ซีรี่ย์สารคดีเรื่อง Tales by Light จาก Netflix ได้รับการสนับสนุนจาก Canon Australia และ National Geographic ที่จะพาเราติดตามการเดินทางของช่างภาพชื่อดังระดับโลก พร้อมถ่ายทอดเรื่องราวการออกล่าความฝัน แรงบันดาลใจ และค้นหาความหมายของการถ่ายภาพ สารคดีนี้ได้ดำเนินมาถึง Season ที่ 3 แล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้ง 2 seasons ก็ทำออกมาได้ยอดเยี่ยมและสร้างความประทับใจให้กับผู้เขียนอย่างมาก โดยส่วนตัวแล้วมันช่วยเปิดหูเปิดตาให้เราได้เห็นด้านอื่นๆ ได้พบแง่มุมใหม่ๆ ของโลกใบนี้ โดยใช้การถ่ายภาพ มาเป็นตัวเชื่อมโยง
ภาพถ่ายของแต่ละช่างภาพล้วนแล้วแต่ถูกขับเคลื่อนด้วย Passion ที่ต่างกัน แน่นอนว่า ผลผลิตหรือภาพที่ออกมาก็จะมีความแตกต่างกันออกไป บ้างก็เป็นรูปคน บ้างก็เป็นรูปสัตว์ บ้างก็เป็นรูปวิวทิวทัศน์ ซึ่งหากเรามองแค่ตัวผลผลิตของมันอย่างเดียว เราจะไม่สามารถเข้าใจถึงความหมาย คุณค่า ความหลงใหล ความอดทน ความยากลำบาก ความสุข แม้กระทั่งความเศร้า ที่ซ่อนอยู่ในรูปถ่ายสวยๆ เหล่านี้ได้เลย และหน้าที่ของสารคดีชุดนี้ที่ทำออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมก็คือ การนำความแตกต่าง และเบื้องลึกเบื้องหลังเหล่านี้มาเสิร์ฟให้กับเรา ผ่านสิ่งที่เรียกว่า “การถ่ายภาพ”
สิ่งที่สร้างความประทับใจให้กับผู้เขียนมากที่สุดก็คือ "ภาพ" ของเรื่องนี้ โครตตตตตตตตต!!! สวยยยยยยยยย!!!!!! (ขออภัยในอินเนอร์นี้ด้วย 55555) ทั้งเทคนิค มุมกล้อง เอาจริงๆ แค่ได้ไปดู ไปเสพความเทพของ โปรดักชั่นก็ฟินแล้วแหละ สมกับเป็นสารคดีถ่ายภาพของเหล่าบรรดามือโปรจริงๆ
สำหรับ Season 3 มาในธีม การปกป้องความงดงามและคุณค่าทั้งในผู้คนและสถานที่ (โดยจะประกอบด้วยเด็ก / มหาสมุทธ /และ วัฒนธรรมพื้นเมืองออสเตรเลีย) มีทั้งหมด 6 ตอนย่อย ตอนละประมาณ 20-25 นาที (น้อยเหลือเกิน T-T) เป็นเรื่องราวของช่างภาพ 3 คน air time คนละ 2 ตอน
Episodes 1&2 : Children In Need Part 1&2
เปิดฉากมาด้วยช่างภาพคนแรกไซม่อน ลิสเตอร์ ( Simon Lister ) ผู้ซึ่งได้ค้นพบความหมายของการถ่ายรูปและอุทิศชีวิตการทำงานของเขาให้กับการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เด็กๆ และเป็นหนึ่งในช่างภาพผู้ทุ่มเทให้กับการทำงานกับองค์กร UNICEF
นอกจากนี้ยังมีแขกรับเชิญพิเศษ ออร์แลนโด บลูม ( Orlando Bloom ) แบรนด์แอมบาสเดอร์จากองค์กร UNICEF ที่หลายคนคงคุ้นเคยกับเขาในบทบาทของ เลโกลัส (Legolas) ยอดนักธนู ชาวเอลฟ์จากภาพยนตร์ไตรภาค The Lord of the Rings ผู้เดินทางร่วมไปกับ อารากอร์น และ กิมลี เพื่อปกป้อง มิดเดิ้ลเอิร์ธ
ดิลลัน ริเวอร์ ( Dylan River ) ผู้ผลิตภาพยนตร์ชาวออสเตรเลีย จาก Alice Springs นี่เป็นเรื่องราวของชายหนุ่มผู้ไม่ลืมรากเหง้าของตนเอง และต้องการใช้ความรู้ ประสบการณ์ที่มีจากการทำภาพยนตร์ มาสานฝัน สนองความต้องการลึกๆ ในใจเขา ซึ่งก็คือการเก็บบันทึกเรื่องเล่า, ความรู้, นิทาน, วิถีชีวิต, ประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ของชาวพื้นเมืองออสเตรเลีย (Native Australia) โดย ดิลลัน ได้รับแรงบันดาลใจในความปรารถนานี้จากคุณย่าของเขา เพื่อรวบรวมและเก็บบรรดาวัฒนธรรมดั้งเดิม ที่ยังหลงเหลืออยู่ในออสเตรเลียไม่ให้หายสาบสูญไป ด้วยความเชื่อที่ว่า ภาพยนตร์จะช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมเหล่านี้ให้คงอยู่ตลอดไป
การดำเนินเรื่องและเนื้อเรื่องในตอนนี้ค่อนข้างเรียบง่าย ไม่ค่อยมีอะไรมาฉุดกระชากลากอารมณ์เท่ากับสองตอนแรกที่ผ่านมา ทำให้เราได้เสพภาพสวยๆ พร้อมตื่นตาตื่นใจเล็กน้อยกับวัฒนธรรมแปลกๆ ที่ ดิลลัน ได้บันทึกออกมา
แต่สิ่งที่ไม่ธรรมดาก็ได้เกิดขึ้นเมื่อตอนนี้กำลังจะจบลง เหมือน ดิลลัน ค่อยๆ ใช้ยาแบบ ฌอน แต่เป็นคนละชนิดกันนะ ยาของ ดิลลัน นั้นมันเศร้ากว่า เพราะมันทำให้ผู้เขียนตระหนักได้ว่า การสูญเสียทางวัฒนธรรมนั้นเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ และคนรุ่นสุดท้ายของชนเผ่านั้นๆ เขาจะต้องผ่านอะไรมาบ้าง เขาต้องต่อสู่กับการเปลี่ยนแปลง มองดูผู้คนในเผ่าค่อยๆ จากไปทีละคน มีอะไรอีกมากมายที่เขาต้องปกปักษ์รักษาแต่ด้วยเรี่ยวแรงที่ค่อยๆ โรยรา เขาทำได้แค่เตรียมตัวจากโลกนี้ไปพร้อมกับมรดกอันล้ำค่าที่ต้องหายไปพร้อมกับตัวเขา ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขอขอบคุณ ดิลลัน ที่เห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านี้และหยิบยื่นโอกาสที่สำคัญที่สุดเพื่อปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in