เรื่องราวของการสร้างแบรนด์ที่คนทั่วไปมักเข้าใจว่าเราสร้างแบรนด์ ก็เริ่มจากการ
ออกแบบโลโก้ เพื่อใช้ในการทําโฆษณา แล้วพยายามโฆษณาให้ผู้คนทั่วไปเห็นโลโก้เห็นซ้ำๆ แล้วจะทําให้ให้แบรนด์ของเราเป็นที่รู้จัก แต่ในความจริงแล้ว การที่เราออกแบบโลโก้แล้วเอาโลโก้ไปทําโฆษณานั้น เป็นเพียง 5% เท่านั้นของการสร้างแบรนด์ ซึ่งในรายละเอียดยังมีอยู่อีกมากมาย จึงหยิบยกส่วนหนึ่งจากหนังสือ
-------------------------------------------------------
"จากการตลาด 3.0 สู่การสร้างแบรนด์ 4.0"
------------------------------------------------------
ซึ่งมีโอกาสได้อ่านแล้ว มีความรู้สึกว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่กำลังสนใจในการสร้างแบรนด์อยู่ในขณะนี้ จะได้ไม่ต้องเสียเวลา Re Branding กันใหม่ในภายหลัง
ระดับที่ 1Awareness รับรู้ว่ามีอยู่จริงเป็นระดับการรับรู้ที่ผู้บริโภคสามารถบอกได้ว่า พวกเขาเคยเห็น และหรือเคยสัมพัสกับแบรนด์นี้มาก่อน พวกเข้าอาจจดจำรายละเอียดได้ไม่มากเท่าไรนัก แต่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับการบ่งชี้ได้ชัดเจนมากพอที่จะสรุปว่าเคยเห็น หรือเคยสัมผัสมาก่อน นี้คือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นได้ว่า แบรนด์มีองค์ประกอบบางอยางโดดเด่น ชัดเจน และสะดุดตา หรือก่อให้เกิดความรู้สึกมากพอ ที่จะทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงการมีตัวตนอยู่ของแบรนด์หากพิจารณาโดยใช้รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคเป็นตัวตั้ง นั้นแปลว่าในระดับที่1 ผู้บริโภคสามารถเชื่อมโยงเข้ากับตัวบงชี้ (identifiers) ได้ว่าพวกเข้าให้ความสำคัญกับการออกแบบ และใช้การผสมผสานระบบอัตลักษณ์ของแบรนด์ในรูปแบบที่ต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออัตลักษณ์ดังกล่าวเชื่อมโยงโดยตรงกับชื่อหรือสัญลักษณ์บางอย่างที่มีลักษณะเฉพาะ
ผลลัพธ์จากการประเมินคุณภาพในขั้น awareness สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการแนะนำตัวของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นชื่อหรือสัญลักษณ์ของแบรนด์ที่โดเด่น ชี่งช่วยให้ผู้บริโภคสนใจและจดจำแบรนด์ได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมไปถึงการเลือกใช้ และปริมาณจะสัมผัสที่เอื้อต่อการรับรู้ของผู้บริโภคทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์
ความสำเร็จในขั้นนี้จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับงบประมาณในการสื่อสาร เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากที่สุด ตามแนวทางที่วางเอาไว้ เพราะการรับรู้ในขั้น awareness เป็นประตูด่านแรกที่จะนำไปสู่การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์ กับผู้บริโภค การรับรู้ขั้นนี้จึงถูกใช้เป็นตัวชี้วัด และเป็นเครื่องมืในการเริ่มต้นสร้างแบรนด์ในระบบมวลชน เช่นเดียวกันกับแบรนด์ที่มีตัวตนอยู่แล้ว แต่ต้องปรับภาพลักษณ์ให้ทันสมัย หรือเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มาขึ้น ดังที่เราเรียกันว่าการทำให้แบรนด์มีความสดใหม่มากขึ้น (brand rejuvenating)
เราก็พอจะเข้าใจกันบ้างแล้วว่าการออกแบบโลโก้ไม่ใช่การสร้างแบรนด์ แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์ หากสนใจในรายละเอียดสามารถหาอ่านได้จากหนังสือที่อ้างอิงอยู่ด้านล่าง หรือเข้าดูรายลเอียดต่อได้ที่คลิปด้านบน หวังว่าจะเข้าใจถึงการออกแบบโลโก้ กับการสร้างแบรนด์กันมากขึ้น
อ้างอิงเนื้อหาจากหนังสือ
จากการตลาด 3.0 สู่การสร้างแบรนด์ 4.0
.
อ้างอิงภาพประกอบ
Photo by Engin Akyurt from Pexels
.
อ้างอิงคลิป
https://www.youtube.com/watch?v=HxiU0FDt_bQ
.
เรียบเรียงบทความ
https://www.bigbang.co.th/Logo-Design
.