เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
เยิรเงาสลัว By จุนอิชิโร ทานิซากะ แปล สุวรรณา วงศ์ไวศยรรณ
  • รีวิวเว้ย (250) แสงไฟเปรียบเสมือนเครื่องมือในการขับไล่ความโง่เขลา ความขลาดเบาปัญญา ความชั่วและความมืดมิด ตามตำนานของโบราณกาลผ่าน เรื่องราวของแสงไฟที่ก่อกำเนิดแสงสว่างนั้น เกิดขึ้นมาจากเทพไททันอย่าง โพรมีทีอูส (ความหมายว่า มองการณ์ไกล) ซึ่งเป็นผู้ขโมยไฟจากเฮสเทีย เทพีแห่งเตาไฟ ลงไปให้มนุษย์ จนทำให้มนุษย์รู้จักใช้ไฟในการหุงหาอาหาร และใช้เพื่อแสงสว่างจนสามารถสร้างอารยธรรมต่าง ๆ (https://th.m.wikipedia.org/wiki/โพรมีเทียส) ได้อย่างในทุกวันนี้ ตำนานแหน่งก่อนไฟ เตาไฟแลเแสงสว่างจึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของ "ปัญญา" (จึงถูกนำมาใช่เป็นชื่อและสัญลักษ์ของสำนักพิมพ์ "คบไฟ")
    หนังสือ : เยิรเงาสลัว
    โดย : จุนอิชิโร ทานิซากะ แปล สุวรรณา วงศ์ไวศยรรณ
    จำนวน : 176 หน้า
    ราคา : 270 บาท

    หลายปีผ่านนับแต่ตำนานอันเก่าก่อน "แสงไฟ" เปลี่ยนแปลงสถานะของตัวเองไป จนกลายมาเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์และกลไกที่ขับเคลื่อนให้ระบบทุนนิยมสามารถขับเคลื่อนได้อย่างทรงประสิทธิภาพ จากที่เมื่อก่อนกิจกรรมและกิจการต่าง ๆ ของมนุษย์ ต้องดำเนินไปภายใต้เงื่อไขของแสงตะวันและฤดูกาล แต่เมื่อแสงไฟถูกทำให้ส่องสว่างได้นานชั่วกาล ความสว่างก็กลายเป็นเครื่องมือที่ผู้โยงมนุษย์เข้ากับการฝืนและต่อต้านธรรมชาตินับแต่นั้นมา

    แสงสว่างกลายเป็นตัวร้ายตัวหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ สำหรับใครหลายคน ในโลกที่ขับเบื่อนไปด่วยระบบทุนนิยม แสงสว่างเป็นพ่อพระของเหล่าบรรดานายทุนเจ้าของกิจการ และแสงสว่างกลายเป็นซาตานสำหรับแรงงานที่ต้องหาเช้ากระทั่งถึงเช้าของอีกวัน ด้วยกาลเวลาถูกทำให้ยาวนานขึ้นด่วยแสงเทียมที่สว่างเทียบเท่าดวงอาทิตย์

    "เยิรเงาสลัว" ของ "จุนอิชิโร ทานิซากะ" ชักชวนเราตั้งคำถามถึงคุณค่าของ "แสงสว่างและความมืด" ว่าแท้จริงแล้วสิ่งที่เราเรียกมันว่า "แสงสว่าง" นั้นมีข้อเสียอย่างไรในสังคมหนึ่ง ๆ อย่างสังคมญี่ปุ่น และ "ความมืด" นั้นมีข้อดีอย่างไรต่อการใช้ชีวิตในสังคม

    สำหรับใครหลายคนในปัจจุบันที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ อาจจะมีความรู้สึกว่า "ความมืด" มันมีข้อดีตรงไหนกัน เวลาเปิดร้าน อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์และประกอบกิจกรรมอื่น ๆ แสงสว่างดูจะเป็นสิ่งที่ควรค่า และถูกให้ค่ามากกว่าความมืดมิดและแสงอันสลัว เหมือนที่ในปัจจุบันการ์ตูนหลายเรื่อง มักบอกเด็ก ๆ ก่อนการเริ่มดูการ์ตูนว่า "อย่าลืมเปิดไฟห้องให้สว่างกันนะเด็ก ๆ" ที่ถูกเข้ามาแทนที่อย่าง "อน่าลืมแปรงฟันก่อนนอนกันนะเด็ก ๆ"

    นั่นก็น่าจะเป็นการแสดงให้เห็นว่า "ค่าของแสง" ถูกให้ค่ามากขึ้นและยิ่งมากขึ้นในทุกวันนี้

    "จุนอิชิโร ทานิซากะ" ชักชวนให้เราเปลี่ยนมุมมองต่อ "แสงและเงา" เสียใหม่ โดยคั้งคำถามผ่านคุณค่าและความงานของเงาสลัว ที่ถูกถ่ายทอดผ่านสถาปัตยกรรม วัฒนธรรมการแสดงละครโบราณ รวมถึงวัฒนธรรมการชงชาและอาหารของญี่ปุ่น ว่าแท้จริงและคุณค่าของแสงสลัวและความมืดนั้น ส่งคุณค่าต่อสังคมญี่ปุ่นและสังคมเอเชียอย่างไร

    คุณค่าของความมืด อาจจะไม่เที่ยวเท่ากับแสงสว่างในสังคมทุนนิยม แต่เราก็ไม่อาจจะละเลยคุณค่าของทั้ง 2 สิ่งได้ หรือแม้กระทั่งไม่อาจกล่าวได้ว่าสิ่งใดมีคุณและมีค่ามากกว่ากัน ดังเช่นที่นักปราชเต๋าเคยอล่าวไว้ว่า "ในมืดมีสว่าง ในสว่างมีความมืด" เหตุนี้สิ่งหนึ่งจึงมีค่าต่ออีกสิ่งหนึ่งเสมอ ๆ เมื่อเราสร้างคู่เปรียบให้กับสิ่งนั้น ๆ ดังเช่นที่นิยายกำลังภายในเคยกล่าวไว้ว่า "หากวันใดกลายเป็นเจ้ายุทธภพที่ไร้คู่เปรียบ วันนั้นจักเป็นวันสุดท้ายที่ชีวิตมีคุณค่า"

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in