เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
แบบเรียนพยัญชนะไทยฉบับการเมืองไทยร่วมสมัย
  • รีวิวเว้ย (932) กอเอ๋ยกอไก่ ขอไข่ในเล้า ฃอฃวดของเรา ... เราหลายคนน่าจะเคยได้ยินบทกลอง ก.-ฮ. และหลายคนเวลาที่มีคนบอกให้ท่อง ก.ไก่ ถึง ฮ.นกฮูก หลายคนก็จะเริ่มท่องจาก กอเอ๋ยกอไก่ไล่ไปจนถึงฮอนกฮูกตาโต กระทั่งการท่องในลักษณะนี้แทบจะเป็นความทรงจำร่วมของคนรุ่นหนึ่งไปเลย แต่ก่อนหน้านี้ "พยัญชนะไทย" มีความเปลี่ยนแปลงตลอดมา กระทั่งมาถึงพยัญชนะไทยฉบับของ "คำกับกับ ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก ฉบับสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พ.ศ. 2444" ที่พยัญชนะไทยมีครบ 44 ตัวแบบที่เราท่องกันมาจนถึงปัจจุบัน แต่การท่อง ก.-ฮ. ในยุคนั้นก็ไม่ได้ท่องเป็นกลอนหรือเพลงในแบบที่เราท่องผ่านมาในปัจจุบัน อย่างในกรณีของ "กอเอ๋ยกอไก่ ขอไข่ในเล้า ฃอฃวดของเรา ..." มีบทความที่เขียนถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า "ที่มาของคำกำกับกลอน ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก ของบริษัทประชาช่างนั้น อาจารย์เอนก นาวิกมูล นักประวัติศาสตร์ และกรรมการบ้านพิพิธภัณฑ์ ได้เล่าผ่านเพจ House of Museums ว่าไม่ทราบชื่อผู้แต่ง แต่พบว่าผู้วาด ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 ปี พ.ศ. 2493 ใช้ลายเซ็นว่า ย ล ใต้รูป มีชื่อว่านายยูเก่ง ล่อเฮง ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ยล มงคลรัตน์" (https://www.thairath.co.th/lifestyle/culture/1969841) นั่นแปลว่าการท่อง กอเอ๋ยกอไก่ ขอไข่ในเล้า ฃอฃวดของเรา ... แบบคุ้นชินกันอยู่นี้มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2493 แต่คำถามที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ "ทำไมการท่อง ก. - ฮ. จึงยังคงรูปแบบการท่องแบบเดิมมาได้เนิ่นนาน"
    หนังสือ : แบบเรียนพยัญชนะไทยฉบับการเมืองไทยร่วมสมัย
    โดย : ประชาธิปไทป์, คณะพันธมิตรศิษย์คอลลาจ, แร็ป อ้กนสท์ ดิกเทเทอร์ชิป
    จำนวน : 48 หน้า

    "แบบเรียนพยัญชนะไทยฉบับการเมืองไทยร่วมสมัย" หนังสือแบบเรียนภาษาไทยสำหรับพยัญชนะไทย 44 ตัวที่ถูกเขียน วาด และออกแบบใหม่ เพื่อให้การท่องแบบเรียนและพยัญชนะไทยสอดรับกับ "บริบททางการเมืองปัจจุบัน" ที่ "แบบเรียนพยัญชนะไทยฉบับการเมืองไทยร่วมสมัย" ช่วยทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการบันทึกเหตุการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินไปในช่วงเวลาปัจจุบัน (2564) โดยที่การออกแบบและจัดทำ "แบบเรียนพยัญชนะไทยฉบับการเมืองไทยร่วมสมัย" กลุ่มผู้จัดทำเขียนเอาไว้ในหน้านำของหนังาอแบบเรียนว่า "แด่ระบบการศึกษาไทยที่สอนให้ฉันชินกับการท่องจำ"

    ซึ่งพยัญชนะไทยทั้ง 44 ตัวถูกออกแบบและตีคสามสร้างคำสร้อยใหม่ให้คำเริ่มอย่าง ก.เอ๋ยกอกา กลายมาเป็น "ก.เอ๋ยกอกราบ" และอื่น ๆ อีกมากมายที่เรานั่งอ่านไปก็ได้แต่คิดว่า "คิดได้ยังไงวะ" เพราะนอกจากใช้ท่องได้แล้ว ยังเล่าถึงเหตุการณ์ทางการเมืองประกอบการท่องแบบเรียนไปได้ด้วย

    นอกจากรูปภาพและคำสร้อยในการท่องของพยัญชนะไทยทั้ง 44 ตัวแล้ว "แบบเรียนพยัญชนะไทยฉบับการเมืองไทยร่วมสมัย" ยังมี "บทอาขยาน ก-ฮ" และ "เพลงแร็ป กอเอ๋ย กอกราบ" ที่ใส่เนื้อหามาในส่วนท้ายของเล่มและมีเพลงให้กดเข้าไปฟังใน Youtube ได้ ข้อดีอีกประการของหนังสือ "แบบเรียนพยัญชนะไทยฉบับการเมืองไทยร่วมสมัย" ทำให้เราคิดว่าถ้าวันหนึ่งข้างหน้ามีลูกขึ้นมา เราก็คงเอา "แบบเรียนพยัญชนะไทยฉบับการเมืองไทยร่วมสมัย" มาใช้สอนลูกในการท่องพยัญชนะไทย

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in