เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
เขียนไว้เมื่อเป็นไม้ใกล้ฝั่ง By อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แปล กำพล นิรวรรณ
  • รีวิวเว้ย (255) เมื่อพูดถึงชื่อของ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" หลายคนน่าจะคิดถึง (1) ทฤษฎีสัมพัทภาพ และ (2) รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ที่เขาได้รับ ซึ่ง (1) ไม่ได้นำพาไปสู่ (2) เพราะการรับรางวัลโนเบลของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นั้นเขาได้รับมันจากทฤษฎีอื่น นอกเหนือไปจากทฤษฎีสัมพัทธภาพ แต่ก็อย่างที่ทราบกันดีเมื่อพูดถึง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หลายคนก็ต้องคิดถึงความเป็น "นักวิทยาศาสตร์" ของเขา ที่ผลักดันให้เขากลายเป็นอัจฉริยะและกลายเป็นภาพแทนของความอัฉริยะในสายงานทาง "วิทยาศาสตร์" 
    หนังสือ : เขียนไว้เมื่อเป็นไม้ใกล้ฝั่ง
    โดย : อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แปล กำพล นิรวรรณ
    จำนวน : 160 หน้า
    ราคา : 180 บาท

    นั่นเองอาจจะทำให้ใครหลายคนละเลยในเรื่องของมิติทางด้านสังคม การเมือง สันติภาพ ฯลฯ ที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์บ้างนิดหน่อยของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในช่วงชีวิตหนึ่งเขาเคยให้ความสนใจในประเด็นเรื่องของปัญหา สังคม การเมือง เศรษฐกิจและการศึกษา ถึงขั้นเข้าไปมีส่วนร่วมในหลาย ๆ กิจกรรม ที่ตัวเขาเห็นว่ามีความสำคัญและตรงกับความสนใจของเขา

    "เขียนไว้เมื่อเป็นไม้ใกล้ฝั่ง" หากจะพูดให้ถูกอาจจะเรียกหนังสือเล่มนี้ว่าหนังสือแปลเสียทีเดียวก็คงไม่ถูกนัก เพราะหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่รวบรวมเอาบทความของไอน์สไตน์ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของ ชีวิต สังคมและการเมือง เข้าร่วมไว้ด้วยกัน เพื่อถ่ายทอดอีกด้านหนึ่งมุมหนึ่งของชีวิตอัจฉรืยะนักวิทยาศาสตร์ที่ใครต่อใครเคยขนานนาม

    "เขียนไว้เมื่อเป็นไม้ใกล้ฝั่ง" ทำหน้าที่ในการบอกเล่าเรื่องราวของชีวิตนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ที่ตัวเขาเองไม่เพียงแค่สนใจแต่ความเป็นวิทยาศาสตร์ในแบบวิทยาศาสตร์แต่เพียงเท่านั้น หนังสือเล่มนี้ได้แสดงให้เป็นว่าไอน์สไตน์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่หลายครั้งหลายหนในช่วงชีวิต คิดและตัดสินใจด้วยเหตุและผลแบบสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าในท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร หรือเชี่ยวชาญเรื่องหนึ่งเรื่องใดมากเพียงไหน ท้ายที่สุดชีวิตของคนหนึ่งคน มักประกอบด้วยองค์ความรู้และสิ่งอื่น ๆ ที่มากกว่าหนึ่งเสมอ "เขียนไว้เมื่อเป็นไม้ใกล้ฝั่ง" คอยกระซิบบอกกับเราว่า ทั้งวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ล้วนเป็นศาสตร์ที่ทรงพลังทั้งคู่ และศาสตร์อื่น ๆ ในแขนงต่าง ๆ ก็ล้วนทรงพลังและมีที่ทางของตัวเองเช่นกัน หากเราไม่ดูถูกศาสตร์อื่นจนเข้าขั้นเหยียดหยาม และลองเเปิดใจศึกษา ไม่แน่ว่าวันหนึ่งข้างหน้าคุณอาจจะได้ใช้มันเปลี่ยนแปลงอะไปบางอย่างเป็นแต่ เหมือนที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ บอกเอาไว้ว่า "ทุกคนมีความเป็นอัจฉริยะในตัว แต่คุณตัดสินความสามารถของปลา โดยให้มันปีนต้นไม้ ปลาก็จะคิดไปตลอดชีวิตว่า ตัวมันไร้ความสามารถ” อัจฉริยะผมกระเซิงยังขยายความต่อว่า “เมื่อเรายอมรับข้อจำกัดของเรา เราจะไปได้ไกลกว่าคนอื่นๆ” (http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000082635)

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in