© สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับเพิ่มเติม) พ.ศ. 2558 เผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการเท่านั้น
ข้อเขียนนี้เป็นส่วนหนึ่งในหนังสือ “เขียนเล่นเป็นเรื่อง” รวมผลงานสร้างสรรค์ของนิสิตภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผลงานลำดับที่ 3 ในหนังสือชุด “วิชญมาลา” รวมผลงานด้านภาษาและวรรณคดีไทย
จัดทำโดย ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563
อ่านฉบับ E-book ได้ที่ https://www.mebmarket.com/ebook-134349-เขียนเล่นเป็นเรื่อง-รวมผลงานสร้างสรรค์ของนิสิตภาควิชาภาษาไทย
ภาพ: ปารณีย์ ประภาพรพิพัฒน์ในนิมิต
อุชเชนี (2496)
มองฟากฟ้ารัตติกาลในวันนี้
ภูริทัต หงษ์วิวัฒน์ (2562)
นิสิตชั้นปีที่ 4
อัจฉริยะ--- เธอนี้จะเป็นใครฉันไม่แจ้ง แต่เธอคือโค้งรุ้งอันรุ่งแรง ผู้สื่อแสงความหวังมายังเรา เธอปราโมทย์โปรดแลแต่ตาหวาน ด้วยดวงมานแช่มชื่นรื่นเสลา เธอเหินหาฟ้าเขียวเที่ยวบรรเทา ความหงอยเหงาด้วยศิลป์พิณพิไร เธออบอุ่นกรุ่นไกวอยู่ในเมฆ เหมือนปักษาฟ้าเสกให้สุขใส พร้อมบรรเลงเพลงขับแจ้วจับใจ แต่ห่างไกลเกินเพ้อชะเง้อมอง อย่ามัวเหินเพลินเหาะเลาะลมเหลิง เมื่อขุมเพลิงคลอกหล้าพาสยอง มรสุมรุมสวนป่วนทํานอง จะพลิกท้องธรณินทร์ให้ภินท์พัง เสียงโอดโอยโหยหาผู้มาช่วย ให้รอดม้วยจากขุมที่คุมขัง เธอคือธารหวานล้ำฉ่ำพลัง จงรินหลั่งอมฤตช่วยชิดชู ลืมลีลาฟ้าแจ๋วอันแพร้วเพริศ ลืมเสียเถิดความสราญเบิกบานหรู มาเหลียวไล้ใจเข็ญช่วยเอ็นดู เข้ากอบกู้ขวัญชื่นคืนประชา เธออาจล้มจมปลักทุลักทุลี เขาขยี้เหยียบรวดปวดหนักหนา พิสูจน์ไปว่าเธอใช่สกุณา หากเป็นสิงห์หยิ่งกล้าท้าคํารณ.
อุชเชนี
เมื่อพุทธศักราชนั้น “เธอ” ถูกกดขี่ ย่ำยีเหยียดหยาม กลายร่างเป็นเหยื่อของอสูรใจมาร ชาวนา ผู้ใช้แรงงานคนยากไร้ ต้องเสียเลือดเนื้อเรือกสวนไร่นา มิตรสหาย และความเป็นคน ต้องหลั่งน้ำตาแห่งความแพ้พ่ายแก่ผู้มีอิทธิพล
เมื่อพุทธศักราชนั้น “เขา” กดขี่ ย่ำยี เหยียดหยาม กลายร่างเป็นอสูรใจมาร นายทุน พ่อค้า ผู้เรืองอำนาจ หัวเราะร่าเพราะชัยชนะเหนือคราบน้ำตาแห่งความลำเค็ญ
ฉันตอบคำถาม ในพุทธศักราชนี้...นววิถีแห่งยุคสมัย เธอ เขา เรา ฉัน ไม่มีเหยื่อ ผู้ล่า หรือผู้กอบกู้โดยสัมบูรณ์ สัมพันธภาพล้วนแต่ตั้งอยู่บนอำนาจอันสัมพัทธ์
ฉันตอบคำถาม ในพุทธศักราชนี้...นววิถีแห่งยุคสมัย เรา...ล้วนอัจฉริยะ ในสมรภูมิแห่งมรสุม ไม่มีสิงห์เจ้าป่าใดมีชัยเหนือพรานผู้ล่า ฉันอยากเป็นสิงห์ เธออยากเป็นม้าส่วนคุณคนนั้นอยากเป็นปลา ทุกสรรพสิ่งพึ่งพิงอิงกัน ปกป้องสิทธิ์ ปลอบประโลมจิตสร้างเกลียวคลื่นแห่งความเคลื่อนไหว
ฉันหวังว่าฉันจะเป็นความหวังของฉัน หวังว่าฉันจะรู้ หวังว่าฉันจะรู้ตัว เมื่อกลายร่างเป็นอสูรใจมาร เมื่อกลายร่างเป็นพรานป่าในคราบอัจฉริยะ.
ฉัตรชนก ชัยวงค์
ปีที่สร้างสรรค์ผลงาน: 2562 บรรณาธิการต้นฉบับ: หัตถกาญจน์ อารีศิลป กองบรรณาธิการ: ธัญวรัตม์ วงศ์เรือง บุษกร บุษปธำรง วรนุช ขาวเกตุ ธีรศักดิ์ คงวัฒนานนท์ จุฬารัตน์ กุหลาบ
วิลเลียมเชกสเปียร์ (1609)
เมื่อตาข้าปิดไซร้
ภูริทัต หงษ์วิวัฒน์ (2563)
ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียน: ภูริทัต หงษ์วิวัฒน์
นิสิตชั้นปีที่ 4 ระดับปริญญาตรี ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย นิสิตทุนโครงการสู่ความเป็นเลิศด้านภาษา และวรรณคดีไทย มีอัสสาสและ ปัสสาสเป็นวรรณคดี มีใจเสน่หาภาษา และวรรณคดีบาลี-สันสกฤตพ้นประมาณ หลงรัก วรรณคดีไทยมา เนิ่นนานหนักหนาโดยเฉพาะลิลิตพระลอ ชอบอ่านและแต่งคำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทต่าง ๆ ทั้งกลอน กาพย์ โคลง ฉันท์ มาแต่น้อย เริ่มเผลอมีใจให้วรรณคดีอังกฤษ เพราะแอบอ่านบทละครเชกสเปียร์เล่นเป็นบางเวลา ชื่นชอบซีรีส์วายเป็นชีวิตจิตใจ
ปีที่สร้างสรรค์ผลงาน: 2563
บรรณาธิการต้นฉบับ: หัตถกาญจน์ อารีศิลป
กองบรรณาธิการ: ธัญวรัตม์ วงศ์เรือง บุษกร บุษปธำรง วรนุช ขาวเกตุ
ธีรศักดิ์ คงวัฒนานนท์ จุฬารัตน์ กุหลาบ
1. ฉันยังคงเห็นเขา มิตรของฉัน ในวันที่แสงแดดแผดจ้าจนดวงตามืดบอด เขานั่ง นิ่ง สงบ อยู่ที่นั่น ใจกลางจัตุรัสรูปวงกลม ที่ผู้คนสัญจรร้อนรน เดินผ่านวิ่งผ่าน เดินชนวิ่งชน แข็งกร้าวดังชนหินอ่อนก้อนยักษ์ หินอ่อนก้อนยักษ์สลักเป็นรูปมนุษย์ ประดับประดาจัตุรัสวงกลม ก้มมองเขา แล้วผ่านเลยไป ผืนผ้าใบแนบสนิทกับผืนดิน ทับด้วยหินสี่ทิศ อ่านข้อความอันว่างเปล่า เขาจะวาดวงกลม
เขาจะวาดวงกลม เพื่อให้มันกลม เส้นเพียงเส้นเดียว ไร้จุดด่างพร้อย ไร้รอยบิดเบี้ยว ลากจากหัวจรดหางจนหางจดหัว เขาจะสร้างสิ่งสัมบูรณ์จากความว่างเปล่า เขาจะวาดจนมือเขาล้า เขาจะวาดจนเข่าเขาแตก แต่เขาไม่ได้บูชาผู้ใด ไม่ทั้งวิตรุวิอุส
แล้วพวกเขาเดินจากไป หลังจากจดจ้องอยู่แสนนาน ไม่มีคุณค่าใดใดเลยหรือ สำหรับวงกลมอันสมบูรณ์ คนหนึ่งคนผ่านมา จดจ้อง แล้วเดินจากไป คนสองคนผ่านมา จดจ้อง แล้วเดินจากไป คนห้าคนผ่านมา จดจ้อง แล้วเดินจากไป คนสิบคนผ่านมา จดจ้อง แล้วเดินจากไป ไม่มีคำพูดใดใดเลยหรือ สำหรับวงกลมอันสมบูรณ์ คนที่หนึ่งร้อยผ่านมา จดจ้อง ไม่เอ่ยคำใด คนที่สองร้อยผ่านมา จดจ้อง ไม่เอ่ยคำใด คนที่ห้าร้อยผ่านมา จดจ้อง ไม่เอยคำใด คนที่หนึ่งพันผ่านมา จดจ้อง แล้วเอ่ยออกไป วงกลมของเขาบิดเบี้ยวนิดหนึ่ง แล้วผู้คนก็สรรเสริญวงกลม
แล้วผู้คนก็สรรเสริญวงกลม ร้องเป็นท่วงทำนอง เป็นเพลงชาติ วงกลมที่บิดเบี้ยว หากแต่สมบูรณ์ และเป็นนิรันดร์ เช่นเดียวกับเขาผู้รังสรรค์ เขาผู้แตกดับ ผู้คนยังแต่งโศลกโศการ้องหาเขา อ่านโศลกโศกเศร้าจนคอแหบแห้ง ความสมบูรณ์จึงเป็นรูปวงกลม ที่เขาวาด จิตวิญญาณเขาจึงเป็นรูปวงกลม ที่เขาวาด เมื่อผู้คนสรรเสริญวงกลม สรรเสริญเขา เมื่อผู้คนสาปแช่งวงกลม สาปแช่งเขา เมื่อนั้นผู้คนยังคงเห็นเขา ฉันยังคงเห็นเขา
ธีสุวรรณ ปิติภากร (2559)
2. เขายังคงไม่เห็นฉัน เดทแรกของเรา ณจัตุรัสของย่านเก่าใจกลางเมือง ปลายฝนต้นหนาวในวันฟ้าเปิด เช้าตรู่ที่แสงแดดยังไม่แผดทำลายความหมายของเหมันต์ ฉันตื่นหกโมง วันอาทิตย์
เครื่องสำอางเรียงรายเป็นตับ หากอาวุธของขุนพลคือกระบี่ อาวุธของสตรีก็คือความงาม ใครบางคนเคยบอกฉัน ฉันไม่เชื่อ แต่เขาเชื่อ
ฉัน ผู้ไม่เคยแต่งหน้า
เปิดอ่านคู่มือการแต่งหน้า ศึกษาจากวิดีโอบนอินเทอร์เน็ต ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนฝูง ได้ข้อสรุปว่าให้เริ่มต้นด้วยการลงรองพื้น ขั้นตอนต่อจากนั้นไม่มีใครพูดตรงกัน
รายการเครื่องสำอางชื่อประหลาดกว่าสิบอย่าง ทุกรายการล้วนเป็นเครื่องสำอางสีเนื้อ “แต่เป็นเนื้อคนละเฉด” เพื่อนของฉันบอก ชิ้นนั้นใช้รองพื้น ชิ้นนั้นใช้ไฮไลท์ ชิ้นนั้นใช้สร้างแสงและเงาให้ใบหน้า “เป็นเทคนิคการแต่งหน้าแบบสามมิติ”ดาราสาวชี้แจง สองชั่วโมงผ่านไป ฉันแต้มเขียนเกลี่ยปาดวาดลบตบเติมเสริมซับ รบกับเซลล์ผิวหมองคล้ำ ถุงใต้ตาและสารพัดความไม่งาม “แต่งหน้าเหมือนไม่แต่ง”สไตล์ลิสต์ประเมินค่า ฉันยิ้มแหย ๆ ให้ผู้หญิงแปลกหน้าในกระจก
หนึ่งชั่วโมงลองชุด ชุดนั้นทำให้ดูอ้วน เสื้อสีนี้ไม่ขับสีผิวกระโปรงตัวนู้นสั้นเกินไป ชุดนี้โทรมเกินไป ชุดนั้นก็เวอร์เกินไป ลงเอยด้วยชุดกระโปรงสีเรียบธรรมดา รองเท้าคู่สวยที่ซื้อมานานแล้ว แต่ยังไม่เลิกกัด
ก่อนเวลานัดหนึ่งชั่วโมง มาถึงที่นัดหมาย ฉันยืนรอริมขอบจัตุรัสรูปวงกลม เขามาถึงตรงเวลานัด ยิ้มโลกสว่าง ไม่เอ่ยคำใด ชวนไปกินก๋วยเตี๋ยวเจ้าดังฝั่งตรงข้าม เดินตัดจัตุรัส เขาสังเกตเห็นวงกลมบนผืนผ้าใบ วงกลมที่เราคิดว่ายังไม่เคยมีใครรับรู้ถึงการดำรงอยู่ วงกลมที่เราคิดว่ายังไม่เคยมีใครพูดถึง วงกลมที่ยังไม่ถูกบรรจุความหมาย รูปวงกลมฝีมือมนุษย์เขียนด้วยเส้นเพียงเส้นเดียว ไร้จุดด่างพร้อย ไร้รอยบิดเบี้ยว ราวกับเป็นวงกลมอันสมบูรณ์ เราก้มมอง จดจ้องอยู่แสนนาน
ท้องร้อง เราผละไปกินก๋วยเตี๋ยว ฉันฉายยิ้มบนริมฝีปากสีชมพูธรรมชาติเบอร์
เก็บเงิน เขาเปลี่ยนแผนยามบ่าย ชวนฉันไปดูรูปวงกลม ครึ่งชั่วโมงผ่านไป จดจ้อง ไม่เอ่ยคำใด หนึ่งชั่วโมงผ่านไป จดจ้อง ไม่เอ่ยคำใด สองชั่วโมงผ่านไป จดจ้อง ไม่เอ่ยคำใด สามชั่วโมงผ่านไป จดจ้อง ไม่เอ่ยคำใด
แดดบ่ายละลายรองพื้น ฉันคิดว่าฉันเห็นรอยบิดเบี้ยวของวงกลม กล่าวติออกไป แล้วเขาก็สรรเสริญวงกลม แล้วผู้คนก็สรรเสริญวงกลม
วงกลมที่เคยซ่อนตัวอยู่กลางที่แจ้งวงกลมที่ไร้ความหมาย วงกลมที่บิดเบี้ยว และเขาผู้เป็นผู้นำในการสรรเสริญวงกลมร้องเป็นท่วงทำนอง เป็นเพลงชาติ ได้รับการสรรเสริญในฐานะผู้สรรเสริญวงกลม ได้รับการสาปแช่งในฐานะผู้สรรเสริญด้วยการสาปแช่งวงกลม เขาผู้ออกงานสังคม กับฉัน ผู้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแต่งหน้า
เขายังคงไม่เห็นฉัน.
นลิน สินธุประมา (2559)
ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียน: ธีสุวรรณ ปิติภากร
ศิษย์เก่าภาควิชาภาษาไทยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็น
นลิน สินธุประมา ศิษย์เก่านิสิตทุนโครงการสู่ความเป็นเลิศด้านภาษาและวรรณคดีไทย ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาคติชนวิทยา ณ University of California, Berkeley ชอบเรื่องเล่าและนิทานนวนิยาย และเรื่องสั้น เพลงพอป ภาษาเขมร วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปีที่สร้างสรรค์ผลงาน: 2559
บรรณาธิการต้นฉบับ: หัตถกาญจน์ อารีศิลป
กองบรรณาธิการ: ธัญวรัตม์ วงศ์เรือง บุษกร บุษปธำรง วรนุช ขาวเกตุ
ธีรศักดิ์ คงวัฒนานนท์ จุฬารัตน์ กุหลาบ
© สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับเพิ่มเติม) พ.ศ. 2558 เผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการเท่านั้น
ข้อเขียนนี้เป็นส่วนหนึ่งในหนังสือ “เขียนเล่นเป็นเรื่อง” รวมผลงานสร้างสรรค์ของนิสิตภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผลงานลำดับที่ 3 ในหนังสือชุด “วิชญมาลา” รวมผลงานด้านภาษาและวรรณคดีไทย
จัดทำโดย ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563
อ่านฉบับ E-book ได้ที่ https://www.mebmarket.com/ebook-134349-เขียนเล่นเป็นเรื่อง-รวมผลงานสร้างสรรค์ของนิสิตภาควิชาภาษาไทย
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in