เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
พระเสด็จโดยแดนชล By ศานติ ภักดีคำ
  • รีวิวเว้ย (509) "พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย พายอ่อนหยับจับงามงอน" -- พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เราอาจจะยังจำกันได้ว่าเมื่อสมัยเด็ก ๆ ในวิชาภาษาไทย บทเห่เรือบทนี้คือสิ่งที่เราต้องท่องกันอย่างเอาเป็นเอาตาย เพื่อมาสอบทองกับครูภาษาไทยแบบรายบุคคลโดยห้ามไม่ให้มีการเปิดหนังสือ คำถามสำคัญในตอนนั้นคือ "กูจะต้องท่องบทเห่เรือไปทำไมกัน" (?) ซึ่งเวลาผ่านมาหลายปีกระทั่งถึงทุกวันนี้ก็ยังคงไม่เข้าใจว่าจะท่องกันไปทำมะเขืออะไร เพราะในท้ายที่สุดเวลาที่เราต้องการหาข้อมูลของเรือในกระบวนพระราชพิธีต่าง ๆ เราก็สามารถกดเข้า Google และหาข้อมูลได้ทันที และที่สำคัญไปกว่านั้น คือ บทเห่เรือบทต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปในทุกครั้งที่มีการจัดกระบวนเรือพระราชพิธี เราเองก็พยายามนั่งฟังมาหลายครั้งว่าเวลาที่เขาจัดกระบวนเรือพระราชพิธีเราจะมีโอกาสได้ยินบทเห่ของเจ้าฟ้ากุ้งหรือไม่ ซึ่งก็ไม่เพราะบทเห่ในแต่ละครั้งมีการแต่ใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาไปตามยุคตามสมัยต่าง ๆ 
    หนังสือ : พระเสด็จโดยแดนชล เรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมาคร
    โดย : ศานติ ภักดีคำ
    จำนวน : 384 หน้า
    ราคา : 450 บาท

    อย่างการเสด็จเลียบพระนครทางชลมาครที่จัดขึ้นในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 ก็เช่นกัน ที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการจัดกระบวนเรือพระราชพิธีในการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมาครเป็นครั้งแรกของรัชการปัจจุบัน และเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่ภายหลังการเสด็จขึ้นครองราชแล้วจะมีการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมาคร

    หนังสือ "พระเสด็จโดยแดนชล เรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมาคร" ถูกเขียนขึ้นเพื่อตอบสนองต่อวาระโอกาสของการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมาครในครั้งนี้ โดยเนื้อความในหนังสือได้ทำหน้าที่ในการบอกเล่าเรื่องราวของกระบวนเรือพระราชพิธี ในการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมาคร ตั้งแต่การกลับไปค้นหาหลังฐานของการเริ่มต้นขึ้นของเรือพระราชพิธี โดยย้อนกลับไปตั้งแจ่สมัยก่อนพุทธกาล และไล่มาจนกระทั่งยุคปัจจุบัน เท่าที่หลังฐานทางประวัติศาสตร์มีบันทึกและบอกเล่าเอาไว้

    "พระเสด็จโดยแดนชล เรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมาคร" ได้แสดงให้เห็นถึงการปรากฎขึ้นครั้งแรกของขนบแนวคิดในเรื่องของเรือพระราชพิธี ที่ผูกโยงเอาขนบความเชื่อในเรื่องของชีวิตและสายน้ำของคนในภูมิภาคอุสาอาคเนย์เข้าไว้ด้วยกัน อีกทั้ง "พระเสด็จโดยแดนชล เรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมาคร" ยังบอกเล่าถึงเรื่องราวของกระบวนเรือพระราชพิธีของสยามที่ปรากฎขึ้นในหลังฐานต่าง ๆ

    รวมไปถึง "พระเสด็จโดยแดนชล เรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมาคร" ยังได้รวบรวมเอาบทเห่เรือที่เคยมีมาในหลายยุคหลายสมัยเข้ามารวบรวมเอาไว้โดยแยกเป็นช่วงเวลาต่าง ๆ ซึ่งเราขะเห็นได้ว่าบทเห่เรือในแต่ละช่วงเวลานั้นมีความแตกต่างกันในหลาบประการ ทั้งเรื่องของการอธิบายบริบทของสังคม สภาพบ้านเมือง และรวมไปถึง "พระเสด็จโดยแดนชล เรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมาคร" ยังได้อธิบายถึงขนบแนวคิดทางศาสนาจากหลายศาสนาที่ถูกรวมเข้าไว้ด้วยกันภายใต้เรือพระราชพิธีแต่ละลำ

    อาจจะเรียกได้ว่า "พระเสด็จโดยแดนชล เรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมาคร" น่าจะเป็นหยังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของเรือพระราชพิธีได้ดีและครอบคลุมมากที่สุด (ณ เวลานี้) เพราะหนังสือบอกเล่าถึงทั้งที่มาทางประวัติศาสตร์ บริบทต่าง ๆ ทางสังคม รวมถึงวัฒนธรรม ประเพณี คติความเชื่อที่แฝงฟังเอาไว้ภายใต้โขนเรือแต่ละลำ กาพย์เห่แต่ละตอน รวมไปถึงกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ล้วนแสดงให้เห็นถึงวิถีปฏิบัติบางประการที่สำคัญ ที่ทำหน้าที่ในการธำรงค์ไว้ซึ่งคุณค่าบางรูปแบบของสังคมนี้ นับแต่ครั้งอดีตกาลกระทั่งปัจจุบันกาล

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in