เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ประวัติศาสตร์แห่งความหลอกลวง By แปล นรา สุภัคโรจน์
  • รีวิวเว้ย (719) "โลกใบนี้ขับเคลื่อนได้ด้วยเรื่องโกหกและหลอกลวง" คำพูดของใครสักคน ที่พูดเอาไว้ที่ไหนสักที่หนึ่ง ซึ่งเราเองก็จำมันไม่ได้แล้ว แต่ดูจากคำพูดดังกล่าวมันคงจะเป็นความจริง โดยเฉพาะกับสังคมบางสังคมที่เรื่อง "โกหก" และ "หลอกลวง" คือกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนสังคม เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้หล่ยคนก็คงจะเดาได้ว่าสังคมแห่งนั้นคือสังคมไหน สังคมแห่งนั้นเป็นสังคมที่อุดมไปด้วยเรื่องหลอกลวงที่คนในสังคมหลายกลุ่มดันเชื่อว่าเป็นจริง อาทิ ลุงคนนั้นเป็นคนดี สังคมนั้นเป็นประชาธิปไตย สัญญาว่าจะขอเวลาอีกไม่นาน ซึ่งก็น่าแปลกใจที่หลายคนปักใจเชื่อเรื่อง "ตอแหล" ของ "คนเหี้ย" เหล่านั้นได้โดยไม่ตั้งคำถามใด ๆ จนบางครั้งเราในฐานะของคนในสังคม และในฐานะของคนที่นั่งมองปรากฎการณ์ในสังคมแห่งนั้นได้แต่ถามตัวเองในใจว่า "คนพวกนี้ตอนเกิดมา ลืมเอาสมองออกมาจากท้องแม่หรือวะ" คนเราถึงได้ปักใจเชื่อเรื่องโกหกหลอกลวงได้อย่างสนิดใจ และเชื่อมั่นอย่างมากกว่า "มันคือเรื่องจริง"
    หนังสือ : ประวัติศาสตร์แห่งความหลอกลวง
    โดย : แปล นรา สุภัคโรจน์
    จำนวน : 248 หน้า
    ราคา : 365 บาท

    "ประวัติศาสตร์แห่งความหลอกลวง" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของการ "โกหก" และ "หลอกลวง" ในหน้าประวัติศาสตร์ของโลก ที่ถูกผู้เขียนหยิบเลือกมาเล่าทึ้งสิ้น 50 เรื่อง ที่สะท้อนเรื่องราวของการโกหกและหลอกลวงในหลากมิติ หลายมุมมอง ไม่ว่สจะเป็นเรื่องของ ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง วัฒนธรรม เทคโนโลยี ความเชื่อ ซึ่งน่าประหลาดใจว่าแทบทุกพื้นที่มีเรท่องราวของการโกหกและหลอกลวงเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

    อาจจะเรียกได้ว่า "ประวัติศาสตร์แห่งความหลอกลวง" เป็นหนังสือที่บอกเล่าให้เราได้ทำความเข้าใจ และรับรู้ถึงเรื่องราวของการโกหก หลอกลวง ที่หลายเรื่องปรากฎขึ้นเป็น "เรื่องจริง" เพียงเพราะหลายคนบอกเล่า และเชื่อมั่นในเรื่อง้ล่าเหล่านั้นมาตลอดห้วงเวลาของประวัติศาสตร์

    ซึ่ง "ประวัติศาสตร์แห่งความหลอกลวง" ทำให้เราย้อนกลับมาคิดว่าเรื่องโกหกและหลอกลวงของ "สังคมหนึ่ง" ที่กล่าวถึงไปในตอนต้น หลายเรื่องมันกลายเป็นเรื่องจริง และหลายเรื่องมันจะกลายเป็นเรื่องจริงเสียยิ่งกว่าความจริง เพียงเพราะคนหลายคนในสังคมแห่งนั้น เชื่อมั่นในมันอย่างคนที่สมองไม่มีรอยหยัก และไม่มีส่วนของการรู้คิดด่วยหลักการและเหตุผล คำว่า "ตาสว่าง" จึงปรากฎขึ้นในสังคมแห่งนั้นบ่อยครั้ง แต่ก็กับแค่คนบางกลุ่มก็เท่านั้งเอง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in