เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
เห็น By พลอย สโรชา กิตติสิริพันธุ์
  • รีวิวเว้ย (566) หากพูดกันแบบตรงไปตรงมา "ตา" คืออวัยวะอย่างหนึ่งของร่างการมนุษย์ที่ใช้ในการทำหน้าที่รับภาพ เพื่อส่งภาพที่ด้ไปยังสมองเพื่อประมวลผลและเพื่อให้สมองนำไปใช้ต่อเพื่อการทำกิจกรรมอื่น ๆ ของร่างกายต่อไป นอกจากนี้ "ตา" ยังอยู่เอาไปใช้ในหลายความหมายตั้งแต่ "ผัวของยาย พ่อของแม่" ซึ่งก็ไม่รู้ว่าทำไมถึงเรียก "ตา" ในความหมายแบบนั้น (ขี้เกียจค้น) และคำว่า "ตา" ยังถูกใช้แทนความหมายในลักษณะอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ทั้งในฐานะของการเปรียบเปรยหรือแม้กระทั่งถูกใช้ในฐานะของสัญลักษณะและคสามเชื่อต่าง ๆ ทั้วโลก แต่ในครั้งนี้เราจะกลับมาพูดถึงความหมายที่พื้นฐานที่สุดของตานั้นคือในฐานะของ "อวัยวะ" ที่ช่วยทำให้มนุษย์และสัตว์อื่น ๆ "มองเห็น" กับบุคคลหรือสิ่งมีชีวิตที่ตามีปัญหาจน "มองไม่เห็น" เรามักจะเรียกคนที่มีลักษณะของการมองไม่เห็นแบบนี้ว่า "ตาบอด" และอาการตาบอดนี้เอง ที่กลายมาเป็นหนึ่งในสิ่งจำแนกความเป็นปกติและความไม่ปกติของสังคม สมัยก่อนเมื่อย้อนกลับไปสัก 10-20 ปีก่อน "คนตาบอด" ในสังคมไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มของคนที่ควรจะได้รับการช่วยเหลือและสงเคราะห์ (ตามคำของรัฐไทย) ในฐานะของกลุ่มคน "พิการ" และเมื่อถูกจัดอยู่ในฐานะของคนพิการแล้วสิ่งที่ตามมาในความรับรู้ของสังคมไทยคือกลุ่มคนเหล่านี้นั้นคือคน "มีกรรม" ซึ่งทัศนคติในลักษณะนี้ยังคงมีรากบางส่วนที่หลงเหลืออยู่ในความรับรู้ของคนในสังคม และด้วยความรับรู้ในลักษณะนี้เองที่ทำให้สังคมหนึ่ง ๆ ลดทอน "คุณค่าความเป็นคน" ของคนคนหนึ่งลงไปแบบที่ไม่ยุติธรรม เพียงเพราะเขาไม่สมบูรณ์ตามค่านิยมของสังคมหนึ่ง ๆ เท่านั้น ทำให้ในช่วงหลาย 10 ปีก่อน บทบาทของคนพิการในสังคมไทย จึงถูกจำกัดเอาไว้ในขอบเขตของ "บ้านและครอบครัว" ของพวกเขาเท่านั้น และด้วยกลไกในลักษณะนี้เองทำให้เราลืมคิดไปว่าแท้จริงแล้วคนกลุ่มนี้ที่ถูกสังคมขีดเส้นแบ่งเอาไว้ พวกเขาเองก็มีความสามารถไม่แพ้กลุ่มคนที่ปกติ (ตามการนิยามของรัฐ) ในหลายครั้งพวกเขาได้แสดงให่เห็นแล้วว่าความสามารถของพวกเขาหลายครั้งเทียบเท่ากับทุก ๆ คน และสำหรับบางคนอาจจะมีความสามารถที่มากกว่าด้วยซ้ำไป
    หนังสือ : เห็น
    โดย : พลอย สโรชา กิตติสิริพันธุ์
    จำนวน : 368 หน้า
    ราคา : 549 บาท

    "เห็น" คือหนึ่งในเครื่องยืนยันข้อความก่อนหน้าที่เราไปกล่าวถึงไปในส่วนต้น เพราะหนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นโดยนักเขียนที่ "มองไม่เห็น" แต่ที่น่าแปลกใจคือหนังสือทั้งเล่มบอกเล่าเรื่องราวของการ "เห็น" ผ่านการรับรู้ของผู้เขียนได้อย่างน่าสนใจ ทั้งเรื่องของผู้คนรอบตัว เรื่องของคสามเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ รอบข้าง และเห็นแม้กระทั่งความรู้สึกของบุคคลที่ 2 และ 3 ที่ถูกพูดถึงในหนังสทอ โดยที่ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องมองเห็นด้วย "สายตา" แบบที่หลายคนนับรู้และเข้าใจ ว่าดวงตาเท่านั้นที่จะทำให้เรามองเห็นได้ 

    นอกจากนั้นแล้ว "เห็น" ยังช่วยให้เรามองเห็นถึงการมองเห็นของคนที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา หากแต่อวัยวะแห่งการมองเห็นของเขากลับเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ได้ดีไม่ต่างจากการใช้สายตา ในหลาย ๆ ครั้งอวัยวะแห่งการเห็นของพวกเขาอาจจะดีกว่าสายตาของเรา ๆ ท่าน ๆ ที่ใล้มันเพียงแค่มองภาพเท่านั้นเสียอีก 

    อาจจะเรียกได้ว่า "เห็น" คือหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของการเห็นแบบที่ไม่เห็น และ "เห็น" ได้แสดงให้เราเห็นแล้วว่าอวัยะแห่งการเห็นนั้นไม่ได้มีเพียงแค่ตาเท่านั้น หากแต่เราสามารถ "เห็น" ได้ทุก ๆ อย่างถ้าเราเข้าใจในสิ่งที่เรามีอยู่นั้นอย่างมากพอ และรู้ว่าจะใช้สิ่งที่มีอยู่เหล่านั้นเช่นไร

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in