เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
โหยหานิทรารมณ์ และเรื่องสั้นอื่น ๆ By อันโตน เชคอฟ แปล วริศา กิตติคุณเสรี
  • รีวิวเว้ย (668) ใครบางคนช่วยเตือนเคยบอกไว้ให้ฟัง ว่าคนเรา "ต้องนอน" ให้ได้อย่างน้อย ๆ ก็ 8 ชั่วโมงต่อวันเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และสุขภาพที่ดี ซึ่งไอ้คำว่า "ที่ดี" ก็ไม่รู่ว่ามันคือที่ดีของ "ใครกัน" แต่ที่แน่ ๆ หากเราย้อนกลับมาทำความเข้าใจเรื่องของการนอนให้ดี ๆ อีกครั้งเราอาจจะมองมันในฐานะของ "สิทธิ" พื้นฐานของบุคคลที่บุคคลพึงมี พึงได้และพึงนอน ในหนังหลายเรื่องและในโลกกความจริงการ "ทำให้อดนอน" ยังคงเป็นหนึ่งในขั้นตอนของการทรมานบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยรัฐเพื่อบีบเค้นเอาข้อมูลหรือให้ยอมรับความจริงบางอย่าง หรือแม้แต่การกระทำโดยระบบทุนนิยมที่เอา "เงิน" มาเป็นตัวบีบบังคับไม่ให้ใครบางคนนอนหลับได้ และการนอนไม่หลับหรือถูกทำให้นอนไม่หลับนี้เองที่กลายมาเป็นชนวนเหตุของอะไรหลาย ๆ อย่างกระทั่งความสูญเสีย ดังในเรื่องราวของ "โหยหานิทรารมณ์ และเรื่องสั้นอื่น ๆ" ที่นอกเหนือไปจากเรื่องของการนอนแล้ว สังคม สภาพสังคม และวิถีของสังคมในช่วงที่ "โหยหานิทรารมณ์ และเรื่องสั้นอื่น ๆ" กำลังบอกเล่าและดำเนินไปนั่น มันก็แทบไม่ต่างอะไรกับการบีบบังคับขืนใจให้ใครสักคนต้องทำอะไรบางอย่างผ่านกรอบของการกดดันอันมาจากตัวบุคคลและมาจากโครงสร้างของสังคมหนึ่ง ๆ ในช่วงเวลาหนึ่งด้วย

    หนังสือ : โหยหานิทรารมณ์ และเรื่องสั้นอื่น ๆ
    โดย : อันโตน เชคอฟ แปล วริศา กิตติคุณเสรี
    จำนวน : 144 หน้า
    ราคา : 165 บาท

    "โหยหานิทรารมณ์ และเรื่องสั้นอื่น ๆ" หนังสือรวมเรื่องสั้นที่ชวนให้เราขบคิดไปกับมันแทบจะตลอดเวลา ทั้งที่เรื่องราวต่าง ๆ ในหนังสือเล่มนี้มีขนาดไม่ยาวนัก หากแต่มันทำงายกับความทรงจำ ความรับรู้ และความนึกคิดของผู้อ่านได้อย่างยาวนาน หลายบทหลายตอนสะท้อนภาพของสังคมรัสเซียในช่วงเวลานั้นออกมาได้อย่างน่าสนใจ ทั้งเรื่องของชีวิตการทำงาน สภาพสังคม ชนชั้น ผู้คนและการกดขี่โดยระบบสังคมและสภาพของสังคมที่ผู้อยู่อาศัยคุ้นชินกับมันจงหลงลืมที่จะตั้งคำถาม

    นอกเหนือไปจากนั้นแล้วเรื่องสั้นตอนหนึ่งที่กระทำการกับความคิดของเราเป็นอย่างมาคือตอนที่บอกเล่าเรื่องราวของ "กระจก" บานหนึ่ง ที่เรื่องราวในเล่มมันสะท้อนให้ย้อนกลับมามองสังคมในปัจจุบัน ที่ไม่ใช่แม้แต่สังคมไทยเท่านั้น หากแต่เรื่องราวของกระจกบานนั้นมันสามารถสะท้อนชุดเรื่องราวที่ซ้อนทับลงไปได้ในหลากหลายสังคม

    น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า "โหยหานิทรารมณ์ และเรื่องสั้นอื่น ๆ" จะกระทำการต่อความคิด ความรับรู้ และความทรงจำของผู้อ่านแต่ละคนเช่นใด เพราะเราเองเชื่อเหลือเกินว่า "โหยหานิทรารมณ์ และเรื่องสั้นอื่น ๆ" จะกระทำการต่อแต่ละบุคคลแตกต่างกันภายใต้ชุดความทรงจำบางแบบที่แตกต่างกันออกไปตามการถือครองความทรงจำของแต่ละบุคคล

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in