เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
ติ่งให้ไกล ไปเรียนให้ถึงอังกฤษAki_Kaze
มาเป็น CSI กันเถิด ตอนที่ 3: การถ่ายภาพในที่เกิดเหตุ
  • มาเป็น CSI กันเถิด ตอนที่ 3: การถ่ายภาพในที่เกิดเหตุ

    หัวข้อต่อมาที่ได้เรียนคือ Photography ถ้าใครมีพื้นฐานเรื่องกล้องมาก่อนจะเข้าใจการทำงานของกล้องได้ง่ายขึ้น และมันจะดีมาก
    แต่ก่อนอื่นอาจารย์ได้พูดถึงหน้าที่ของ CSI ซึ่งมีดังนี้
    1. เข้าจุดเกิดเหตุ
    2. รักษาสถานที่เกิดเหตุ
    3. ตรวจสอบและตีความสถานที่เกิดเหตุ
    4. บันทึกหลักฐาน
    5. เก็บหลักฐาน
    6. เตรียมเอกสาร
    7. เก็บรักษาหลักฐาน (ที่จะนำไปแสดงในศาล)
    8. การส่งต่อหลักฐาน
    9. แสดงหลักฐานต่อศาล

    (จะเห็นได้ว่าปลายทางของงานนี้คือการนำหลักฐานที่ได้จากจุดเกิดเหตุและเกี่ยวข้องกับคดีมาใช้ในศาล)
    ต่อมาจะเข้าสู่เรื่องการถ่ายภาพค่ะ การถ่ายภาพที่ใช้ในที่เกิดเหตุมีทั้งจะมีทั้งแบบรูปถ่ายและวีดีโอ (ส่วนมากวีดีโอจะใช้กับเหตุใหญ่ๆ)
    หลักสำคัญที่อาจารย์พูดถึงคือ
    Exposure = intensity (aperture / f number) x time (shutter)
    เมื่อถึงจุดเกิดเหตุแล้ว อย่างแรกที่ต้องทำคือถ่ายภาพค่ะ ถ่ายมันทุกอย่างทุกมุม โดยภาพแรกที่เราต้องถ่ายคือ Nameplate มีรายละเอียดดังนี้



    ภาพต่อมาถึงสถานที่เกิดเหตุ โดยมีหลักในการถ่ายแบบนี้



    นั่นคือยืนอยู่มุมห้องแล้วถ่ายสวนไปทั้งสี่มุม แต่ขณะเดียวกันเราก็ต้องถ่ายแบบหันซ้ายขวาเพื่อครอบคลุมด้านข้างด้วย



    ตัวอย่างรูปแบบสี่มุม แต่รูปสุดท้ายไม่ดีเท่าไร เพิ่งมาเห็นว่าไม่ได้ถ่ายมุมนั้นมา (พอดีเข้าที่เกิดเหตุพร้อมกันสองคนแล้วเพื่อนยืนตรงนั้นอยู่เลยไม่ได้กลับมาถ่าย ฮ่าๆ)

    ภาพตามตัวอย่างด้านบนเรียกว่า General Scene Photographs ในใบ CSRF เราจะเขียนหลักฐานที่เป็นภาพถ่ายก่อน ยกตัวอย่าง
    OT 1 general scene photographs
    name plate - image 1
    general scene photographs - image 2-5
    เป็นต้น

    หลักการอีกอย่างที่ใช้คือ general / contextual / close-up แบบนี้



    รูป Close up บางอย่างจะมีการใช้สเกลด้วยเพื่อให้รู้ว่าของชิ้นนั้นมีขนาดเท่าไร เนื่องจากมันเป็นภาพ close up อาจทำให้ของมีขนาดใหญ่กว่าความจริงก็เป็นได้
    รูปที่นำมาลงเป็นภาพจากที่เกิดเหตุจำลองที่อยู่ในมหาลัยนี่แหละค่ะ เนื่องจากวันนั้นฝนตกเลยไม่ได้ถ่ายภาพด้านนอกอาคารมา

    เมื่อมาถึงจุดเกิดเหตุอาจารย์ก็แจกเอกสารระบุว่าเป็นเหตุการณ์อะไร มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ในเวลาทำงานจริงมันคือการบรีฟนี่แหละค่ะ


    เผื่ออ่านไม่ถนัด ในบรีฟระบุว่า
    เจ้าของบ้านกลับถึงบ้านแล้วพบว่าโดนขโมยขึ้นบ้านจึงโทรศัพท์แจ้งตำรวจ ตำรวจมาถึงก็ยืนยันว่ามีการขโมยเกิดขึ้นจริงและเชื่อว่าหน้าต่างปิดไม่สนิททำให้คนร้ายเข้ามาทางนั้นและค้นหาของมีค่าภายในห้อง ได้เงิน เครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นเล็กๆ iPad กล้อง ออกจากบ้านไปทางประตูหลัง
    ตำรวจโทรเรียก CSI ให้เข้าตรวจสอบพื้นที่

    จากนั้นอาจารย์ก็แจกกล้องคนละตัวและใบ CSRF และจับคู่ไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ (มีจัดไว้หลายห้อง) ห้องที่ออยล์ได้หน้าตาตามภาพเลยค่ะ อย่างแรกที่เราต้องทำคือการเขียน MO
    สิ่งที่บันทึกใน MO ก็จะประมาณว่าคนร้ายเข้ามาทางหน้าต่าง ค้นของภายในห้องและออกไปทางประตู   

    ที่หน้าต่างมีรอยนิ้วมือและรอยรองเท้าอยู่ บ่งบอกว่าคนร้ายเข้ามาทางนี้





    ใต้หน้าต่างมีโทรศัพท์ตกอยู่



    มีข้าวของกระจัดกระจาย



    มีรอยเลือดตรงนี้



    หลักจากถ่ายภาพเสร็จเราก็มาดูว่ามีหลักฐานอะไรบ้างที่เราจะเก็บไป เช่น รอยนิ้วมือ รอยรองเท้า โทรศัพท์มือถือ รอยเลือด เป็นต้น
    อาจารย์บอกว่าตอนระบุใน CSRF ต้องบอกด้วยว่าเก็บอะไรมา มาจากที่ไหน อาจมีวงเล็บระบุว่าของชิ้นนั้นสำคัญอย่างไร ไว้สำหรับทำอะไร ข้อความที่อยู่ในวงเล็บเป็นการคิดวิเคราะห์ของเรา เช่น
    OT 2 Blackberry from floor under window (track location? fingerprint? ID?)

    ข้อดีของการมีภาพถ่ายคือเราสามารถนำภาพไปวิเคราะห์ระหว่างรอผลเลือดหรืออื่นๆ ได้ 

    นอกจากนี้ยังสามารถถ่ายภาพที่ใช้ SmartWater ได้




    ความสนุกของวันนี้คือการได้ลงที่เกิดเหตุนี่แหละค่ะ ถึงจะเป็นเหตุการณ์จำลองแต่ก็ต้องใช้ความระมัดระวังมากๆ แถมยังต้องสังเกตว่าในห้องมีอะไรบ้าง

    สำหรับคาบต่อไปไม่มีภาพประกอบจากแล็บนะคะเพราะการถ่ายภาพมาลงถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายของที่นี่ รวมทั้งเป็นการไม่เคารพด้วย แต่อาจจะมีภาพจากสไลด์ที่อาจารย์ให้ดู มันเป็นเรื่องมานุษยวิทยาและโบราณคดี นั่นคือได้ลองตรวจสอบกระดูกมนุษย์ค่ะ และเป็นกระดูกจริงๆ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in