“มานินทาความทุกข์กันเถิด”
-1-
อุปทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์ เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวน่ารักของหลายๆครอบครัว ที่พบเจอความทุกข์ที่แตกต่างกันไป และแต่ละคนครอบครัวมีการจัดการความทุกข์กันอย่างไร
“อุปทาน คือ ความยึดมั่น ถือมั่น”
-2-
รูปขันธ์ ร่างกายที่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน เจ็บป่วยและตายในที่สุด โดยเฉพาะความกลัวตาย อย่างเช่น มีเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดกับครอบครัวหนึ่งในหนังสือ ที่แม่กำลังจะตาย และแม่พูดกับลูกว่า แม่เตรียมตัวตายแล้ว ซึ่งบ่งบกถึง ธาตุขันธ์ที่เรียกว่า รูป นี้ นั้นไม่จีรังยั่งยืนหรือแน่นอน สุดท้ายแล้ว มันก็สลายไป
ยกตัวอย่างเช่น
พ่อของเราเตรียมตัวตายตั้งนานแล้ว เพราะพ่อของเราท่านอยากเป็นอาจารย์ใหญ่ ดังนั้น เมื่อถึงคราวความตายมา พ่อเราดูไม่กลัวในความตายนั้น และเตรียมพร้อมตลอดเวลา จนในที่สุด พ่อได้เป็นอาจารย์ใหญ่
-3-
เวทนาขันธ์ ความรู้สึกทุกข์ สุข ดี ไม่ดี พอใจ และไม่พอใจ อย่างเช่น มีเหตุการณ์หนึ่งในหนังสือ ที่พ่อลืมกระเป๋าตังค์ เพราะไม่มีสติ และเกือบไปทะเลาะกับอำเภอ เพราะไม่ยอมให้แจ้งความ ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ คือ ความไม่พอใจและความไม่มีสติ เพราะสุดท้ายแล้ว กระเป๋าตังค์อยู่ในรถ
“เมื่อใดติดสุข ทุกข์ตามมา
เมื่อใดไม่ติดสุข ทุกข์ก็ไม่ตามมา”
ยกตัวอย่างเช่น
มีบางช่วงในชีวิตที่เรามีความสุขมากๆ และความสุขนั้นอยู่ในระยะสั้น แต่ตอนที่เราติดอยู่ในมัน เราไม่สามารถที่จะออกจากสุขนี้ได้ เพราะเรากลัวว่าความสุขจะหายไป เราพยายามที่จะดึงดันให้มันอยู่กับเรา แต่แล้วก็เป็นไปไม่ได้ เพราะมันมลายสิ้นไป พร้อมกับความทุกข์อย่างมหันต์
-4-
สัญญาขันธ์ การจำสิ่งที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวทั้งหมดที่ผ่านมาในชีวิต ที่มีทั้งทุกข์และสุข ตัวนี้ดูเหมือนง่ายแต่ทำให้ลืมยาก เพราะมันคือ สิ่งที่เราย้ำคิดย้ำทำอยู่กับการจดจำเรื่องๆหนึ่งตลอดเวลา อย่างเช่น มีเหตุการณ์ในหนังสือ คุณแม่ชอบลืมกระเป๋าตังค์ และคุณแม่ทำทุกวิถีทางที่จะให้จดจำให้ได้ไม่ว่าพูดเสียงดัง ติดป้าย เขียนจดบันทึก แต่ยังลืม เพราะจริงๆแล้ว คือ การขาดสตินั้นเอง
ยกตัวอย่างเช่น
เราเคยทุกข์กับความคิดเรื่องหนึ่งนะ ถึงแม้มันจะผ่านไปแล้ว แต่เรายังจดจำและนำกลับมาคิดซ้ำไป ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทุกข์แล้วทุกข์เล่า ในไม่ช้า เราตัดสินใจเลิกคิดและเราพบว่า การยกภูเขาออกจากอกนั้นสบายแบบนี้นี้เอง
-5-
สังขารขันธ์ ความคิดปรุงแต่ง โดยสามารถแยกแยะสิ่งที่รู้สึกและจดจำได้ อย่างเช่น มีเหตุการณ์หนึ่งในหนังสือ เขาเผลอไปฆ่างู และเขาคิดว่า ไม่ได้ตั้งใจนะ และคิดว่า บาปไหมล่ะท่าน โดยที่เขาพยายามตั้งใจที่จะไม่ฆ่างู แต่เผลอฆ่างูไปแล้ว ซึ่งก็ทำผิดศีลข้อ 1 ไปแล้วล่ะ หากคิดมันก็ผิด แต่ถ้าเมื่อคิดไปเรื่อยๆ เราก็ทำบาปไปเรื่อยๆ เราสู้เปลี่ยนความคิด ว่า เริ่มต้นใหม่ เราจะไม่ทำบาปอีก และเมื่อคิดได้เท่านั้น และไม่ทำก็จะสำเร็จในอนาคต
ยกตัวอย่างเช่น
เพื่อนเคยเล่าให้ฟังว่า ยายไม่เคยฆ่าสัตว์เลย และยายดันเผลอไปฆ่ามดหนึ่งตัว เพราะพลั้งเผลอ ในไม่ช้า ยายก็คิดแล้วคิดอีกจนตาย และมีสุนัขตัวหนึ่งมาเกิดที่ใต้ถุนบ้าน และหมอดูดันทักว่า ยายคิดเรื่องฆ่ามดมากเกินไป จนไปเกิดเป็นสุนัขตัวนี้ ซึ่งเรื่องนี้ คือจริงหรือไม่จริงก็ไม่รู้ แต่เพื่อนก็เชื่อมาก และบอกว่า เราต้องระวังนะ ไอ้ตัวความคิดนี้ น่ากลัวนัก
-6-
วิญญาณขันธ์ ความคิดปรุงแต่งอารมณ์ผ่านตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ อย่างเช่น มีเหตุการณ์หนึ่ง ที่ภรรยาบอกผัวว่า คุณอยากให้ฉันผอมใช่ไหม ฉันจะอดข้าวเย็นเป็นเวลา 3 เดือน ส่วนฉันไม่อยากมีสามีขี้เหล้า งั้นคุณก็ต้องอดเหล้าให้ได้ 3 เดือนเหมือนกัน แล้วหลังจากนั้น ทั้งสองก็ตั้งใจทำจนสำเร็จ ในความเป็นจริงแล้ว ความอยากเหล้า มันคือ จิตใจของตัวเราเองที่เราอยาก ดังนั้น ถ้าเราเลิกตัณหาคือความอยากได้แล้ว เราสามารถเลิกได้
ยกตัวอย่างเช่น
เราเคยถือสัจจะอย่างหนึ่งในชีวิตเพราะเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้เราต้องถือสัจจะตลอดชีวิต และไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราก็จะตั้งใจ จะไม่ทำเด็ดขาด และทุกๆครั้งจากการถือสัจจะนี้ ทำให้เรามีสติและไม่ทำผิดอีกเลยเช่นกัน
-7-
ในเล่มบางๆนี้ มีเรื่องราวทั้งหลายที่วนเวียนไปมาอยู่กับชีวิตของเราทุกคนที่หนีไม่พ้นขันธ์ทั้ง ๕ ก้อนนี้ได้เลย
“จงทำงาน ทุกชนิด ด้วยจิตว่าง
ยกผลงาน ให้ความว่าง ทุกอย่างสิ้น
กินอาหาร ของความว่าง อย่างพระกิน
ตายเสร็จสิ้น แล้วในตัว แต่หัวที
ท่านผู้ใด ว่างได้ ดั่งว่ามา
ไม่มีท่า ทุกข์ทน หม่นหมองศรี
ศิลปะ ในชีวิต ชนิดนี้
เป็นเคล็ดที่ ครคิดได้ สบายเอย”
ท่านพุทธทาสภิกขุ
5 เหตุผลที่เลือกอ่านหนังสือเล่มนี้
1. การเตรียมตัวตาย
ยิ่งไม่อยากตายเท่าไร
ก็ยิ่งกลัวตายเท่านั้น
ยิ่งกลัวตายเท่าไร
มันก็เป็นทุกข์เท่านั้นแหละ
- พุทธทาสภิกขุ -
“หากคนเรามีสติอยู่ตลอดเวลา
ความตายก็ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
เพราะเราได้ตั้งสติระลึกรู้ตลอดเวลา
เมื่อไหร่ที่เราไม่ทำความชั่ว
จิตใจเรามีแต่สิ่งดีงาม
ความตายก็ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด”
หมั่นทำความดีเอาไว้ให้เป็นนิสัย
เมื่อถึงวันสุดท้ายของชีวิต
ก็จะไม่กลัวตาย
เพราะรู้ว่าเมื่อตายแล้ว
จะไปอยู่ไหน
เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องกลัวตาย
- หลวงพ่อสุดใจ ทันตมโน -
2. การรู้จักอารมณ์ตัวเอง
อย่าตกเป็นทาสของอารมณ์ เราต้องควบคุมมันให้ได้
“อารมณ์เป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือ
โดยเฉพาะอารมณ์ที่เต็มไปด้วยความโลภ
ความโกรธและความหลง
เมื่อเรารู้เท่าทันอารมณ์เหล่านี้
เราจะไม่ตกเป็นทาสของมัน”
3. การเลิกย้ำคิดในความทุกข์
ชีวิตไม่มีอะไรแน่นอน โดยเฉพาะความทุกข์ เดี่ยวมันก็ผ่านไป
“ความทุกข์และความสุขคือสิ่งที่เดี่ยวมันก็ผ่านไป
ไม่มีอะไรอยู่นาน
ดังนั้น ถ้าเรามัวย้ำคิดอยู่กับความทุกข์นี้
ก็ยิ่งเพิ่มพูนความทุกข์มากขึ้น”
4. การเลิกในความปรุงแต่ง
ความปรุงแต่งต่อความทุกข์และความสุขนั้นไม่มีที่สิ้นสุด
“เราทุกคนชอบปรุงแต่งความรู้สึกทุกข์ไปเรื่อยๆ เครียด กังวลไปเรื่อยๆ จนไม่สามารถหลุดพ้นจากความปรุงแต่งเหล่านั้นไปได้ นอกเสียจาก
เราต้องเป็นผู้หยุดการปรุงแต่งนั้นด้วยตัวเอง”
5. การเลิกเชื่อความรู้สึกตัวเอง
ความรู้สึกตัวเองเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือและไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
“เมื่อไรที่เรายึดมั่น ถือมั่น ในความรู้สึกที่ทำร้ายตัวเอง
ที่เต็มไปด้วยความโลภ ความโกรธ และความหลง
และเราลุ่มหลงมันมาก จนทำร้ายตัวของเราเองนั้น ย่อมทำให้เราทุกข์ใจ แต่เมื่อเราเลิกเชื่อความคิดนี้
เราจะพบทางสว่างคือความสุข”
เราเรียนรู้ที่จะเลิกคิด เลิกพูด เลิกทำในสิ่งที่ผิด และเรียนรู้ที่จะคิด จะพูด จะทำในสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น
“เราควรเลิกในสิ่งที่เลวร้าย
ก่อนเราจะเสียความเป็นคนไป”
"เราควรเลิกทุกสิ่งที่ผิด
หยุดความคิดทำชั่วไว้แค่นี้
คิดแต่ต้องทำความดี
ทำสิ่งนี้ให้ต้นไม้โต
ปลูกต้นไม้ใดจะเป็นผลนั้น
ปลูกต้นฉันเป็นต้นฉัน
ปลูกต้นมะลิได้มะลิพลัน
ปลูกต้นขันได้ความขบขัน"
“ขอบคุณสำหรับที่ทุกคนอ่านเรื่องเล่าสู่กันฟัง
และมาขบขันให้กับชีวิตที่จะดีขึ้นในทุกๆวันค่ะ
ถ้าเราเลิกสิ่งที่ผิดจริงๆ”
Look a Breathe
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in