เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
หลังบ้านคณะราษฎร By ชานันท์ ยอดหงษ์
  • รีวิวเว้ย (783) เดือนหน้า (มิถุนายน 2564) จะเป็นวันครบรอบ 89 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เกิดขึ้นเมื่อย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 และถือว่าวันนั้นกลานมาป็นวันที่เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์การเมืองของไทยไปแบบ "พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน" หลายปีที่ผ่านมาคณะราษฎรถูกพูดถึงในหลากสถานะ บ้างปราก"ในฐานะของผู้นำพาระบอบประชาธิปไตยมาสู่ประเทศไทย บ้างปรากฎในฐานะของกลุ่มคนผู้ชิงสุกก่อนห่าม บ้างปรากฎในฐานะของคณะบุคคลที่หยิบฉวยอำนาจมาเป็นของกลุ่มของตนเพียงกลุ่มเดียว (ดังจดหมายสละราชสมบัติ ร.7) ภาพลักษณ์ของกลุ่มคณะราษฎรถูกทำให้สลับไปสลับมาในสังคมไทยอยู่เสมอ โดยเฉพาะสภานะของกลุ่มแกนนำคณะราษฎรที่สำหรับบางคนพวกเขาก็เป็น "ฮีโร่" คนสำคัญ สำหรับบางคนพวกเขาเป็น "กบฎ" ต่อสถาบันอันเป็นที่รัก (ของบางคน)

    แต่สิ่งหนึ่งที่หลายปีมานี้ไม่ค่อยถูกพูดถึงเท่าไหร่นัก ก็คือเรื่องของบทบาท "หลังบ้าน" ของคณะราษฎร หากจะปรากฎก็มีเพียงไม่กี่คน อาทิ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ หลังบ้านของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ หรือท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม หลังบ้านของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม แต่หลังบ้านของคณะราษฎรไม่ได้มีเพียงแค่ 2 ท่าน หากแต่บทบาทของพวกเธอกลับหายไปจากการศึกษาทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวโยงกับคณะราษฎร แต่เอาเข้าจริงแล้วบทบาทของผู้หญิงในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ที่ลำพังก็ผูกขาดไว้เฉพาะประวัติศาสตร์ของราชสำนักที่ผู้ชายเป็นใหญ่แล้ว ก็ยากที่ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับบทบาทของผู้หญิงจะปรากฎในบันทึกหรือคำให้การทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ ทั้งที่เอาเข้าจริงแล้วบทบาทของ "ผู้หญิง" ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าผู้ชาย หรือที่จริงอาจจะมากกว่าเสียด้วยซ้ำไป
    หนังสือ : หลังบ้านคณะราษฎร
    โดย : ชานันท์ ยอดหงษ์
    จำนวน : 384 หน้า
    ราคา : 330 บาท

    "หลังบ้านคณะราษฎร" หนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของ "ผู้หญิง" ที่มีบทบาทในฐานะของเมียของคนกลุ่มต่าง ๆ ในคณะราษฎร ซึ่งใน "หลังบ้านคณะราษฎร" ไม่เพียงแค่พูดถึงเมียของคนในคณะราษฎรเท่านั้น หากแต่บทบาทของผู้หญิงที่เป็นปฏิปักษ์กับคณะราษฎรหรือที่หลายคนเรียกกันว่า "คณะเจ้า" ก็มีการถูกพูดถึงและแสดงให้เห็นถึงบทบาทของผู้หญิงคณะเจ้าที่มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวเพื่อทำลายคณะราษฎรในการต่อมาด้วยเช่นกัน

    "หลังบ้านคณะราษฎร" ช่วยให้เรามองเห็นมิติของ "ผู้หญิง" โดยเฉพาะผู้หญิงที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกลุ่มของผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่ไม่พียงแต่มีบทบาทเฉพาะในฐานะของ "แม่" และ "เมีย" ที่ต้องอยู่เฉพาะในพื้นที่ของ "บ้าน" แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น "หลังบ้านคณะราษฎร" ทำให้เรามองเห็นบทบาทของผู้หญิงกลุ่มนี้ที่ขาดหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับคณะราษฎรได้เป็นอย่างดี ทั้งในบทบาทของที่ปรึกษาพิเศษ หรือในบทบาทของความเชื่อมโยงกับ "กลุ่มเครือญาติ" ของเมียที่ช่วยประสานการทำงานของทั้งคณะราษฎรและปฏิปักษ์ของคณะราษฎรได้อย่างชัดเจน

    อันนี้จริงเมื่ออ่าน "หลังบ้านคณะราษฎร" จบลง เราพบว่าเอาเข้าจริงแล้วหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนให้ความสำเร็จของทั้ง "คณะราษฎร" และ "ปฏิปักษ์คณะราษฏร" สามารถดำเนินการ หรือทำเรื่องอะไรสักอย่างให้สำเร็จได้ เผลอ ๆ จะมาจากบทบาทและสายสัมพันธ์ของ "หลังบ้าน" เสียด้วยซ้ำไป น่าแปลกในที่สังคมนี้มองเห็นแค่บทบาทของ "ผู้ชาย" เท่านั้น หากเราลองพิจารณาให้ดี ๆ เราอาจจะพบว่า "ผู้หญิง" อาจจะมีบทบาทสำคัญต่ออะไรหลาย ๆ อย่าง อาทิ การเมืองไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมา

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in