เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
หลากมิติ หลายมุมมองฯ By ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์
  • รีวิวเว้ย (1183) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ฤดูการเลือกตั้ง (ธันวาคม 2565) ขยับใกล้เข้ามาทุกที เพราะในช่วงเวลานี้เราเริ่มเห็นปรากฏการณ์การย้ายพรรคของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หลายคนจากหลายพรรค และเริ่มเห็นการขยับครั้งใหญ่ของนักการเมืองหลายคน รวมไปถึงเราเริ่มเห็นพรรคการเมืองขนาดเล็กหลายพรรคเริ่มควบรวมหรือแยกย้ายกันไป เพื่อไปอยู่กับพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดใหญ่อันเกิดจากผลของบัตรเลือกตั้งที่มีการปรับเปลี่ยนจากการเลือกตั้งในช่วง พ.ศ. 2562 นอกเหนือไปจากเรื่องของบัตรเลือกตั้ง ขนาดของพรรค สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้ว่าใครจะได้ตำแหน่งผู้นำรัฐบาลก็คือเรื่องของ "การกำหนดนโยบาย" ของพรรคการเมืองที่จะใช้เป็นทัพหน้าในการชิงชัยคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งที่กำลังจะถึงนี้ (2566) น่าสนใจว่าพรรคการเมืองของหลายพรรคที่เริ่มเป็นที่ปรากฏในช่วงเวลานี้ อาทิ ค่าแรง 600 บาท, การฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี และบางพรรคก็ยังม่วนอยู่กับนโยบายกัญชา อะไรทำให้นโยบายเล่านี้ถูกสร้างขึ้นกระทั่งกลายมาเป็นนโยบายของพรรคการเมืองหลาย ๆ พรรคอย่างที่เราเห็นกัน
    หนังสือ : หลากมิติ หลายมุมมอง: การกำหนดนโยบายพรรคการเมืองไทย
    โดย : ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์
    จำนวน : 226 หน้า

    "หลากมิติ หลายมุมมอง: การกำหนดนโยบายพรรคการเมืองไทย" เป็นหนังสือที่ศึกษาเรื่องของ "พัฒนาการและวิเคราะห์กระบวนการกำหนดแนวนโยบายสาธารณะของพรรคการเมืองไทยตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการกำหนดแนวนโยบายของพรรคการเมือง และจัดทำตัวแบบการพัฒนาเครื่องมือที่สนับสนุนการจัดทำแนวนโยบายของพรรคการเมืองที่ช่วยสร้างความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองไทย และจัดทำนโยบายสมเหตุสมผลและตอบสนองความต้องการของคนในสังคม" (น. 208)

    สำหรับวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่ปรากฎใน "หลากมิติ หลายมุมมอง: การกำหนดนโยบายพรรคการเมืองไทย" มีอยู่ด้วยกัน 3 ข้อดังนี้

    (1) เพื่อศึกษาพัฒนาการของการจัดทำและการนำเสนอนโยบายของพรรคการเมืองไทยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

    (2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การจัดทำและนำเสนอนโยบายของพรรคการเมืองไทยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

    (3) เพื่อนำเสนอตัวแบบการพัฒนาเครื่องมือทางนโยบายของพรรคการเมืองไทยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

    โดยเนื้อหาของ "หลากมิติ หลายมุมมอง: การกำหนดนโยบายพรรคการเมืองไทย" แบ่งออกเป็น 6 บท ที่จะบอกเล่าเรื่องของการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองในประเทศไทยดังต่อไปนี้

    บทที่ 1 บทนำ พรรคการเมืองกับกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ

    บทที่ 2 บริบททางการเมืองการปกครอง องค์กรพรรคการเมือง กับการกำหนดแนวนโยบายของพรรคการเมือง

    บทที่ 3 กระบวนการวิเคราะห์และทำความเข้าใจการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองไทย

    บทที่ 4 เปรียบเทียบกระบวนการกำหนดแนวนโยบายของพรรคการเมืองไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544

    บทที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างบริบททางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ ความเป็นสถาบันของพรรคการเมือง และแนวนโยบายของพรรคการเมืองไทย

    บทที่ 6 การพัฒนากระบวนการกำหนดแนวนโยบายของพรรคการเมือง : บทสรุป ข้อเสนอแนะ และข้อพิจารณาการศึกษาในอนาคต

    เมื่ออ่าน "หลากมิติ หลายมุมมอง: การกำหนดนโยบายพรรคการเมืองไทย" จบลง จะพบว่าแท้ที่จริงแล้วการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองในการกำหนดธงให้นโยบายเป็นตัวนำในการเลือกตั้งหรือในสนามเลือกตั้งเป็นหนึ่งในพัฒนาการทางการเมืองไทยที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในช่วงเวลาหลังดารประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา นโยบายของพรรคการเมืองกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการต่อสู้กันในสนามเลือกตั้ง น่าสนใจว่าในปี พ.ศ. 2566 สนามนโยบายของพรรคการเมืองแต่ละพรรคจะดุเดือดกันขนาดไหน

    สำหรับผู้สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://kpi-lib.com/library/books/kpibook-28606/

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in