“มัจฉาแหวกว่ายท่องนที
สกุณาดีล่องลอยเหนือเวหา
และความจริงเปรียบดั่งท่องนภา
สุดแสนหล้าพาเด็กฉลาดเอย
เด็กหนอเด็กลำบากขนาดไหน
เด็กเรียนได้ดีหรือไม่ดีเฉลย
เด็กมีความเป็นเด็กมากนะเอย
เด็กเลยไวจนโตแล้วได้ดี
แต่ขึ้นอยู่กับการศึกษานี้
ครูสอนดีเข้าใจเหตุฉะนี้
ว่าครูสอนเด็กเข้าใจนับว่าดี
หากมีเด็กไม่ดีก็ไม่เป็นไร
เพราะสังคมของเด็กดีนั้นพาไป
เปลี่ยนใจเด็กไม่ดีให้เเปรไป
แปลผันเป็นเด็กดีใช่ว่าได้
และเด็กใกล้คุณธรรมนั้นนับดี
การเรียนการสอนที่ลำบากนั้น
เปรียบดั่งจันทร์ส่องแสงกระทบศรี
และแสดงดาวส่องฉวี
กระทบมีกับคลื่นนิจนิรันดร์
รวมถึงการศึกษาที่สอนนั้น
บ่งบอกวันเวลาอันนับแสน
ชีวิตของเด็กนับว่าแก่น
เรียนรู้แม้นให้เด็กนั้นเป็นคน”
หนังสือเล่มนี้แอบอ่านไป ก็วางไป ง่วงไป และเป็นหนังสือที่มีสาระมาก เพราะบันทึกเรื่องราวของการศึกษาของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะฟินแลนด์ โปแลนด์ และเกาหลีใต้ได้ออกมาอย่างเข้าใจที่สุด
“ความเข้มแข็งในยามที่เผชิญกับความทุกข์ยาก”นั้นคือการเรียนการสอนของเด็กในฟินแลนด์ โดยเราจะพบว่า การศึกษาของที่นี้ค่อยเป็นค่อยไป และค่อยๆฝึกหัดให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตัวเอง โดยมีพาเด็กออกชมนอกสถานที่ รวมทั้งฝึกให้เด็กแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดี ส่วนเรียนที่โปแลนด์นั้นมีการสอนที่ทำให้เด็กเข้าใจในคำถามและคำตอบโดยผ่านการเสนอให้เห็นจากชีวิตจริง ส่วนการศึกษาของเกาหลีใต้นั้นคือระบบการแข่งขันอย่างสูง จากที่อ่านทั้งสามระบบนี้ เราชอบของฟินแลนด์ที่สุด
การที่จะทำให้เด็กเข้าใจ เรียนรู้ ศึกษาได้อย่างถูกต้องนั้น ก็คือ การนำพาเด็กไปพบกับความเป็นจริง และเด็กค่อยๆที่จะเรียนรู้ว่า เด็กจะอยู่ได้อย่างไร และแก้ไขปัญหาแบบไหน นั้นล่ะเหมาะกับเด็กที่จะโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี
LOOK A BREATHE
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in