สถานการณ์ระบาดของเชื้อ Corona virus หรือโรคที่เรียกชื่อ ย่อสั้นๆ COVID19 ที่ระบาดไปทั่วโลกและส่งผลกระทบกับ ทุกคนทุกอาชีพ โดยบทความจาก
ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ
918kiss ซึ่งในหลายประเทศมีมาตรการในการหยุดการแพร่ของเชื้อ COVID-19 โดยการออกฎต่างๆ ไม่ให้มีการเคลื่อนย้าย คน โดยให้คนอยู่กับที่ ทำงานจากบ้าน หรือให้มีระยะห่างระหว่าง สังคม (Social Distance) โดยมีการสั่งปิดสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการ รวมตัวของคนหมู่มาก สถานศึกษา หรือสวนสาธารณะ บางประเทศม นโยบายในการปิดประเทศและบังคับให้คนอยู่บ้าน (Lockdown) แต่ยังอนุโลมให้มีการเปิดร้านอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือ แหล่งจำหน่ายอาหาร อาจจะมีการจำกัดช่วงเวลา ซึ่งก็แล้วแต่ นโยบายของแต่ละประเทศและท้องถิ่น คนที่เดินทางมาจากประเทศ เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมากจะต้องกักตัวเอง อยู่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 4 วัน หรือผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ที่อาจจะไปสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อโดยไม่เจตนก็ต้องกักตัวเองอยู่บ้านเช่นกัน
ดังนั้นในสถาการณ์ที่มีการระบาดของโรค COVID19 จึงปฏิเสธ ไม่ได้ที่ต้องอยู่บ้าน ทำงานจากบ้าน เพื่อลดความเป็นไปได้ใน๊การ กระจายเชื้อให้กับผู้อื่นๆ ดังนั้นอาหารและน้ำซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นใน การดำรงชีวิตในแต่ละวันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้ เกิดปรากฏการณ์การกักตุนอาหาร ในช่วงแรก ของการประกาศของรัฐบาลให้ประชาชนอยู่ กับบ้านและทำงานจากบ้านซึ่งส่วนใหญ่จะกักตุนอาหารแห้ง ข้าวสาร อาหารกระป้อง และไข่ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง และอาหารกึ่งสำเร็จในรูป ของแห้ง แม้ว่าจะสามารถเก็บไว้ได้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน มักจะมีรสชาติไม่ถูกปากผู้บริโภค และต้องนำมาประกอบอาหารเพิ่ม เติมแต่งรสชาติ ใสวัตถุดิบเพิ่มเติม
แต่ก็ยังมีกลุ่มอาหาร อีกประเภทที่มีความหลากหลายของเมนู มีรสชาติ ลักษณะ เนื้อสัมผัส ใกล้เคียงกับของสดหรือของปรุงสุกใหม่ คือกลุ่มอาหารสำเร็จรูปแช่เยือกแข็งที่ผ่านกรรมวิธีการปรุงสุก การให้ความร้อน ฆ่าเชื้อ และนำมาแซ่เยือกแข็งเพื่อรักษาความสด รสชาติ และสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 6 เดือน เป็นทางเลือกที่นำสนใจสำหรับผู้ที่ต้องอยู่บ้านในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ระบาด เนื่องจากสามารถนำมาให้ความร้อนและรับประทานได้เลย ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันลักษณะอาหารที่นำมาบริโภคควรเป็นอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ หรืออุ่นให้ร้อน ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีการสัมผัสอาหารของคนขายและอาหารนั้นไม่ได้นำมาผ่านความร้อนอีกครั้ง ให้ดีที่สุดคืออุ่นให้ร้อนเอง หรือทำอาหารรับประทานเอง เมื่อมีเวลาอยู่บ้านมากขึ้นก็สามารถใช้เวลากับคนในครอบครัวทำอาหารร่วมกันได้
หากไม่มีเวลาการเลือกรับประทานอาหารสำเร็จรูป แซ่เยือกแข็งก็เป็นทางเลือกที่สะดวกและปลอดภัย การเลือกบริโภคอาหารในสถานการณ์ระบาดของโรค COVID-19 ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นวัตถุดิบหรืออาหาร ที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันหรือมีฤทธิ์ต้านไว้รัส เช่น อาหารที่มีวิตามินซีสูง (ผลไม้ตระกูลส้ม ฝรั่ง มะขามป้อม) เห็ด มีสารเบตา-กลูแคนที่ซวย ในการสร้างมิคุ้มกันและต้นไวรัส ปลาและถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งเป็น แหล่งโปรตีนที่ดี โยเกิร์ตมีจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์ที่ช่วยสร้าง ภูมิต้านทานของลำไส้และภคุ้มกันของร่างกาย เครื่องเทูศและ สมุนไพร เช่น กระเทียม หัวหอม ขิง ขำ หรือพืชตระกูลขมิ้น ซึ่งมี สารพฤกษาเคมีที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หมั่นออกกำลังกายและ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ต้องเครียดมากเกินไป ไม่ต้องกังวลเรื่อง Coronavius ที่อาจจะปนเปื้อนในอาหารเพราะยังไม่มีรายงานทาง วิทยาศาสตร์ที่ยืนยันพิสูจน์ว่าอาหารเป็นสื่อกลางของการแพร่เชื้อ Coronavius
ที่สำคัญคือสุขอนามัยส่วนบุคคลที่เคร่งครัด ใส่หน้ากาก อนามัยเวลาที่ต้องเข้าไปในที่ชุมชน รับประทานอาหารปรุงสุกหรืออาหาร อุ่นให้ร้อน ใช้ซ้อนและภาชะของตัวเอง ไม่จับใบหน้า ตา จมูกและปาก ล้ำงมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่สัมผัสพื้นที่สาธารณะ ไอ จาม และก่อนรับประทานอาหาร และอย่าลืมรักษาระยะห่าง 2 เมตร ระหว่างบุคคล ถ้าพวกเราช่วยกัน มีวินัย มีความตระหนักในสุขอนามัย ส่วนบุคคล การหยุดเคลื่อนย้าย เราก็จะสามารถลดอัตราแพร่ของ โรคระบาด COVID-19 ได้อย่างแน่นอน
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in