Creative Writing: Skills and Techniques Part 3
หายไปนานเลยค่ะเพราะเทอมหลังเรียนหนักมากด้วยเวลาอันน้อยนิด มาต่อวิชานี้กันให้จบดีกว่า
หลังจากเรียนเรื่อง Adaptation ไปคร่าวๆ แล้ว สัปดาห์ถัดมาอาจารย์ให้นำข้อมูล research ที่เราจะใช้สำหรับการเขียน assignment มาแชร์ให้เพื่อนในกลุ่ม โดยงานที่เลือกจะเป็นตัวบุคคล นักเขียนที่เราสนใจ หรือเป็นเนื้อหา ข้อมูลที่เราต้องศึกษาสำหรับการเขียนงานนั้นๆ
ออยล์เลือก John Douglas อดีต FBI ที่เขียนเรื่อง Mindhunter ค่ะ เนื่องจากออยล์เขียนนิยายนักสืบและอยากได้ข้อมูลในการนำมาสร้างคดีและฆาตกร นอกจากหนังสือเล่มนี้แล้วเขายังเรียน Crime Classification Manual ที่จะแบ่งอาชญากรรมเป็นประเภทต่างๆ หนังสือเล่มนี้มีในห้องสมุดมหาลัยด้วยค่ะ เลยอ่านออนไลน์ได้ สะดวกเลย
สัปดาห์ต่อมาก็เรียนเรื่อง rewriting, editing อาจารย์นำงาน Raymond Carver มาให้ดูค่ะ
เนื้อหางานของ Raymond Carver ตัวหนากับขีดฆ่าคือการอีดิทของ editor Gordon Lish
นอกจาก editor จะเปลี่ยนชื่อตัวละครแล้ว ยังตัดต้นฉบับทิ้งเป็นหน้าๆ อีกด้วย (นับเป็นเรื่องปกติเพราะถ้ามันไม่เกี่ยวข้อง เวิ่นเว้อ เยิ่นเย้อ editor ก็จะตัดและ/หรือปรับคำให้ใหม่ซึ่งนักเขียนบางคนอาจไม่พอใจกับการตัดแบบนี้เพราะเหมือนไม่ใช่งานตัวเองอีกต่อไป)
ตอนหลัง Raymond ก็ขอให้พูดถึง editor ของเขาเพราะเขารู้สึกว่างานที่ออกมามันไม่ใช่งานของเขาและเขารู้สึกไม่ดีกับมัน editor ต่างหากที่ทำให้งานของเขาออกมาดี รวมทั้งได้ขอให้ลงเนื้อหาก่อนการ edit ไว้ด้วย
อันนี้เป็นเนื้อข่าวที่อาจารย์แนบมาให้อ่าน https://www.thetimes.co.uk/article/how-raymond-carvers-editor-formed-his-pared-down-style-3rbvcpn77tt
งาน edit สำหรับบางคนอาจเป็นงานที่ยากโดยเฉพาะตัวนักเขียนเอง ตอนอ่านต้องอย่าอ่านด้วยการเป็นคนเขียนแต่ให้อ่านด้วยการเป็นคนอ่านหรือคนอีดิท ต้องใจแข็งกับตัวเอง อะไรไม่เกี่ยวข้องก็ตัดทิ้ง ตรงไหนแปลกๆ ก็เขียนใหม่
สัปดาห์หลังจากนั้นเป็นการปั่น assignment แล้วค่ะ เนื้อหา 4000 คำ คอมเมนต์งานตัวเองอีก 4000 คำ โดยอาจารย์ให้นำงานที่ได้ปรับปรุงแก้ไขหลัง formative assignment ไปให้อาจารย์ดู อาจารย์ก็ชมว่าปรับทุกอย่างตามที่อาจารย์บอกแล้วก็แนะนำเรื่อง ref. ว่าให้ลองหาบทความทางอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติมได้ ส่วนตัวคิดว่าเขียนคอมเมนต์งานนี่แหละที่ยาก เพราะมันต้องมีด้านทฤษฎีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย พวกหลักการเขียนต่างๆ วิธี แนวทาง เราเอามาจากไหน หรืออ่านเจองานของใครน่าสนใจแล้วนำมาเขียน ที่มันยากเพราะตามความจริงตัวเนื้อเรื่องมันจะเสร็จก่อนโดยที่ยังไม่ได้หาข้อมูลทฤษฎีอ้างอิงใดๆ นี่แหละค่ะ เขียนจบแล้วถึงมาหาดูว่าการเขียนของเรามันตรงอะไรยังไงบ้าง เช่นการเขียนนิยายนักสืบมันมีวิธียังไงบ้าง เราทำตามแบบไหนบ้าง เป็นต้น
หลังจากส่งงานไปแล้ว หนึ่งเดือนต่อมาคะแนนก็ออก เทียบกับงานที่แล้วก็เห็นถึงการพัฒนาของตัวเอง
คราวหน้าจะมาเล่าเกี่ยวกับวิชา Forming Fiction ค่ะ เป็นการเขียนนิยายโดยตรงเลย
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in