หลายคนที่มีรถยนต์ส่วนตัวเป็นของตัวเองอาจจะคุ้นเคยกับ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือที่รู้จักกันอีกอย่างหนึ่งว่า ประกันรถยนต์ภาคบังคับ ที่เราต้องต่อตามกฎหมายอยู่ทุกปี ถึงอย่างนั้นเจ้าของรถบางคนก็ยังคงสับสนความแตกต่างระหว่างประกันรถยนต์ภาคบังคับและภาคสมัครใจ แต่เพื่อนๆ รู้ไหมว่า ที่จริงแล้ว การทำพ.ร.บ กับทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก แต่จะแตกต่างกันอย่างไร ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจจะมีความคุ้มครองแบบไหนที่เราหาไม่ได้จากพ.ร.บ. กันบ้าง คุ้มกับค่าเบี้ยประกันที่เสียไปเพิ่มเติมไหม ไปดูกันเลย
พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง
ก่อนอื่น เรามารู้จักกันก่อนว่า พ.ร.บ. รถยนต์ให้ความคุ้มครองอย่างไร โดยประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ก็คือคือ ประกันรถยนต์ที่กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถทุกคันมีหน้าที่ต้องทำตามความคุ้มครองที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้กำหนดขึ้น
การทำประกันรถยนต์ภาคบังคับนี้ แน่นอนว่า เป็นกฎหมายที่รถยนต์ที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งต้องทำทุกคัน เพื่อเป็นหลักประกันได้ว่า ผู้ขับขี่และคู่กรณีจะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลยามเกิดอุบัติเหตุ โดยมีการกำหนดวงเงินคุ้มครองเอาไว้อย่างชัดเจนตามกฎหมาย โดย พ.ร.บ. รถยนต์จะครอบคลุมความคุ้มครองดังนี้
- ค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
- ความเสียหายต่อร่างกาย 30,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร 35,000 บาท
- ค่าเสียหายส่วนเกิน กรณีพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิด
- ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าชดเชยรายวัน 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน (กรณีต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล)
- จำนวนเงินรวมทั้งหมดที่จ่ายได้ รวมกันสูงสุดไม่เกิน 504,000 บาท
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in