เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
วิธีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ By ญาน เกห์ล, เบร์กิตเต สวาร์
  • รีวิวเว้ย (1041) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ตอนที่อ่านหนังสือเล่มนี้จบลงเราพยายามคิดว่าจะเขียนนิยามของคำว่า "ชีวิตสาธารณะ" อย่างไรดี (?) เพราะลองค้นหานิยามความหมายของคำว่าชีวิตสาธารณะในภาษาไทยที่อ่านเจอก็ไม่ซื้อคำแปลในความหมายดังกล่าว เพราะจากเนื้อหาของหนังสือมันมีขอบข่ายบางอย่างที่ไกลออกไปจากการแปลคยามหมายในภาษาไทยในแบบที่มีคนให้นิยามมันเอาไว้ เราเลยเลือกหยิบความหมายของ "ชีวิตสาธาณณะ" ในนิยามภาษาอังกฤษมาเลยอาจจะให้ภาพที่ชัดเจนมากกว่า โดยมีการให้คำนิยามของ "ชีวิตสาธารณะ" เอาไว้ว่า 

    "Public life means that which is located and transpires within and engages with the public domain, whether in public spaces or the media, and which is for broad public consumption and participation rather than for private or limited engagement." (https://www.lawinsider.com/dictionary/public-life) 

    และถ้าลองกดเข้าไปดูนิยามเพิ่มเติมเราจะพบว่าคำว่า "ชีวิตสาธารณะ" ยังมีนิยามอื่นที่ครบคลุมในบางประเด็นที่ไกลกว่าเรื่องของความเป็นบุคคล หากแต่คลุมไปถึงระบบและระบอบของสังคมหนึ่ง ๆ ได้เลยทีเดียว
    หนังสือ : วิธีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ
    โดย : ญาน เกห์ล, เบร์กิตเต สวาร์ แปล ศรีสุเมธ กฤธไพโรจน์
    จำนวน : 180 หน้า

    "วิธีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ" ถ้าจะอธิบายหนังสือเล่มนี้แบบหยาบที่สุด (ไม่ใช่หยาบคายนะ) คงอธิบายได้แบบสั้น ๆ ว่าหนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องของ "ชีวิต + สาธารณะ" ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของชีวิตความเป็นส่วนตัวของบุคคล หากแต่เป็นเรื่องของบุคคลทค่ออกมาใช้ชีวิตร่วมกันในพื้นที่หนึ่ง ๆ ร่วมกับคนอื่น ๆ ไม่ว่าพื้นที่นั้นจะเป็นพื้นที่สาธารณะตามนิยามหรือเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลที่ถือครองกรรมสิทธิ์โดยใครก็ตาม หากแต่การใช้ชีวิตในสังคมหนึ่ง ๆ มันจำเป็นจะต้องคำนึงถึงสิ่งที่เรียกว่า "สาธารณะ" ที่นอกเหนือไปจากเรื่องของ "วิธีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ" ที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้แล้ว การเรียนรู้ที่จะรักษาของสาธารณะและใช้ของสาธารณะด้วยก็เป็นเรื่องจำเป็นหนึ่งของการเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ แน่นอนว่าเมืองทุกเมือง สังคมทุกสังคมการเรียนรู้เหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

    หนังสือ "วิธีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ" แบ่งการบอกเล่าของหนังสือออกเป็นแต่ละบทขนาดไม่ยาว และอ่านสนุกเพราะเนื้อหาแต่ละส่วนแทรกไปด้วยเรื่องของเมือง พื้นที่ กรณีศึกษาที่น่าสนใจ โดยเนื้อหาของ "วิธีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้

    (1) พื้นที่สาธารณะ ชีวิตสาธารณะ การปฏิสัมพันธ์

    (2) ใครอะไรที่ไหน

    (3) การนับอการวาดลงผัง การสะกดรอย และเครื่องมืออื่น ๆ

    (4) การศึกษาชีวิตในที่สาธารณะจากมุมมองทางประวัติศาสตร์

    (5) พวกเขาทำได้อย่างไร บันทึกจากงานวิจัย

    (6) การศึกษาชีวิตสาธารณะในทางปฏิบัติ

    (7) การศึกษาชีวิตสาธารณะและนโยบายเมือง

    เมื่ออ่าน "วิธีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ" จบลง เราอาจจะไม่ได้คำนึงถึงความเป็นส่วนรวมของชีวิตสาธารณะในทันที หากแต่สายตาที่เรามีต่อเมือง สังคม และชุมชนที่เราอาศัยอยู่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างไม่มากก็ร้อย ซึ่งนั้นถือว่า "วิธีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ" สามารถสร้างการตระหนักรู้และการตั้งคำถามให้กับผู้อ่านในฐานะของการเป็นหนังสือได้แล้วในระดับหนึ่ง หากแต่จะให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแน่นอนว่าเราทุกคนจำเป็นต้องร่วมมือกันสร้างความเปลี่ยนแปลงนั้นให้เกิดขึ้น

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in