เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ทำไมเราเลี้ยง PIG แต่กิน PORK By นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา
  • รีวิวเว้ย (237) มีคนเคยบอกเอาไว้ว่า "ภาษา" เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการขยายอำนาจทางวัฒนธรรม นับตั้งแต่สมัยอดีตที่มีการแพร่กระจายของภาษารูปแบบต่าง ๆ มากมาย ทั้งการเข้ามาแทนที่ภาษาเดิม หรือแม้แต่ยืมเอาจากภาษาอื่นมาใช้และค่อย ๆ กลายเป็นภาษาหลังของวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ นอกจากนี้ภาษาเองยังคงเป็นเครื่องมือในการสร้างชาติให้กับประเทศหรือรัฐชาติหลาย ๆ แห่งมาแล้วมากมาย รวมถึงภาษาเองยังทำหน้าที่เป๋นคู่มือในการบอกเล่าถึงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของสิ่งหนึ่งสิ่งใดบนโลกใบนี้ได้เป็นอย่างดี พี่หนุ่ม-โตมรกับพี่แชมป์-ทีปกร เคยพูดเอาไว้ในรายการ OMNIVORE ตอนหนึ่งว่า "หากอยากรู้ว่าประเทศนั้นใส่ใจในเรื่องใด ๆ ให้ลองกลับไปค้นดูว่าคำศัพท์ในภาษาของประเทศนั้น มีคำหรือกลุ่มคำประเภทใดมากที่สุด นั่นจะเป็นเครื่องสะท้อนวัฒนธรรมของประเทศหนึ่ง ๆ ได้เป็นอย่างดี"
    หนังสือ : ทำไมเราเลี้ยง PIG แต่กิน PORK
    โดย : นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา
    จำนวน : 190 หน้า
    ราคา : 235 บาท

    นอกจากภาษาจะถูกใช้เป็นเครื่องมือต่าง ๆ มากมายแล้ว ในปัจจุบันภาษาเองก็ยังคงทำหน้าที่เป็นเครื่องกำหนดทิศทางของสิ่งที่หลายคนเรียกว่า "ประเทศมหาอำนาจ" ในสมัยอดีตประเทศที่เป็นมหาอำนาจมักจะมีผู้ให้ความสนใจ ให้ความสำคัญ หัดเรียนรู้ภาษาของประเทศเหล่านั้นอยู่เสมอ ทั้งประเทศที่เป็นมหาอำนาจจากการล่าอาณานิคม ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ หรือประเทศมหาอำนาจจากเรื่องของวัฒนธรรมประเพณี หากย้อนมองกลับไปในสมัยอดีตประเทศที่เป็นรากฐานของภาษาต่าง ๆ มักเป็นประเทศที่เป็นมหาอำนาจที่มีความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม ในสมัยต่อมาประเทศที่เป็นมหาอำนาจที่เป็นรากฐานทางภาษาให้กับประเทศอื่น ๆ มักเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีกองทหารและกองทัพเรือที่แข็งแกร่งเข้มแข็ง

    แต่ในสมัยต่อมาอาจจะเป็นเรื่องที่ยากพอควรเมื่อจะพิจารณาประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ จากการเป็นรากทางภาษา เพราะช่วงเวลาก่อนหน้าภาษาของประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ ถูกสร้างและวางกลไกเอาไว้ให้สามารถทำงานได้อย่างดี ในฐานะภาษากลางของการสื่อสาร เมื่อถึงยุคสมัยของการแข่งขัยทางเศรษฐกิจ ประเทศเหล่านี้ที่วางรากฐานทางภาษาเอาไว้แต่เดิมก็ยังสั่งสมความได้เปรียบมานับตั้งแต่สมัยอดีตและค่อย ๆ พัฒนาต่อมา จะมีก็แต่ในสมัยปัจจุบันที่เราวามารถสังเกตุเห็นปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงทางภาษาที่ปลับเปลี่ยนตามมหาอำนาจของโลก อย่างแนวโน้มของการเรียนภาษาจีนที่กำลังทวีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

    กลับมาที่เรื่องของหนังสือ "ทำไมเราเลี้ยง PIG แต่กิน PORK" ซึ่งหนังสือเล่มนี้ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำหรับการศึกษาพัฒนาการทางภาษา การเปลี่ยนแปลงของภาษา รงมถึงพัฒนาการและวิวัฒนาการของภาษาได้เป็นอย่างดี

    โดยในหนังสือเล่มนี้ จะบอกเล่าถึงเรื่องของ "คำ" ในภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ ว่ามีที่มาของคำแต่ละคำเป็นเช่นไร และเหตุใดคำเหล่านี้จึงออกเสียงเช่นนั้น และมีการแปลความของคำเหล่านั้นเช่นนี้ อย่างทำไมเราเลี้ยง PIG แล้วเวลาที่เราเอา PIG มากินถึงไม่เรียกว่ากิน PIG แต่กลายเป็นว่าเราฆ่า PIG เพื่อจะได้กิน PORK ซะอย่างนั้น

    รวมถึง "ทำไมเราเลี้ยง PIG แต่กิน PORK" ยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถของภาษาที่หลายครั้งคำหนึ่ง ๆ ก็เปลี่ยนบทบาทของตัวเองไปจากอดีตได้อย่างสิ้นเชิง คำที่สมัยก่อนเป็นคำด่าปัจจุบันมันอาจจะถูกเปลี่ยนเป็นคำตรงข้ามกันเลยก็เป็นได้ หรือแม้แต่คำที่เราไม่คิดว่าจะมีที่มาแปลกแหวกแนวอย่างคำว่า "นาซี" หนังสือเล่มนี้ก็ยังสร้างความประหลาดใจได้ไม่หยุดหย่อน เรียกได้ว่าตั้งแต่หน้าแรก จนถึงหน้าสุดท้ายหนังสือเล่มนี้ สามารถเรียกเครื่องหมายคำถามให้มีขึ้นในใจได้ตลอดเวลา และในหน้าถัดไปคำตอบของคำถามก็ถูกซ่อนเอาไว้ได้อย่างแนบเนียน หากอยากรู้ว่า "ทำไมเราเลี้ยง PIG แต่กิน PORK" ก็คงต้องลองเปิดอ่านดูกันเองละนะ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in