เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ใบไม้ที่หายไป By จิระนันท์ พิตรปรีชา
  • รีวิวเว้ย (613) "เหมือนใบไม้ใบเดียว ที่หลงเหลือไว้ในป่า ฉันต้องการเก็บเอาไว้นานนาน จงอย่าเอาไป สิ่งเดียวที่ขอไว้ อย่ายื้อแย่งเธอไปจากฉันเลย" - (ใบไม้, Fly) เนื้อเพลง "ใบไม้" ของวง Fly หลายคนอาจจะฟังเพลงนี้แล่วคิดถึงเรื่องของ "ความรัก" หรือ "คนรัก" แต่เนื้อเพลงนี้สามารถแทนภาพของหลาย ๆ สิ่งนอกเหนือจาก "ความรัก" เพราะเอาเข้าจริงแล้วเพลง "ใบไม้" มันสามารถแทนที่ "สิ่งของ" หรือ "ความทรงจำ" ที่อาจจะหล่นหายไปเมื่อไหร่ก็ได้ โดยเฉพาะเมื่อห่วงกาลเวลาหมุนวนรวดเร็วยิ่งอย่างในปัจจุบัน ซึ่งมันส่งผลให้ในหลายครั้งการเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา ส่งผลกระทบโดยตรงต่อใครหรืออะไรบางอย่างเสมอ และไม่มีใครที่จะหลีกหนีผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้นได้แม้แต่คนเดียว
    หนังสือ : ใบไม้ที่หายไป
    โดย : จิระนันท์ พิตรปรีชา
    จำนวน : 190 หน้า
    ราคา : 195 บาท

    "ใบไม้ที่หายไป" หนังสือกวีนิพนธ์รางวัลซีไรต์ปี 2532 ที่ทำหน้าที่ในการบันทึกและบอกเล่าเรื่องราวของสังคมไทยจากมุมมองของผู้หญิงคนหนึ่งที่อยู่ร่วมเวลาในช่วงของการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่ชีวิตของเธอเข้าไปเห็นส่วนหนึ่งในหนังสือประวัติศาสตร์การเมืองของสังคมไทย ที่หลายหน้าหลายตอนของหนังสือเล่มนี้ยังคงมีบางช่วงตอนที่ข้อความและความจริง้กี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าวถูกทำให้ลบเลือนหรือหลายช่วงตอนก็ถูกเขียนทับขึ้นมาใหม่ จนกลายเป็นว่าช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเป็นช่วงเวลาที่ประวัติศาสตร์ดูจะมืดมัวไม่ต่างอะไรกับเรื่องบางเรื่องในสังคมไทย

    "ใบไม้ที่หายไป" ได้สะท้อนภาพของความรู้สึก ความคิด และชีวิตของคนคนหนึ่งที่อาจจะเรียกว่าเป็นหนึ่งในภาพแทนของช่วงเวลาดังกล่าว ที่นอกจากเรื่องของการเมืองแล้ว "ใบไม้ที่หายไป" ยังถ่ายทอดมุมมองในเรื่องของสังคมไทยในช่วงเวลานั้นออกมาได้อย่างน่าสนใจ ทั้งเรื่องของความเหลื่อมล้ำในสังคม เผด็จการอำนาจนิยม ความขัดแย้ง การฆ่ากันกลางเมือง การใช้ความรุนแรงโดยรัฐ และยังมีเรื่องของชีวิตที่ถูกกดทับอยู่ภายใต้บริบทและโครงครอบของสังคมไทย ที่ถ้าเราลองมองย้อนกลับไปดี ๆ เราจะพบว่าหลายช่วงหลายตอนของบทกวีใน "ใบไม้ที่หายไป" ที่ถูกเขียนขึ้นเมื่อ 40 กว่าปีก่อน ยังคงปรากฏชัดอยู่ในสังคมไทย จะมีก็เพียงแค่ตัวแสดงบางตัวที่เปลี่ยนหน้าไปก็เท่านั้นเอง แต่การแสดงละครในสังคมนี้ยังคงดำเนินต่อมานับตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ (2563)

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in