เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการสาธารณภัยฯ By ผศ.ดร.สมพร คุณวิชิต
  • รีวิวเว้ย (423) ถ้าย้อนกลับไปสมัยเรายังเด็ก (เกิด 2536) ความทรงจำในช่วงเวลาดังกล่าวเกี่ยวกับสภาพของ ลม ฟ้า อากาศ โดยเฉพาะช่วงเวลาฝนตก เป็นช่วงเวลาที่เด็กอย่างเรามีความสุขมากที่สุด เพราะเราจะได้ออกไปวิ่งเล่ยน้ำฝนกลางสายฝนให้หัวถึงเท้าได้เปียกชุ่มฉ่ำเย็น แต่มาถึงปัจจุบันนี้ (2562) บ้านหลังเดิม คนคนเดิม แค่เติบโตขึ้นตามอายุ ในหลาย ๆ ครั้งที่เราเห็นฝนตั้งเค้าความรู้สึกสมัยเด็กที่อยากออกไปวิ่งเล่นกลางสายฝนก็กลับมาทุกครั้งไป แต่เราก็ต้องกดข่มใจไว้ไม่ออกไปวิ่งกลางสายฝน ไม่ใช่เพราะกลัวป่วยไข้ หรือกลัวว่าฝนที่ตกมาเจือด้วยสารพิษแต่อย่างใด หากแต่กลัวว่าถ้าออกไปวิ่งกลางฝนแล้ว "ฟ้าจะผ่ากระบานเอาได้" ตอนแรกคิดว่าเรานั่งคิดไปเองคนเดียวเรื่องฟ้าแรงขึ้นเมื่อยามฝนตก จนกระทั่งเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนตอนฤดูกาลเคลื่อนเข้าสู่ฤดูฝน ระหว่างฝนตกและฟ้าร้องเรามีโอกาสได้ถามแฟนว่า "เธอรู้สึกว่าฟ้ามันแรงขึ้นกว่าตอนสมัยเราเป็นเด็กมั้ยวะ" และคำตอบที่ได้กลับมาคือ "อือใช่ ๆ" และเราลองเอาคำถามดังกล่าวไปถามกลับใครหลาย ๆ คนก็ได้คำตอบออกมาในแนวเดียวกันทุกคน ซึ่งนั่นสรุปได้ว่าฝนตกเมื่อ 10-20 ปีก่อน (ดูแก่เลยกู) กับฝนตกทุกวันนี้ฟ้าร้องดังขึ้นและดูรุนแรงมากยิ่งขึ้น

    ซึ่งนอกจากการร้องของฟ้าแล้ว ยังมีอีกหลายสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากสมัยเราเป็นเด็ก ทั้งเรื่องของความร้อนของอากาศ ปัญหาหมอกควันในฤดูร้อน น้ำท่วมที่ดูหนักและทวีความรุนแรงขึ้นในทุก ๆ ครั้ง รวมไปถึงภัยแรงที่ต่อให้เรามีระบบการบริหารจัดการที่ดีระดับหนึ่งแล้ว แต่ความรุนแรงที่เรารับรู้มันยังคงเท่าเทียมกันกับเมื่อสมัยก่อน โดยทั้งหมดนี้อาจอนุมานได้ว่าปัญหาที่เราเรียกรวม ๆ กันว่า "ภัยธรรมชาติ" ที่เกิดจากการกระทำของธรรมชาตินั้นมีแนวโน้มจะยิ่งทวีความรุ่นแรงมากขึ้นในทุก ๆ ปี ซึ่งก็อาจจะเกิดจากหลายปัจจัยที่ยังผลให้เกิดปัญหาดังกล่าว

    และด้วยความเปลี่ยนแปลงที่รุ่นแรง และความถี่ของภัยที่เกิดขึ้น ยังผลในประเด็นเรื่องของการจัดการภัยพิบัติ การรับมือภัยพิบัติทั้งระยะก่อนเกิด ระหว่างเกิดและหลังเกิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ควรได้รับการเอาใจใส่จากทุก ๆ คน มิใช่จากเพียงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเดียวเท่านั้น นี่เรายังไม่ได้นับรวมเรื่องของภัยพิบัติที่อาจเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งเรื่องของการกระทำโดยไม่ตั้งใจอันเป็นผลจากคสามประมาทอย่าง หรือการกระทำด้วยความตั้งใจอย่างภัยก่อนการร้าย ซึ่งเมื่อนับรวมภัยเหล่านี้เข้ากับภัยธรรมชาติ เราจะพบว่าปัญหาในเรื่องของภัยพิบัติมีคสามซับซ้อน และมีรายละเอียดของการศึกษาเพื่อเตรียมการรับมือที่หลากหลาย และที่สำคัญองค์ความรู้ในด้านนี้ที่เป็นภาษาไทยเอง ก็มีปริมาณน้อยนิดจนแทบจะนับนิ้วได้ เมื่อผนวกเข้ากับจำนวนของปัญหาที่ทั้งทวีจำนวนและทวีความรุ่นแรงขึ้น นั้นจึงจำเป็นที่เรื่องของภัยพิบัติจะต้องได้รับการศึกษา และถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยให้ความเสียหายที่อาจจะเกิดจากภัยเหล่านั้นลดความรุนแรง และความเสียหายลง

    เหมือนกับคำพูดของนักวิชาการท่านหนึ่งที่ว่า "ประเทศเราชอบสร้างอนุสรความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับคสามเสียหายที่เกิดจากภัยพิบัติ มากกว่าสร้างหารรับรู้ รับมือต่อความเสียหายที่สามารถทำให้บรรเทาลงได้เหล่านั้น" (อ.เจ๊อีฟ - มธ. 30-05-62)
    หนังสือ : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการสาธารณภัยแบบเบ็ดเสร็จ
    โดย : ผศ.ดร.สมพร คุณวิชิต
    จำนวน : 206 หน้า
    ราคา : 320 บาท

    วันนี้เราเลยอยากแนะนำหนังสือเรื่อง "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการสาธารณภัยแบบเบ็ดเสร็จ" เพื่อให้ทุกคนได้ลองทำความเข้าใจในเรื่องของ "ภัยพิบัติ" ให้มากยิ่งขึ้น เพราะว่าเราทุกคนมีความเสี่ยงที่ขะเผชิญกับภัยต่าง ๆ เหล่านี้ โดยเฉพาะเมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป และความเปลี่ยนแปลงของโลกก็กำลังเผชิญกับปัญหาที่ทวีความรุ่นแรงมากขึ้นในทุกขณะ อย่างปัญหาเรื่องของภัยพิบัติที่เราพบเจอได้อย่างชัดเจนในช่วงหลายปีมานี้ในไทย อย่าง น้ำท่วมใหญ่ที่เกิดขึ้นในหลายภูมิภาคและเกิดขึ้นเกือบทุกปี ปัญหาหมอกควันที่ยิ่งนับวันก็ยิ่งทวีความรุนแรงมาขึ้น ๆ และรวมไปถึงปัญหาเรื่องของแผ่นดินไหว ที่ประเทศไทยเองก็มีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับแผนดินไหว และภัยต่อเนื่องที่อาจเกิดตามมาต่าง ๆ เนื่องด้วยในไทยเองมีลอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกที่อาจก่อให้เกิดแผ่นดินไหวในประเทศได้ และในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียร์มาเองก็มีลอยเลื่อนขนาดใหญ่พาดผ่านเมืองสกาย ที่มีโอกาสก่อให้เกิดภัยแผ่นดินไหวได้ทุกเมื่อเชื่อวัน

    ฉะนั้นแล้วการเรียนรู้และการทำความเข้าใจในเรื่องของภัยพิบัติจึงเป็นสิ่งจำเป็น หากอยากรอดเราเองต้องเรียนรู้เพื่อที่จะเอาชีวิตในรอดก่อน ก่อนที่การช่วยเหลือจะมาถึง เพราะถ้าเราไม่รอดจากการเกิดภัย ความช่วยเหลือที่จะตามเข้ามาในภายหลังมักจะมาพร้อมถุงเก็บศพเสมอ

    "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการสาธารณภัยแบบเบ็ดเสร็จ" เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องราวของ "ภัยพิบัติ" ที่ถูกอาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนังสือทำความเข้าใจและทำตัวอย่างไรจึงจะรอดจากภัย 101 ซึ่งนอกจากดวงจะต้องดีแล้ว เราจำเป็นต้องมีความรู้ด้วย

    ในหนังสือเล่มนี้ ได้พูดถึงนิยามของภัย ภัยพิบัติ สาธารณภัย ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของภัย และในหนังสือยังบอกเล่าถึงหน่วยงาน กระบวนการในการจัดการภัยพิบัติของไทยและต่างประเทศ รวมไปถึงพัฒนาการของการจัดการภัยพิบัติทั้งในประเทศไทยและในระดับสากล

    นอกจากหนังสือเล่มนี้จะพาเราไปทำความรู้จักกับเรื่องราวต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ในหนังสือยังพูดถึงเรื่องของบทบาทของรัฐในการเข้ามาจัดการในเรื่องของปัญหาของภัยพิบัติที่เกิดขึ้น รวมไปถึงบทบาทของตัวแสดงต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน ที่อาจจะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องของภัยพิบัติ ทั้งในฐานะของผู้ในการช่วยเหลือและในฐานะของผู้รอรับการช่วยเหลือ

    อาจจะเรียกได้ว่า "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการสาธารณภัยแบบเบ็ดเสร็จ" เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของการเรียนรู้ในเรื่องของภัยพิบัติและการจัดการภัยพิบัติ (ภัยพิบัติ 101) ฉบัลภาษาไทย ที่เนื้อหาพูดได้ครอบคลุมมากที่สุดในบรรดาเนื้อหาของหนังสือเรื่องภัยพิบัติที่เราเคยอ่านมา เพราะนอกจากบอกเล่าเรื่องของนิยามการให้ความหมายในทางวิชาการ บอกถึงพัฒนาการของการจัดการภัยพิบัติ บอกถึงการจัดการการฟื้นฟูภายหลังการเกิดภัย การเตรียมตัวก่อนเกิดภัย และการปฏิบัติตัวระหว่างเกิดภัยแล้ว "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการสาธารณภัยแบบเบ็ดเสร็จ" ยังช่วยเตือนใจเราอีกด้วยว่า "ความพร้อมย่อมเกิดจากการศึกษาและนำไปฝึกฝน" เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว การจัดการภัยพิบัติทั้งในฐานะของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือในฐานะของปัจเจกชนก็ดี การเรียนรู้และฝึกฝนตัวเองให้พร้อมอยู่เสมอ นั่นจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้คุณสามารถรับมือกับภัยที่อาจเกิดขึ้นได้กับตัวเองและคนรอบข้างในอนาคต

    เพราะภัยพิบัติและการตอบสนองต่อภัยมิได้ต้องการเพียงสติเท่านั้นหากแต่ต้องการสติที่ (1) มีปัญญาและ (2) สัมปชัญญะ เพื่อใช้ในเรื่องของการจัดการรับมือกับภัยพิบัติที่เราหรือคนรอบข้างอาจจะกำลังเผชิญอยู่

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in