การห่มสะพัก เป็นรูปแบบการแต่งกายที่สะท้อนให้เห็นความประณีตบรรจงของสตรีชาวสยามในอดีต โดยการห่มสะพักนั้น หมายถึง การห่มผ้าทับลงไป บนสไบอีกชั้นหนึ่ง หรืออีกอย่าง คือ การห่มทับลงไปบนเสื้อ ซึ่งผ้าที่ไม่สัมผัสกับผิว เราจะเรียกว่า "ผ้าสะพัก" ทั่วไปแล้วสตรีชาววัง หรือที่เรียกว่าฝ่ายในจะห่มสะพัก ก็ต่อเมื่อเข้าร่วมในงานพระราชพิธีที่มีการแต่งกายเต็มยศเท่านั้น
ผ้าสะพักมักนิยมใช้ผ้าตาดทอง ซึ่งเป็นผ้าที่ทอด้วยไหม กับเส้นทอง ที่เป็นแล่งเป็นริ้วเล็กๆ ที่เรียกว่า "ตาดทอง" ถ้าเป็นเงินก็เรียกว่า "ตาดเงิน" และท้ายสุดผ้าสะพักก็ยังสามารถบ่งบอกถึงบรรดาศักดิ์ของคนผู้สวมใส่ได้อีกด้วย ห่มตาด คือ คือการนำสไบมาห่มที่ลำตัวแล้วทับด้วยผ้าสะพักตาดทองที่มีการปักประดับตกแต่งลายด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ อีกชั้น เวลาเส้นโลหะดำเขาจะใช้สารไซยาไนช์มาถูขัดให้เงางามเหมือนใหม่
'สะพัก' ในธรรมเนียมสมัยโบราณที่แสดงถึงความสุภาพต่อธารกำนัล เนื่องจากสมัยอดีตยังไม่มีชุดชั้นใน จึงใช้การห่มสไบมาปิดส่วนที่เป็นสำคัญ ห่มสไบเพียงชิ้นเดียวในการออกงาน จะถือว่าไม่มิดชิดและไม่สุภาพจึงห่มสะพักทับอีกชั้นนอกจากนี้การห่มผ้าสะพักยังแสดงถึงสถานะทางสังคมของผู้สวมใส่อีกด้วย
ลักษณะการแต่งการของคนโบราณจะมีความละเอียดอ่อนในการนุ่งห่มและเลือกสีผ้าจะเลือกใช้สีผ้าท่อนล่างกับท่อนบนตัดกันโดยยึดสีที่เป็นมงคลประจำวันตามความเชื่อที่นิยมกัน เครื่องประดับที่นิยมใช้คู่กัน เนื่องด้วยเป็นเครื่อง ประดับที่สมฐานะเพื่อแสดงถึงความหรูหรา ความสวยงามตามรสนิยมของสตรีชั้นสูงของไทยในสมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน เพิ่มความเป็นประกายที่เจิดจรัสด้วยเครื่องทอง ไม่ว่าจะเป็นเข็มขัดทองพร้อมปั้นเหน่งฝังพลอยประดับเพชร สร้อยทับทรวง กำไลข้อมือ สังวาล สร้อยตัว เพื่อเพิ่มความสง่างามของผู้สวมใส่
พิษจากสารไซยาไนด์ อาการเฉียบพลันทางเข้าสู่ร่างกายนั้น สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางการหายใจ ทางการกิน และซึมผ่านผิวหนัง หากได้รับเข้าไปปริมาณมากจะมีฤทธิ์ยับยั้งการหายใจในระดับเซลล์ทำให้เซลล์ถึงแก่การตายได้อาการระยะยาว การสัมผัสสาร thiocyanate ในระยะยาว อาจก่อให้เกิดพิษเรื้อรังได้มีอาการ แขนขาอ่อนแรง ปวดศีรษะ และโรคของต่อมไทรอยด์ ซึ่งมีรายงานในคนงานโรงงานแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และคนงานขัดเครื่องเงิน พอสวมใส่ไปนาน ๆ สารนี้ก็จะซึ่มลงไปทางเหงื่อ และนี้เป็นอีกเห็นผลหนึ่ง ที่ทำให้ผู้มีบรรดาศักดิ์มีอายุเฉลี่ยสั้น 30-40 ปี
#ตุ๊ดกูรู : ToodGuRu
เรื่องบางเรื่องไม่ต้องพึ่ง “กูรู” แค่เป็น “กูรู้” ก็พอ
#สาระ #ความรู้ #ตุ๊ดกูรู
Twitter : https://twitter.com/ToodGuRu
Facebook : https://www.facebook.com/toodguru
Maggang : https://toodguru.maggang.com/
Minimore : http://minimore.com/b/RcoPh
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in