บอกเล่าเรื่องราวของเขต-คลอง จำนวน 17 เขต ที่มาจากนามของคลองในครั้งอดีต

    เมื่ออ่าน "เขตคลองมองเมือง" นอกจากความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพื้นที่ที่นำมาสู่การตั้งชื่อเขตผ่านชื่อคลองในครั้งอดีต และเรื่องของภูมิศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์ การปกครอง รวมถึงประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของกรุงเทพฯ ในครั้งอดีตแล้ว อีกสิ่งที่ผู้อ่านจะจำได้อย่างขึ้นใจแน่ ๆ คือข้อความที่ว่า "เมื่อมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 24 ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ให้รวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร ..." ซึ่งข้อความดังกล่าวความยาว 1 ย่อหน้าจะปรากฏอยู่ใน 28 เขต (คลอง) ให้เราได้ท่องจำอย่างขึ้นในว่าจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครรวมกันในวันที่เท่าไหร่ และจากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับใด

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in