เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ตำราช้างในเอกสารโบราณ ฯ By กรมศิลปากร
  • รีวิวเว้ย (904) หลายวันก่อนมีประเด็นปรากฏใน Clubhouse เรื่องของ "คนอีสาน" ประเด็นที่มีการพูดถึงออกไปในทางดูถูกคนอีสานในหลายประเด็น สำหรับเราแล้วเราคิดว่าปัญหาสำคัญของทัศนะหรือวิธีคิดแบบนี้เป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจาก "แบบเรียนไทย" และกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนของระบบการศึกษาแบบไทย ที่ตัดเอาบริบท เรื่องเล่า และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของคนอื่น ๆ ในสังคมออกไป การดูถูกคนอีสานหรือคนภาคอื่น ๆ อย่างที่เคยเกิดขึ้นมนกรณีที่คนใต้ดูถูกคนอีสาน หรือกระทั่งคนชั้นกลางในเมืองก็ดูถูกคนอีสาร อีกทั้งการผลิตซ้ำวารทกรรมอย่าง "โง่ จน เจ็บ" ที่ตัวแสดงหลักของวาทกรรมดังกล่าวจะเป็นคนรากหญ้าในชนบทอย่างภาคเหนือและภาคอีสาน สิ่งเหล่านี้คือผลผลิตสำคัญที่เป็นขยะตกทอดจากระบบการศึกษาของรัฐไทย ร่วมทั้งเป็นขยะที่รัฐไทยสร้างขึ้นและปลูกฝั่งให้กับคนในรัฐ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วในทางสังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษยวิทยา บรรพชีวินวิทยา ฯลฯ ภาคอีสานนับเป็นภาคที่มีความสำคัญในประเด็นศึกษาที่หลากหลายเหล่านี้เป็นอย่างยิ่ง คนที่ดูถูกและเหยียดหยามคนอื่นเพียงเพราะ "ความโง่ของตน" คนพวกนี้ก็ไม่ต่างจากขยะที่เป็นผลลัพจากการผลิตของภาครัฐและระบบการศึกษา
    หนังสือ : ตำราช้างในเอกสารโบราณ ฯ
    โดย : กรมศิลปากร
    จำนวน : 200 หน้า
    ราคา : 310 บาท

    "ตำราช้างในเอกสารโบราณ ฯ" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องราวของ "ช้าง" ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารโบราณของสยามจนถึงไทย แต่ก็น่าผิดหวังนิดหน่อยที่เอกสารชิ้นนี้ขาดข้อมูลสำคัญหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ "ช้าง" ในสังคมไทย โดยเฉพาะประเด็นในเรื่องของ "หมอช้าง" (ไม่ใช่หมอดู) ที่ทำหน้าที่ในการจับช้าง เลี้ยงช้าง ดูแลช้างและทำพิธีกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับช้าง

    เนื้อหาที่ปรากฏใน "ตำราช้างในเอกสารโบราณ ฯ" ทำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความเป็นมาและเป็นไปในความสำคัญของช้างที่ปรากฏในฐานะของ "สัตว์ประจำชาติ" แต่เหนือไปกว่านั้นคือ "ตำราช้างในเอกสารโบราณ ฯ" ช่วยให้เราเห็นบริบทความสำคัญของช้างกับสังคมไทย แต่ก็ไม่ได้ชัดเจนนักถึงความสัมพันธ์ของช้างกับคนทั่วไป

    สำหรับเราในฐานะคนอ่าน หนังสือเล่มนี้อาจจะยังขาดบริบทในเรื่องของ "หมอช้าง" อย่าง "หมอสะดำ" และ "หมอสะเดียง" และตำแหน่งต่าง ๆ ของหมอช้างในฐานะของบุคคล สิ่งที่ขาดไปและเป็นส่วนสำคัญของการศึกษาเรื่องของช้างในสังคมไทย คือ เรื่องราวของคน โดยเฉพาะคนสุรินทร์ (ชาวกูย) ที่ยังคงมีกลุ่มบุคคลที่สืบทอดพิธีกรรมการคล้องช้างสืบมากระทั่งปัจจุบัน รวมถึงวนพิธีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับช้างทั้งหมดชาวกูยเหล่านี้คือส่วนสำคัญของการประกอบพิธีกรรมที่ทำกันสืบทอดมาอย่างยาวนาน

    "ตำราช้างในเอกสารโบราณ ฯ" ช่วยให้เราเข้าใจในอีกประเด็นในเรื่องของ "คนอีสาน" ว่าพวกเขาไม่ใช่คนเพียงกลุ่มเดียวที่ไม่มีความหลากหลาย และขาดไร้ซึ่งรากทางวัฒนธรรม ซึ่งถ้าพูดกันตามตรงแล้วหลายคนที่ดูถูกคนอีกสานเสียอีกที่เป็นพวก "ไทยใหม่" ที่ถูกผลิตขึ้นโดยละทิ้งรากเหง้าอย่างสำเนียงเหน่อราชสำนัก หรือกระทั่งลืมและคิดไปว่าตัวเองเป็น "ไทย" แต่อะไรคือไทย (?) อ่านหนังสือเยอะ ๆ เข้าไว้จะได้ไม่เป็นเหมือนนายก และ สว.

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in