เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน By นักเรียนเลว
  • รีวิวเว้ย (922) "เด็กก็เหมือนมนุษย์ทั่วไป พวกเขามีสิทธิเสรีภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด และไม่มีใครสามารถพรากไปได้" (Lucretia Mott) ข้อความนี้ปรากฏอยู่ในหน้าสุดท้ายของ "คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน" ในโรงเรียนเล่มนี้ และมันเป็นข้อความที่สะท้อนความบกพร่องของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในเรื่องของการ "มองคนไม่เป็นคน" และ "มองคนไม่เท่ากัน" เด็กถูกผู้ใหญ่ห้ามปรามและกดทับ อาจจะดเวยข้อแก้ตัวต่าง ๆ ของผู้ใหญ่ทั้งเรื่องของวะยวุฒิ คุณวุฒิ และหลายครั้งก็ใช้อำนาจความรุนแรงเข้ามาเป็นเครื่องมือในการกดข่ม อาจจะเพราะด้วยความเคยชินหรือการเอาคืนสิ่งที่พวกเขาเคยถูกกระทำมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่พวกผู้ใหญ่มักจะแก้ตัวแบบข้าง ๆ คู่ ๆ ไปว่าการกระทำเหล่านี้ทำไป "ในนามของความรัก" ซึ่งมันสะท้อนอยู่ในวิธีคิดของสังคมไทยมาช้านานและชัดเจนผ่านสำนวนอย่าง "รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี" โดยที่พวกเขาไม่เคยตั้งคำถามเลยว่า "ตีแล้วได้ดีจริง ๆ หรอ" หรือว่าหลอนกันไปเองว่า "ที่ได้ดีมาทุกวันนี้เพราะโดนตี" หากผู้ใหญ่แก้ตัวไปข้าง ๆ คู่ ๆ ว่า ตีเพราะรักหรือลงโทษเพราะรัก ขอแนะนำให้คนรุ่นพ่อ-แม่ ชกหน้าปู่ ย่า ตา ยาย ด้วยเพราะเราก็เชื่อว่าพ่อ-แม่ ก็รักพวกท่านเช่นกัน ดังนั้นควรแสดงออกในแบบเดียวกันกับที่รักลูกหรือรักเด็ก ๆ

    แน่นอนว่านอกจากครอบครัวเป็นหนึ่งในสถานที่ของการแสดงอำนาจด้วยความรักแล้ว จะขาดสถานที่อีกแห่งอย่าง "โรงเรียน" สถานที่แห่งความดีงาม ปัญญาและความรักไปได้อย่างไรกัน โรงเรียนก็ถูกวางค่านิยมและคติความเชื่อเอาไว้ในแบบเดียวกันกับ "สถาบันครอบครัว" หากแต่ต่างกันตรงที่โรงเรียนมีสถานะอำนาจของ "แหล่งความรู้" ผูกติดเอาไว้ด้วย และการเรียนรู้หรือการได้รับวิชาความรู้ของไทยยังคงอยู่ในแนวคิดแบบ "ครูถูกเสมอเพราะเป็นครู" (ถึงสำนวนจะบอกว่าผิดเป็นครูก็ตาม แต่ครูในโรงเรียนไทยเคยผิดหรือ ? โดยเฉพาะเมื่อคู่ขัดแย้งเป็นเด็กนักเรียน ?) และด้วยขนบแนวคิดแบบนี้ ในท้ายที่สุดมันคือการสถาปนาอำนาจอันชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงและสถานะอำนเหนือกว่า (อำนาจนำ) ในการถ่ายทอดและส่งมอบปัญญาความรู้ นั่นทำให้หลายครั้งครูคิดว่าตัวเองมีความชอบธรรมมาพอที่จะ "ทำอะไรก็ได้" กับนักเรียนในโรงเรียนเพียงเพราะ "ครูเป็นครู" และ "นักเรียนเป็นนักเรียน" แต่ครูดันมองข้ามหัวใจสำคัญข้อหนึ่งไปว่า "ทั้งครูและนักเรียนต่างก็เป็นคน" และ "คนเท่ากัน"
    หนังสือ : คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน
    โดย : นักเรียนเลว
    จำนวน : 40 หน้า
    ราคา : - บาท

    "คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน" เป็นคู่มือเล่มเล็ก ๆ ตามอย่างที่ชื่อบกว่ามันจะช่วยให้นักเรียนสามารถเอาตัวรอดในโรงเรียนได้ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ครูมีแนวโน้มใช้วิธีการแบบ "อำนาจนิยม" และ "นิยมอำนาจ" จนหลายครั้งก็ดูมีลักษณะคล้ายคนเสียสติที่มีค่านิยมผิดแปลกไปจากคนทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นการนิยมความรุนแรง นิยมดูถูกหยียดหยาม นิยมขโมยของของนักเรียน นิยมเป็นช่างผม นิยมเป็นตำรวจ-ทหาร และอีกสารพัดนิยม แต่แปลกที่พวกครูเหล่านี้กลับ ไม่นิยมความเป็น "มนุษย์" ถึงได้ชอบละเลยสถานะความเป็นคนของคนอื่น และกดทับมันด้วยสถานะอภิมนุษย์ของตัวเอง (พ่อเป็นอสูรรึไง)

    "คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน" ทำหน้าที่ในการบอกเล่าเรื่องราวพื้นฐานสำคัญที่ "นักเรียนต้องรู้" เพื่อการใช้ชีวิตในโรงเรียน เรียกง่าย ๆ ว่า "คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน" คล้ายกับคู่มือเวลาขึ้นเครืองบินที่นักเรียนควรอ่านเพราะมันมีโอหาสได้ใช้ ซึ่งอาจจะได้ใช้มากกว่าโอกาสที่เครืองบินจะหม่งโลกเสียอีก เพราะในโรงเรียนมีพวกครูขวางกระแสโลกอยู่เต็มไปหมด เนื้อหาภายใน "คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน" แบ่งออกเป็น 4 บทสั้น ๆ ที่จะพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจในเรื่องสำคัญที่นักเรียนต้องรู้ ทั้งแนวทาง วิธีการปฏิบัติตัว และวิธีการจัดการเมื่อปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้น โดยที่เนื้อหา 4 ดังกล่างประกอบไปด้วย

    บทที่ 1 สิทธิที่เรามี

    บทที่ 2 เมื่อถูกละเมิดสิทธิ

    บทที่ 3 การร้องเรียน

    บทที่ 4 รวมกลุ่มสู้

    แน่นอนว่าเมื่ออ่าน "คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน" จบลงสิ่งแรกที่ผู้อ่านจะได้คือได้รู้ว่าเรามีสิทธิ เสรีภาพ อย่างไร เราจะปกป้องมันจากการถูกละเมิดของพวกนิยมอำนาจอำนาจนิยมได้อย่างไร เราจะรับมือกับมันเช่นไร และเราจะจัดการกับมันผ่านกระบวนการทางกฏหมาย หรือกระบวนการทางสังคมอย่างไร สำหรับเราในฐานะของผู้อ่าน เราคิดว่า "คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน" ควรถูกกระทรวงศึกษาธิการเอาไปพิมพ์แจกในฐานะคู่มือที่นักเรียนต้องรู้ แต่ถ้าจะให้ดีควรออกคู่มืออีกเล่มว่าด้วยเรื่องของ "ครูและความเป็นคน" สำหรับเป็นคู่มือให้ครูปรับตัวด้วยเช่นกัน มิใช่ให้นักเรียนมาตั้งการ์ดและปรับตัวเข้าหาครูอย่างเดียว

    สิ่งที่เราชอบมาก ๆ ใน "คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน" เล่มนี้ คือ สิ่งที่ปรากฏอยู่บน "คำเตือน" ในหน้าแรกของคู่มือที่ว่า

    'หนังสือเล่มนี้อาจมีเนื้อหาที่สร้างความหวาดกลัว ต่อบุคลากรในสถานศึกษาที่ไม่เข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนของนักเรียน จนอาจเกิดการต่อต้าน ห้ามปราม ริบ หรือยึดหนังสือเล่มนี้ไป หากพบเห็นการกระทำดังกล่าว โปรดตักเตือนและชี้แนะบุคลากรเหล่านั้นโดยทันที" เพราะมันสะท้อนให้เห็นว่าทั้งครูและนักเรียนต่างก็เป็น "คน" ที่ต้องเคารพความเป็นคนของทุกคนอย่างเท่ากัน

    สำหรับใครที่อยากสนับสนุนน้อง ๆ กลุ่มนี้ในการทำ "คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน" สำหรับแจกจ่ายให้นักเรียนทั่วประเทศ สามารถสนับสนุนได้ที่ https://www.facebook.com/Badstudent.th/

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in