ณ ห้องอาหารปกติ
คุณได้เลือกเมนูอาหารของ “ฤดูร้อน” และเมนูฤดูหนาวประจำวันนี้ ได้แก่ “ทาโกะยากิ”
และทางร้านเรียนเชิญคุณไปยังบ้านเรือนแพริมซ้ายสุด พร้อมกับทำเรื่องปกติให้เป็นพิเศษ โดยระหว่างทางที่คุณเดินไปยังบ้านเรือนแพ คุณจะพบกับนก ปลา และลำธารเล็กๆ ก่อนที่ร้านเราจะนำอาหารมาเสริฟ
และเมื่อคุณทานเสร็จแล้ว คุณยังไม่อิ่ม คุณเลยตัดสินใจไปทานอาหารเมนูพิเศษกับทางร้านต่อ
ณ ห้องสมุด เดือนพฤศจิกายน
คุณได้ตอบคำถามและเลือกหนังสือที่คุณชอบจากชั้นวางหนังสือ และร้านเราเตรียมพร้อมกับการปรุงเมนูสุดพิเศษประจำหนังสือเล่มนี้ให้กับคุณ เพื่อคุณโดยเฉพาะ นั้นก็คือ “ชุดข้าวปั้นพิเศษ” ก่อนที่ทางร้านเราเชิญคุณไปยังบ้านเห็ดซ้ายมือสุด และระหว่างทาง คุณชมสวนที่สวยดอกไม้ขนาดใหญ่ที่สวยงาม
“พืชพันธ์ แสนดี อยู่ที่ใจ
ปลุกไว้ ปลูกได้ เป็นคนดี
มีเพื่อน มากมาย แสนก็มี
ชีวิต ดีเกิน กว่าบรรยาย”
เรื่องราวของแม่น้ำโขง
แม่น้ำโขง คือ แม่น้ำที่แบ่งประเทศออกเป็นประเทศไทยและประเทศลาว จริงอยู่ที่คนไทยสมัยก่อนชอบพูดส่อเสียดว่า “ไอ้ลาว” แต่ความเป็นจริงแล้ว ตามประวัติศาสตร์ เราทั้งสองประเทศเหมือนพี่น้องกัน เพราะแม้กระทั่ง ภาษายังใกล้เคียงกันเลย ดังนั้น อย่าทะเลาะกันเลย เพราะสร้างศัตรูง่าย แต่เป็นมิตรต่อกันมายาก
เรื่องราวของหนังสือเล่มนี้เริ่มต้น
{ณ ที่ริมแม่น้ำโขง}
ปุ้ม ลูกชายของครูและทหารคนหนึ่งที่อาศัยอยู่แถวริมแม่น้ำโขง เขาเป็นเด็กที่มีฐานะดี ถ้าเทียบกับครอบครัวอื่นๆ ดังนั้น เด็กๆในโรงเรียนเลยไม่อยากเป็นเพื่อนกับปุ้ม ทำให้ปุ้มเครียดและมาปรึกษาแม่และยาย (เพราะพ่อต้องออกไปทำหน้าที่ทหาร เลยไม่ได้อยู่ด้วยกัน) และเเม่กับยายก็ให้คำแนะนำที่ดี
วันหนึ่ง ปุ้มไปร่วมเล่นชักเย่อและปุ้มชนะ ปุ้มจึงได้เพื่อนคนหนึ่งมาชื่อ “ล้วน” วันหนึ่ง ขณะที่ปุ้มกับล้วนเล่นกัน “เขียว” คู่อริของล้วนมาท้าต้อย แต่ปุ้มเข้าไปห้ามศึก จนทั้งสามเป็นเพื่อนที่สนิทกัน เพื่อนทั้งสองของปุ้มว่ายน้ำเป็น ปุ้มตั้งใจฝึกฝนจนตัวเองว่ายน้ำเป็นเช่นกัน
วันเวลาผ่านไป ปุ้มต้องไปเข้าค่ายลูกเสือ และได้ไปช่วยเหลือเจ้าไก่ตัวหนึ่งไว้ แถมยังได้รู้จักเพื่อนมากมาย ปุ้มต้องใช้ทั้งความกล้าในการช่วยไก่และลูกของมัน
พ่อของปุ้มกลับมาบ้าน ทำให้ปุ้มดีใจมาก และพ่อของปุ้มพาปุ้มไปส่งโรงเรียน แถมสอนเรื่อง “มีน้ำใจ” และ “อย่าทะเลาะกับใคร” ไว้ ก่อนที่จะต้องลาไปทำงานเพื่อชาติต่อ
ขณะที่วันเวลาผ่านไปอยู่นาน วันหนึ่ง มีเด็กฝั่งลาวชื่อ “คำหล้า” มาพูดจาเยาะเย้ยคนฝั่งไทย ทั้งสองก็ทะเลาะกันถึงสุด แต่คำหล้าดันจมน้ำ และปุ้ม เขียว และล้วน เข้าไปให้ความช่วยเหลือจนทุกคนเป็นเพื่อนกัน และปุ้มมีเพื่อนเพิ่มเข้ามาจากคำสอนของยายและแม่
วันหนึ่ง วันที่ทุกคนรอคอยทั้งสองฝั่งคือไทยและลาวก็มาถึง วันนั้นก็คือวันที่ในหลวง (รัชกาลที่ ๙) และพระราชินีเสด็จ ทุกคนพร้อมใจกันมากราบท่าน โดยยายของปุ้มให้ในหลวงท่านเยียบตรงผ้า และนำรอยเท้านั้นกราบไหว้บูชาเรื่อยมา จนถึงแม้ว่า ยายจะตาย แต่ที่บ้านก็บูชาเรื่อยมา
และเมื่อวันเวลาผ่านไป หลายๆอย่างเปลี่ยนไป แต่มิตรภาพของทุกคนก็ไม่เปลี่ยนและเพื่อนๆทุกคนที่อ่านเล่มนี้จบ จะพบกับความพอดีของความน่ารักของมิตรภาพของเด็กสองฝั่งแม่น้ำโขงค่ะ
ขอกระซิบสิ่งที่ดีในหนังสือ
“เราอยากมีเพื่อน เราก็ต้องให้ความเป็นเพื่อนแก่เขาก่อน แล้วเราก็จะได้เพื่อน”
“คำหล้า ยายกูสอนว่า แผ่นดินไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของฟ้า ของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ท่านให้พวกเรามาทำกิน ให้เราปลูกบ้านได้อยู่อาศัย มึงก็ไหว้ในหลวงของกู ไอ้เตียนมันก็ไหว้เหมือนกัน แล้วท่านเป็นในหลวงของพวกมึง ... แล้วทำไมมึงสองคนจะเป็นเพื่อนกันไม่ได้”
“ลูกเสือที่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมรัชกาลที่ ๖ ทรงวางรากฐานเอาไว้นั้นเป็นสิ่งที่ดีแน่นอน เป็นการฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัย กล้าหาญ เสียสละ แต่กาลเวลาล่วงเลยผ่านมา อุดมการณ์ของลูกเสือถูกละเลย ...”
“วันเวลาเปลี่ยนไป ลาวกับไทยตีกันบ้าง ตึงๆใส่กันบ้าง แต่น้ำใจไมตรีระหว่างเด็กฝั่งลาวกับฝั่งไทยเมื่อครั้งกระโน้นไม่กระเทือนขึ้นลงตามสถานการณ์ ความเป็นพี่น้องสืบสายเลือดเดียวกันอยู่เหนือความแตกต่างทางการเมือง ... ยายพูดว่าลูกแม่น้ำโขงด้วยกัน มันผิดใจกันได้ไม่นานหรอก”
“แม่น้ำโขงยังไหล น้ำใจของลูกแม่น้ำโขงยังไม่จาง ... แม่น้ำโขงยังล่องไหลกาลเวลาเคลื่อนผ่าน จะให้ทุกอย่างหยุดนิ่งคงไม่ได้”
ความสำคัญต่อแม่น้ำโขง
แม่น้ำโขงดุจดั่งแม่น้ำสายสำคัญที่เลี้ยงชีวิตของคนทั้งสองฝั่ง ไม่ว่า “ฝั่งไทย” และ “ฝั่งลาว” และเลี้ยงชีวิตความเป็นอยู่ไปมาของคนทุกคน เลี้ยงให้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี เลี้ยงอาหารการกินให้ และเลี้ยงให้รู้จักมิตรภาพของทั้งสองประเทศเหล่านั้น
[หนูอยากบอกแม่น้ำโขงว่า
“แม่น้ำโขงเลี้ยงชีวิตให้คนเหล่านั้นได้ดี”]
LOOK A BREATHE
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in