เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ระหว่างบรรทัด By ทพ.อรรถพล ลิ้มปัญญเลิศ บก.
  • รีวิวเว้ย (772) หลายวันก่อนเห็นเพื่อนใน Facebook แชร์ข้อความหนึ่งจากบริษัทประกันแห่งหนึ่งที่ส่งหาลูกค้าที่ปฏิเสธการทำประกันข้อความว่า "บัตรทอง เตียงสนาม รออยู่" เราจะไม่พูดถึงความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมของข้อความดังกล่าว แต่สิ่งหนึ่งที่เราอยากลองชวนทุกคนมองดูก็คือเรื่องของสิ่งที่หลายคนเรียกว่า หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, บัตรทอง, บัตร 30 บาท และชื่ออื่น ๆ อีกมากมายที่เปลี่ยนแปลงกันไปหลังจากการเข้ามาของรัฐบาลแต่ละชุด และ "บัตรทอง" นี้เองที่ถูกโจมตีอยู่บ่อยครั้งว่ามันเป็น "นโยบาบประชานิยม" บ้างก็ว่ามันเป็นเศษเงินที่หว่านลงมาเพื่อซื้อใจของคนรากหญ้า น่าแปลกใจที่คนหลายกลุ่มกลับไม่มองถึงความสำคัญ ความจำเป็น ของการออกแบบระบบหลักประกันสุขภาพในลักษณะนี้ให้กับกลุ่มคนที่เขาไม่มีรายได้ที่มากพอจะเข้าถึงระบบการรักษาบ้าง คงจะจริงในคำพูดที่ว่า "ความทุกของคนจนไม่เคยสะท้อนไปถึงคนรวย" ในประเทศไทยความเหลื่อมล้ำมันชัดเจนอยู่แล้วในเรื่องต่าง ๆ และในช่วงของการระบาดของ COVID-19 ระรอกใหม่ที่เกิดจากรัฐบาลที่ไร้ซึ่งประสิทธิภาพมันยิ่งทำให้เห็นชัดขึ้นไปอีกว่า "ระบบสุขภาพพื้นฐาน" และสวัสดิการในการเข้าถึงการรักษาของคนในสังคมมันควรจะเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมภายใต้ "มาตรฐานขั้นต่ำ" เดียวกันสำหรับทุกคนในสังคมแห่งนี้
    หนังสือ : ระหว่างบรรทัด
    โดย : ทพ.อรรถพล ลิ้มปัญญเลิศ บก.
    จำนวน : 263 หน้า
    ราคา : 375 บาท

    "ระหว่างบรรทัด" หนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของการเกิดขึ้นของ "หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" หรือที่หลายคนคุ้ยเคยในชื่อของ "บัตรทอง" หรือ "บัตร 30" ที่โครงการดังกล่างเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ก็ในสมัยของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร โดยที่ในการลงเลือกตั้งครั้งนั้นของพรรคไทยรักไทย ได้มีการหยิบชูเอานโยบาย "30 บาทรักษาทุกโรค" ขึ้นมาเป็นนโยบายหลักของพรรค และนโยบายดังกล่าวก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของการนำพาพรรคไทยรักไทยขึ้นเป็นรัฐบาล และหลังจากนั้น "30 บาทรักษาทุกโรค" ก็ถูกโจมตีว่าเป็นนโยบายประชานิยม นโยบายที่จะทำให้ประเทศล้มละลาย นโยบายที่ทำให้เกิดคนไข้ล้นโรงพยาบาล และเป็นนโยบายที่ถูกพูดไปไกลถึงขนาดว่าเป็นนโยบาบที่ทำให้ประชาชนไม่รู้จักรักษาสุขภาพ

    หลายปีหลังจากที่รัฐบาลทักษิณสิ้นสุดลงจากการรัฐประหาร 2549 นโยบาย 30 บาทก็กลายเป็นนโยบายที่ทั้งรักและชังของหลายพรรคที่เข้ามาเป็นรัฐบาล ที่อาจจะเรียกได้ว่าหลาบฝ่ายต่างหาวิธีในการลบภาพจำของคำว่า "30 บาท = ผลงานทักษิณ" ออกไปให้ได้ อาทิ ยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ก็มีการยกเลิกบัตรทองและให้ใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว

    แต่เอาเข้าจริงหลายคนอาจจะลืมไปแล้ว หรืออีกหลายคนก็อาจจะไม่เคยรู้เลยว่านโยบาย "หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" มีต้นกำเนิดและที่มาจริง ๆ แล้วมาจากการผลักดันของคุณหมอท่านหนึ่ง (นพ.สงวน นิตยารัมพงศ์ หรือที่หลายคนติดปากเรียกว่า "หมอหงวน") ที่เป็นตัวตั้งตัวตีสำคัญในการผลักดันนโยบายดังกล่าวผ่านหลายกลุ่มทั้งกลุ่มการเมืองและภาคประชาสังคม โดยที่ "ระหว่างบรรทัด" ได้ทำหน้าที่ในการบอกเล่าเรื่องราวการเดินทางของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ครอบคลุมหลากมิติมากที่สุดเล่มหนึ่ง

    โดย "ระหว่างบรรทัด" ได้บอกเล่าเรื่องราวของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่ขั้นตอนของการตั้งไข่ การลุยขาย Idea ให้พรรคการเมืองหลายพรรคกระทั่งคุณทักษิณเห็นว่าเป็นนโยบายที่ทำได้ รวมถึงการบอกเล่าถึงหลักการและวิธีคิดที่สะท้อนภาพของความลำบากของประชาชนในเรื่องของการเข้าถึงระบบการรักษาสุขภาพ ที่ในหลายกรณีการรักษาสุขภาพส่งผลให้ครอบครัวหนึ่ง ๆ อาจจะถึงขั้นล้มละลายในทางการเงิน การเกิดขึ้นของนโยบายดังกล่าวคือการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงการรักษาของทุกคนอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะคนที่มีรายได้น้อยในสังคมไทย

    "ระหว่างบรรทัด" ยอกจากจะบอกเล่าถึงที่มาที่ไปของโครงการแล้ว "ระหว่างบรรทัด" ยังทำหน้าที่สะท้อนภาพของตลอดเส้นทางของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตั้งแต่วันแรกกระทั่งปัจจุบัน โดยที่เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ได้มีแต่คสามสำเร็จ หากแต่ความล้มเหลวและความท้าทายเรื่องต่าง ๆ ที่วิ่งเข้าหาหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็ถูกบันทึกและบอกเล่าลงใน "ระหว่างบรรทัด" ด้วย

    อาจจะเรียกได้ว่า "ระหว่างบรรทัด" ช่วยให้เราเข้าใจเรื่องราวใน "ระหว่างบรรทัด" ของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้มากขึ้น และช่วยทำลายมายาคติบางด้านที่สังคมเอาไว้ในวสังคมนี้ผ่านการบอกเล่านิยายเรื่องนโยบายประชานิยมของคนบางกลุ่มด้วยเช่นกัน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in