เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
เรียนรู้จากแผนที่เพื่อรู้จักท้องถิ่น By วลัยลักษณ์ ทรงศิริ บรรณาธิการ
  • รีวิวเว้ย (1151) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ลองค้นความหมายของคำว่า "แผนที่" จากแหล่งต่าง ๆ แล้วพบว่า มีการให้ความหมายของคำดังกล่าวเอาไว้ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ (1) "น. แบบที่เขียนย่อจากมาตราส่วนจริงเพื่อแสดงพื้นที่ภูมิประเทศ เขตการปกครอง เป็นต้น" และ (2) "น. ผังแสดงตำแหน่ง สถานที่" เมื่อพิจารณาจากความหมายทั้ง 2 ลักษณะ เราจะพบว่าแผนที่มีหน้าที่เพียงอย่างเดียวสำหรับการกำหนดนิยามในลักษณะนี้ โดยแผ่นที่มีหน้าที่ในเรื่องของการบอกตำแหน่ง แห่ง ที่ ขอบเขต ขนาด อาณาบริเวณ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว "แผนที่" ถูกใช้งานและขยายขอบเขตของการทำหน้าที่ออกไปได้มากกว่าการเป็นเพียงแค่เรื่องของการระบุตำแหน่งเพียงอย่างเดียว
    หนังสือ : เรียนรู้จากแผนที่เพื่อรู้จักท้องถิ่น
    โดย : วลัยลักษณ์ ทรงศิริ บรรณาธิการ
    จำนวน : 50 หน้า

    "เรียนรู้จากแผนที่เพื่อรู้จักท้องถิ่น" หนังสือรวมบทความที่เกี่ยวข้องกับการหยิบยกเอาประเด็นเรื่องของแผนที่ การใช้งานแผนที่ มาใช้ในเรื่องของการออกแบบการศึกษา "ท้องถิ่น" ที่เนื้อหาของหนังสือได้หยิบยกเอาบทความที่เกี่ยวกับการใช้แผนที่ของสังคมไทยมารวมไว้

    โดยเนื้อหาของ "เรียนรู้จากแผนที่เพื่อรู้จักท้องถิ่น" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้

    (1) ผู้มีวัฒนธรรมและการศึกษาท้องถิ่น

    (2) การอ่านแผนที่กับการเรียนรู้นิเวศวัฒนธรรมของเด็กไทยในยุคปฏิรูปการศึกษา

    (3) คนไทยใช้แผนที่ไม่เป็น เหตุการณ์แห่งความโง่เขาเบาปัญญาจนเสียรู้ เสียดินแดน

    (4) เรียนรู้จากแผนที่เพื่อศึกษาท้องถิ่น

    เมื่ออ่าน "เรียนรู้จากแผนที่เพื่อรู้จักท้องถิ่น" จบลง เราพบว่าการจัดทำกิจกรรมการเรียนรู้ ในลักษณะของแผนที่ท้องถิ่นหรือแผนที่ชุมชน จะช่วยให้การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับท้องถิ่น และการสร้างความรับรู้ในชุมชน ผ่านรูปแบบของแผนที่ท้องถิ่นและแผนที่เดินดิน เป็นการรวบรวมและจัดเก็บความรู้ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ของท้องถิ่นเอาไว้ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการจัดการความรู้ และนำเอาองค์ความรู้เหล่านั้นไปใช้ในภายหน้า

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in