เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Look a Breathe (Series 1 - 2)nimon
ราโชมอนและเรื่องสั้นอื่นๆ

  • รูปภาพนี้ เมื่อเราจับเซียมซีได้เบอร์ที่ ๑๙

    ชีวิตของคนเราก็เท่านี้ ตายไปก็นำอะไรไปไม่ได้



    “เสี่ยงทายใบเซียมซี 

    ใบนี้พบกับชีวิตที่มืดมน

    กำลังดำเนินเดินผิดทาง

    และดำดิ่งสู่ความมืดมิด”


    “ใบสิบเก้า บ่งบอก ถึงบางว่า

    ชีวิตลา ความถูก เดินทางผิด

    ให้ทางทุกข์ แก่ท่าน ปิดไม่มิด

    ท่านถูกริด รอนซึ่ง เสรีภาพ


    ให้ทุกข์แล้ว ทุกข์นั้น ย่อมถึงตัว

    ชีวิตรั่ว ดุจดั่ง เสียงน้ำไหล

    เปรียบไปแล้ว ไม่ต่าง จากอะไร

    ชีวิตได้ จากลา นิจนิรันดร์”


    รูปภาพนี้ อะคุตะงะวะ นักเขียนที่แม้กระทั่งโซเซกิยังชม


         หลายคนคงเคยอ่านราโชมอนที่คึกฤทธิ์ดัดแปลงผลงานของคุณอะคุตะงะวะจากบทภาพยนตร์ และหลายคนคงคิดว่า เรื่องจริงเป็นแบบไหนและนักเขียนคือใคร ประวัติความเป็นมาอย่างไร วันนี้เราตัดสินใจขอเล่าคร่าวๆสำหรับคนยังไม่รู้ว่า คุณอะคุตะงะวะเป็นยอดปรมาจารย์ที่เขียนเล่าเรื่องสั้นที่ได้ใจความที่สนุกและสะท้อนถึงสังคมและจิตใจมนุษย์ได้เป็นอย่างดี และหลายคนมองว่า เขาดูวิปลาสจากจิตใจของเขาที่เจ็บปวดจากการที่มีแม่เสียสติ และเขาก็จบชีวิตตัวเองลงด้วยวัย 35 ปี โดยการตัดสินใจฆ่าตัวตาย


    รูปภาพนี้ หนังสืออีกเเบบของเรื่องนี้


         เรามั่นใจว่า หลายคนคงจะคิดว่า เราแย่มากที่มาพูดถึงเรื่องฆ่าตัวตาย คล้ายกับจะชี้นำคนไปทางผิดหรือเปล่า แต่เปล่าเลย ที่เราต้องตัดสินใจพูดเรื่องนี้ก่อนจะเริ่มเล่าเนื้อหา เพราะจะมีตอนหนึ่งในคำนำที่กล่าวว่า


    “ฉากนรกเป็นเรื่องสั้นที่สะท้อน

    จิตใจสุดท้ายของเขาก่อนเขาจะตาย”


         เราตัดสินใจอธิบายเรื่องนี้ให้ทุกคนอ่านก่อนเพื่อประกอบการเข้าใจว่า ทำไมจิตใจของคนเราถึงเป็นได้ถึงขนาดนี้ เราพบว่า งานเขียนตอนสุดท้ายนั้น ทำให้เราพบว่า เขากำลังต่อสู้กับตัวตนอีกตัวหนึ่งของเขาที่กัดกินเขาอยู่ นั้นคือ ชื่อเสียงของเขาที่กำลังดิ่งลง การพูดจาดูถูกจากคนรอบข้าง ความไม่ยอมรับงานเขียนเขาจากคนรอบข้าง และเขาคงที่จะยอมรับมันได้โดยยากว่า ทุกอย่างเปลี่ยนไปแล้ว และคงมีอีกหลายอย่างเช่นกันที่อยู่ในใจของเขา


    รูปภาพนี้ หนังสือหลากหลายรูปแบบ


    “เขาเป็นนักเขียนที่หาความหมายในสิ่งที่เขาเขียน”

    อนุสรณ์กล่าวถึงอะคุตะงะวะ


         คนใช้ซามุไรถูกขับไล่ออกมาจากบ้าน และรออยู่ที่ประตูราโชมอน ประตูผี เพราะเป็นประตูที่คนเป็นนำคนตายมาปล่อยที่นี้ เพราะโรคระบาด และขณะที่คนใช้ซามุไรคิดเป็นขโมยนั้น ดันเจอกับยายคนหนึ่งขโมยผมศพไปทำช้อง โดยยายคนนั้นให้เหตุผลว่า ศพหญิงคนนี้ตอนมีชีวิตอยู่ หลอกลวงคนอื่น โดยนำเนื้องูมาหลอกขายแทนเนื้อปลาไหล ดังนั้น เธอขโมยของศพของคนแบบนี้ก็ไม่ผิด ดังนั้น คนใช้ซามุไรตัดสินใจขโมยชุดกิโมโนของหญิงแก่ไปในที่สุด (คงจะให้คิดต่อว่า งั้นขโมยของจากยายแก่แบบนี้ก็คงไม่ผิดเช่นกัน แต่เพื่อนๆจะเห็นว่า เรื่องราวเป็นคนละเรื่องกับราโชมอนของคึกฤทธิ์ ปราโมช)


         ส่วนตอนต่อไปคือ ในป่าละเมาะ คือ เรื่องเล่าของราโชมอนที่คึกฤทธิ์นำมาเขียนค่ะ แต่เราขอบอกว่า เรื่องเล่ามีส่วนคล้ายคลึงกัน แต่บางเรื่องมีความต่างกันอยู่มากเช่นกัน ซึ่งแนะนำให้เพื่อนๆไปหาอ่านดูว่า ต่างกันตรงไหนค่ะ (ไม่ขอสปอยค่ะ)


    รูปภาพนี้ หนังสือหลากหลายรูปแบบ


         เรื่องสั้นจมูกเป็นเรื่องสั้นที่อาจารย์โซเซกิชมเขาทีเดียวว่า เป็นเรื่องสั้นที่เขียนดีมากและเขาเป็นนักเขียนเรื่องสั้นที่เขียนได้สนุก ซึ่งเรื่องราวทั้งหมด เริ่มต้นจากที่ พระรูปหนึ่งมีจมูกยาวและชอบโดนหัวเราะเยาะ ก็เลยอยากมีจมูกสั้น แต่เมื่อตัวเองมีจมูกสั้น ก็ยิ่งโดนหัวเราะเยาะมากขึ้นไปอีก เลยเกิดขัดแย้งในตัวขึ้นมาว่า ไม่อยากมีจมูกสั้น (ปกติ) แล้ว ดังนั้น เมื่อวันหนึ่งที่มีจมูกยาวกลับมาปกติก็เกิดดีใจขึ้น (คล้ายกับคนที่ไม่พอใจในสิ่งที่เรามี และนำคำตัดสินจากคนภายนอกต่อรูปลักษณ์ของเรามาเป็นตัวตัดสิน)


         และสุดท้ายคือเรื่องเล่าของฉากนรก ที่ว่าด้วยว่า นักวาดภาพชื่อดังผิดมนุษย์คนหนึ่งต้องสูญเสียลูกสาวที่รักไปให้ชายผู้หนึ่งโดยชายผู้นั้นขอลูกสาวไปเป็นเมีย และชายผู้นั้นเรียกให้เขามาวาดภาพฉากนรก ซึ่งเขาจะวาดได้ก็ต่อเมื่อเห็นความจริง โดยที่เขาเริ่มจำลองเหตุการณ์โดยใช้คนจริงคือลูกศิษย์เขามาถูกมัดมือมัดเท้า ใช้งูและนกจิกกัดกิน เพื่อให้บรรเลงภาพฉากนรกออกมาให้สมจริง


    รูปภาพนี้ หนังสือออกแนวภาพวาด


         “พอเราอ่านมาถึงตรงนี้ เราเริ่มรู้สึกสะอิดสะเอียนในความวิปริตของนักวาดภาพคนนี้ และฉายถึงภาพของความโลภของมนุษย์ที่มนุษย์เราอยากมี อยากเป็น อยากได้หลายอย่าง แต่เมื่อไม่เป็นอย่างที่คาดหวังก็เกิดความขัดแย้งในใจขึ้นมา


         และหลายต่อหลายครั้งที่บางคนทำเป็นหวังดีต่อเรา แต่จริงๆก็คือหวังร้าย และให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นก็ถึงตัว แถมเป็นทุกข์ใหญ่หลวงที่เกิดขึ้นกับนักวาดภาพที่พบจุดจบกับเรื่องที่ต้องพรากจากสิ่งที่รักที่สุดไป


         ส่วนอีกเรื่องก็คงหนีไม่พ้นกับการหลงทางในทางที่ผิด เข้าใจผิด คิดว่าตัวเองทำในสิ่งที่ถูก แต่เปล่าเลย หลายครั้งที่หลายคนทำผิดก็ยังหลงกลอยู่ในเขาวงกตแห่งความผิดที่หลุดออกมาไม่ได้ คล้ายกับจิตใจของคุณอะคุตะงะวะที่พาตัวหลุดพ้นจากเขาวงกตแห่งความคิดนี้ไม่ได้”


    รูปภาพนี้ ปิดท้ายด้วยหนังสืออีกเเบบของเรื่องนี้


    “คนเราทุกวันนี้ดิ้นรนไขว้คว้าสิ่งที่ไม่มี และสุดท้าย 

    ทุกคนก็จะได้ในสิ่งเดียวกัน คือไม่ได้อะไรเลย”

    ในขณะที่เราอ่านเรื่องนี้ใกล้จบ 

    เรานึกถึงคำพูดนี้ของท่านพุทธทาสขึ้นมาทันที


         และสุดท้าย เจ้านักวาดภาพก็เสนอภาพฉากนรกภาพสุดท้าย ซึ่งก็คือ ภาพผู้หญิงชั้นสูงถูกเผาทั้งเป็นในรถกับคนผู้นั้น และคนผู้นั้นก็ยิ้มแสยะก่อนจะบอกว่า จัดให้เรียบร้อยแล้ว และเมื่อนักวาดภาพเห็นก็ต้องช็อกเพราะคือลูกสาวสุดที่รักของเขานั้นเองที่ถูกเผาเพื่อการเขียนภาพวาดสุดท้ายนี้ เขาแทบช็อกไปจนเกือบจะหยุดหายใจและพยายามไปช่วย แต่ไม่สำเร็จ และอยู่ดีๆ เขาก็ยิ้มและเขาก็วาดจนเสร็จ ก่อนจะตัดสินใจลาโลกนี้ไปเช่นกัน



         เราพบว่า เป็นหนังสือเกี่ยวกับอะไรกันแน่ สื่อไปเพื่ออะไร อ่านไปแล้วได้สาระอะไร แต่จริงๆแล้ว ถ้าเราอ่านแบบลึกๆ เรากลับพบว่า คุณอะคุตะงะวะวิปลาสจริงๆหรอ เพราะเขาเหมือนคนปกติที่ถูกคนโลภ โกรธและหลงครอบงำจนเขาเขียนงานเขียนแบบนี้ออกมา และเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า


    “เราอย่าตัดสินคนอื่นด้วยความคิดของตัวเราเอง

    ถ้าเรายังไม่รู้จักหรือเข้าใจเขาเพียงพอ”


    Look A Breathe

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in