เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
รัตนโกสินทร์ที่ไม่เคยเห็น By ชาตรี ประกิตนนทการ และ พิชญา สุ่มจินดา
  • รีวิวเว้ย (349) แผนที่คือสิ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งในการสร้างชาติหรือสร้างความเป็นรัฐชาติ ให้มีส่วนสัดที่ขัดเจนที่ถูกเรียกว่าเส้นแบ่งเขตแดน (border) ที่แสดงให้เห็นถึงกลไกและองค์ประกอบของการเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ อย่าง (1) ดินแดน (2) อำนาจอธิปไตย (3) ประชาชน และ (4) รัฐบาล ซึ่งแผนที่นี้เองที่จะทำหน้าที่บ่งบอกความเป็นรัฐชาติได้อย่างชัดเจน ประเทศไทย (สยาม ในครั้งอดีต) ก็มีการสร้างแผนที่ขึ้นมาเพื่อระบุถึงเขตแดนอันแน่นอนชัดเจนของรัฐชาติสยาม โดยแผนที่แบบสากลฉบับแรง ๆ ของสยาม ถูกสร้างขึ้นราว ๆ ปี พ.ศ. 2430 ซึ่งเป็นช่วงใกล้เคียงกับการสร้างรัฐชาติของสยามขึ้นมา แผนที่ถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมของรัฐสยามในการควบรวมเอาหัวเมืองต่าง ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศ อีกทั้งการทำแผนที่ในช่วงยามดังกล่าว ยังเป็นการปักปันเขตแดนเพื่อสร้างควาใชัดเจนและระแวดระวังการขยายของเขตของเจ้าประเทศอาณานิคมต่าง ๆ ที่อยู่ร่ายรอบสยามในช่วงเวลานั้น 
    หนังสือ : รัตนโกสินทร์ที่ไม่เคยเห็น: ข้อมูลใหม่จากแผนที่และจิตกรรมฝาผนัง
    โดย : ชาตรี ประกิตนนทการ และ พิชญา สุ่มจินดา
    จำนวน : 122 หน้า
    ราคา : 200 บาท

    แต่นอกจากแผนที่จะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรวมชาติ ตามทฤษฎี "ภูมิกายา" ที่ถูกนำเสนอผ่าน "กำเนิดสยามจากแผนที่" ของ อ.ธงชัย วินิจกุล แล้วนั้น แผนที่ยังคงมีประโยชน์ในเรื่องของการศึกษาประวัติศาสตร์คสามเป็นมาของพื้นที่ อย่างการทำแผนที่ในลักษณะสากลของสยามเมื่อปี พ.ศ. 2430 (โดยประมาณ) ทำให้เราสามารถศึกษาพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปของสภาพภูมิสถาปัตยกรรมของพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ำด้เป็นอย่างดี

    "รัตนโกสินทร์ที่ไม่เคยเห็น: ข้อมูลใหม่จากแผนที่และจิตกรรมฝาผนัง" เป็นหนังสือที่รวบรวมเอาบทความของสองนึกวิชาการด้านประวัติศาสตร์อย่าง อาจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ และ อาจารย์พิชญา สุ่มจินดา ที่ศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์และประวัติศาสตร์ของสถาปัตยกรรมในพื้นที่ผ่านแผนที่ ซึ่งนอกจากแผนที่โบราณจะบอกถึงการเปบี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่และสภาพขอวสถาปัตยกรรมในครั้งอดีตแล้ว แผนที่ยังสามารถบอกถึงสภาวะของคสามสัมพันธุ์เชิงอำนาจผ่ายระยะและรูปแบบของการตั้งอาคาร บ้าน วังของเหล่าเจ้านายและขุนนางในยุคสมัยดังกล่าว

    ซึ่งนอกจากเรื่องของแผยที่แล้ว "รัตนโกสินทร์ที่ไม่เคยเห็น: ข้อมูลใหม่จากแผนที่และจิตกรรมฝาผนัง" ยังบอกเล่าถึงเรื่องราวของการศึกษาสภาวะของเมืองและสถาปัตยกรรมในครั้งอดีตผ่านภาพจิตกรรมฝาพนัง ที่ในกรณีศึกษายกเอาเรื่องของหมู่ตึกและสถาปัตยกรรมในครั้งอดีตที่เคยมีอยู่ในบริเวณวังหลวงที่ในปัจจุบันไม่มีและหรือถ้ามีก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากแล้ว โดยงานศึกษาพาเราไปค้นหาอาคารต่าง ๆ ที่ถูกลื้อทำลายไปบ้างแล้ว ผ่านภาพจิตกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นเพื่อสะท้อนสภาวะคสามเป็นจริงของสังคมในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ รวมถึงภาพของอาคารและสถานที่ที่ถูกบันทึกเอาไว้บนจิตกรรมฝาผนังด้วย ก็อาจจะเปรียบได้กัลก่รบันทึกเรื่องราวลงในภาพถ่าย แต่กลับกันที่ครานี้จัดเก็ยคสามทรงจำของสถานที่และสถาปัตยกรรมไว้กับงานจิตกรรมแทน

    "รัตนโกสินทร์ที่ไม่เคยเห็น: ข้อมูลใหม่จากแผนที่และจิตกรรมฝาผนัง" ช่วยสะท้อนให้เห็นภาพคสามสำคัญของหลักฐายทางประวัติศาสตร์ ที่หลายครั้งมันไม่จำเป็นว่าจะต้องถูกจัดเก็บเอาไว้ในรูปของปูมบันทึกหรือพงศาวดาลแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ประวัติศาสตร์สามารถถูกบันทึกและถ่ายทอดผ่านสิงใด ๆ ก็ตามแต่ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ของกาละและเทศะ ของช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เอาไว้ และมันเพียงแค่รอวันที่ใครสักคนจะหยิบมันไปศึกษาและตีคสามเพิ่มเติม อาจจะเรียกได้ว่า นี่คือเสน่ห์อย่างหนึ่งของวิชาประวัติศาสตร์ก็คงจะได้

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in