เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
Terror By แฟร์ดินันด์ ฟอน ซีรัค แปล ศศิภา พฤษฎาจันทร์
  • รีวิวเว้ย (578) เวลาที่เราลองตั้งคำถาม ถึงเรื่องสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวกับการตัดสินใจที่อาจจะส่งผลต่อ "ชีวิต" ของบุคคลอื่น เรามักจะมองข้ามอะไรบางอย่างไปเสมอ โดยเฉพาะข้อถกเถียงสำคัญในเรื่องของ "สิทธิและเสรีภาพ" ในชีวิตของบุคคลอื่นที่กำลังปรากฎอยู่ในการตัดสินใจของเรา อาทิ การตัดสินใจเลือกให้ใครสักคนมีชีวิตรอดโดยที่มีสิทธิเลือกได้แค่คนเดียวเท่านั้น หรือในกรณีของการลงโทษที่อาจจะปรากฎในลักษณะของข้อถกเถียงที่คล้ายคลึงกัน อย่างเรื่องของการลงโทษ "ประหาร" หรือแม้กระทั่งที่กำลังเป็นข้อถกเถียงกันในสังคมไทยอย่าง "ข่มขืน = ประหาร" หรือ "ข่มขืน = ฉีดให้ฝ่อ" ก็น่าจะเป็นหนึ่งในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการตัดสินใจ ที่หลายครั้งเรามักจะละเลยในเรื่องของสิทธิและเสรีภาพไปด้วย พร้อมกับฐานะของผู้กระทำผิด หรือพร้อมกับเงื่อนไขบังคับที่จำเป็น อาจจะเรียกได้ว่าหลายครั้งการเลือกตัดสินใจที่มีความเกี่ยวข้องและเกี่ยวโยงกับชีวิตของบุคคลอื่น มนุษย์เรามักมีแนวโน้มที่จะเลือดหนทางที่ "ชั่วร้ายน้อยที่สุด" เท่าที่ทางเลือกจะทีให้ หรือเท่าที่สติของเราจะคิดได้ในห้วงเวลานั้น ๆ แล้วแท้จริงแล้วการเลือกหนทางที่ "ชั่วร้ายน้อยที่สุด" แทนที่ของการปล่อยให้มันเป็นไปตามแต่อะไรบางอย่างจะกำหนด เป็นทางเลือกที่ดีแล้วจริง ๆ หรือ หรือว่ามันเป็นแค่เพียงการคิดเพื่อปลอบโยนตัวเองหลังจากที่เราเลือกตัดสินใจ ว่าในท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่เรากระทำลงไปมันคืสิ่งที่ถูกต้อง คล้ายกับการใช้ดุลยพินิจที่ถึงแม้นจะ "ชั่วร้ายแต่ก็จำเป็น" 
    หนังสือ : Terror
    โดย : แฟร์ดินันด์ ฟอน ซีรัค แปล ศศิภา พฤษฎาจันทร์
    จำนวน : 240 หน้า
    ราคา : 240 บาท

    "Terror" ในชื่อแปลภาษาไทยว่า "สะพรึง" เป็นบทละคร ที่ถูกเขียนขึ้นโดยถ่ายทอดภาพแทนของสังคมเยอรมันภายหลังจากการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ 9/11 ที่มีเรื่องของการก่อการร้ายเข้ามาเกี่ยวข้อง และภายหลังจากการเกิดขึ้นของ 9/11 ในครั้งนั้น มันได้ก่อให้เกิดบรรทัดฐานทางกฎหมายที่สร้างมาตรการตอบโต้การกระทำของผู้ก่อการร้ายในการยึดเครื่องบินโดยสารเพื่อใช้กระทำการก่อวินาศกรรม โดยที่หลายประเทศได้ออกกฎหมายที่ให้อำนาจหน่วยงานความมันคง "ยิ่งตก" เครื่องบินโดยสารที่อยู่ภายใต้การยึดครองของผู้ก่อการร้ายได้ โดยไม่ถือว่าเป็นความผิด

    "Terror" ได้จำลองเหตุการณ์ และตั้งคำถามในประเด็นที่มีความสำคัญทางด้านนิติปรัชญา ในเรื่องของการเลือกตัดสินใจผ่านคำถามที่ไม่ซับซ้อนแต่ยากจะหาคำตอบอย่าง "การยอมสละชีวิตคนจำนวนน้อยเพื่อรักษาชีวิตคนจำนวนมากเป็นสิ่งที่สมควรกระทำหรือไม่ (?)" และ "หากการกระทำนั้นเกิดขึ้นแล้ว ระบบกฎหมายจะต้องเอาผิดกับผู้กระทำการหรือไม่ (?)" ประเด็นคำถามทั้งสองข้อเป็นประเด็นหลักที่บทละครชิ้นนี้ชักชวนให้เราตั้งคำถาม แสวงหาความจริงจากการฟังคำแถลงของอัยการ ทนายจำเลย จำเลยและโจทย์ อีกทั้งบทละครชิ้นนี้ ยังกระตุ้นให้เราทำหน้าที่ในฐานะของลูกขุนที่กำลังนั่งฟังการพิจารณาคดี ว่าในท้ายที่สุดแล้วเราในฐานะของลูกขุนจะเลือกหนทางใด เพราะอะไร โดยที่ตอนจบของบทละครเรื่องนี้มีการวางบทจบเอาไว้ให้เราเลือกในสองรูปแบบ คือ (1) มีความผิด และ (2) ไม่มีความผิด แต่สิ่งที่สนุกไปกว่านั้น คือการให้เหตุผลหรือการแถลงปิดคดีของผู้พิพากษาในตอนจบ มันช่วนให้เราคิดต่อไปอีกว่าหสกเป็นเราเป็นผู้พิพากษา และเป็นลูกขุน ตัวเรานั้นจะให้เหตุผลต่อการตัดสินใจของเราเช่นไร เราจะเลือกหนทางที่ "ชั่วร้ายน้อยที่สุด" หรือจะเลือกหนทางเช่นใดกันแน่ ก็สุดแท้อยู่แต่ตัวเราและการให้เหตุผลของเราเอง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in