เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
กรุงเทพฯ ยามราตรี By วีระยุทธ ปีสาลี
  • รีวิวเว้ย (596) "กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัดวังงามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย" เป็นคำขวัญที่ชนะการโหวตให้คะแนนเมื่อปี พ.ศ. 2555 ทำให้กรุงเทพฯ ได้ใช้คำขวัญดังกล่าวเป็นคำขวัญประจำกรุงเทพฯ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นคำขวัญประจำ "ท้องถิ่นพิเศษ" มิใช่คำขวัญประจำจังหวัด กรุงเทพฯ ถูกมองเป็นแหล่งความเจริญหลักของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นอะไร ๆ จะมารวมตัวกระจุกกันอยู่ที่กรุงเทพฯ ทั้งหใดไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ความเจริญ การจ้างงาน ฯลฯ เรียกได้ว่าถ้าหากนิยามกรุงเทพฯ ว่าเป็นเมืองอะไรสักเมืองกรุงเทพฯ น่าจะจัดอยู่ในลักษณะของ "เมืองโตเดี่ยว" ที่ดูดเอาทรัพยากรจากเมืองอื่น ๆ เข้ามาหล่อเลี้ยงและขับเคลื่อนเมืองใหญ่เมืองนี้ให้เดินหน้าไปได้ โดยที่เมืองอื่น ๆ โดยรอบอาจจะอยู่ในสภาวะของการ "เสียไม่คุ้มที่ได้" เพราะในหลายลักษณะเราจะเห็นว่ากรุงเทพฯ ถูกให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ และทรัพยากรสำคัญ ๆ จะมาเริ่มต้นและลงกับเมืองนี้แทบทั้งสิ้น อีกทั้งเมื่อปัญหาหนึ่ง ๆ เกิดกับเมืองเมืองนี้ นั่นจึงจะกลายเป็นปัญหาอย่างแท้จริง อาทิ ปัญหาหมอกควันและฝุ่น pm. 2.5 ที่เมืองทางภาคเหนือเผชิญปัญหาดังกล่าวมาเนิ่นนาน แต่เมื่อไม่นานมานี้ปัญหาดังกล่าวปรากฎขึ้นที่เมืองหลวงศูนย์กลางการปกครอง ทำให้ปัญหาดังกล่าวถูกพูดถึงและให้ความสำคัญ รวมทั้งมีการทุ่มทนัพยากรณ์ในการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างมาก น่าแปลกใจเป็นอย่างยิ่งที่เมืองโตเดี่ยวที่ดูดเอาทุกอย่างจากเมืองอื่น ๆ มารวมไว้ที่ตัวเอง กลับกลายเป็นภาระสำคัญของหลาย ๆ เมืองที่สูญเสียประโยชน์ของตนให้กับเมืองเมืองนี้ แต่ปัญหาของความเจริญแบบเมืองโตเดียวของกรุงเทพฯ มันต้องย้อนกลับไปทำความเข้าใจถึงที่มาของการขยายตัวของเมืองกรุงเทพฯ ตั้งแต่ในครั้งอดีต เพราะด้วยความเป็นเมืองที่สำคัญมาแต่ครั้งต้นรัตนโกสินทร์ทำให้กรุงเทพฯ ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างไม่สนใจการเติบโตของเมืองอื่น ๆ โดยรอบ ซึ่งถ้าเราย้อนกลับไปดูวิธีคิดทางประวัติศาสตร์เราก็จะพบว่า เมืองใหญ่ (เมืองหลวง) เป็นปรสิตของประเทศมาตั้งแต่ครั้งอดีตกาลนานมาแล้วในแทบทุกเรื่อง
    หนังสือ : กรุงเทพฯ ยามราตรี
    โดย : วีระยุทธ ปีสาลี
    จำนวน : 288 หน้า
    ราคา : 190 บาท

    "กรุงเทพฯ ยามราตรี" ว่าด้วยเรื่องราวของพัฒนาการของเมืองกรุงเทพฯ นับตั้งแต่ครั้งก่อนการมีไฟและแสงสว่าง ตั้งแต่ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อรัชกาลที่ 5 กระทั่งถึงช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยที่เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้มุ่งเน้นในเรื่องของการศึกษาวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาดังกล่าวที่วิถีชีวิตผูกโยงอยู่กับนาฬิกาธรรมชาติ และหลังจากการเกิดขึ้นของแสงสว่างในเมืองนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงหน้าตาของเมืองกรุงเทพฯ อย่างไร 

    "กรุงเทพฯ ยามราตรี" พาเราไปทำความเข้าใจถึงพัฒนาการของเมือง และวิถีชัวิตของคนกรุงเทพฯ ในยุคที่ผูกโยงอยู่กับแสงไฟ กระทั่งถึงการออหมาใช้ชีวิตยามค่ำคืนของผู้คนหลังจากการกระจายตัวของแสงไฟในระบบของไฟฟ้าและแสงสว่างแล้ว "กรุงเทพฯ ยามราตรี" ได้เผยให้เห็นประวัติความเป็นมาและเรื่องราวของวิถีชีวิตของคนชนชั้นต่าง ๆ ในเมืองหลวงแห่งนี้ที่ผูกโยงกับแสงไฟ โดยเฉพาะกิจกรรมยามค่ำคืน ที่แสงไฟและชนชั้นทางสังคมเป็นตัวแบ่งและขับเคลื่อนเมืองแห่งนี้ในยามที่การพัฒนาของแสงสว่างเข้ามาในประเทศ 

    อาจจะเรียกได้ว่า "กรุงเทพฯ ยามราตรี" ช่วยให้เราเห็นภาพของเมืองกรุงเทพฯ คนกรุงเทพฯ วิถีของกรุงเทพฯ ยามค่ำคืนในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่องของกิจกรรมการใช้ชีวิตการคืนของผู้คนทุกชั้นชน ที่มันถูกแบ่งแยกโดยการออกแบบของเมืองมาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมในปัจจุบันกรุงเทพฯ ถึงยังเป็นเมืองที่ต้องได้รับอภิสิทธิเป็นเมืองแรกของทุก ๆ เมืองในประเทศไทย

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in