เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Everyday นึกขึ้นได้Tawankun
นึกขึ้นได้ 02: เมื่อคอมพิวเตอร์กลายเป็นคนรู้ใจอีกคน
  • วันจันทร์ที่แสนรถติดในกรุงเทพฯ หรือแม้กระทั่งแถวที่แน่นเอี๊ยดบนรถไฟฟ้า ผมมีความรู้สึกอึดอัดและไม่ค่อยสบายใจเมื่ออยู่ในเหตุการณ์อย่างนี้ สิ่งที่ผมทำประจำคือการใส่หูฟังและเปิด Application นึงขึ้นมา นั่นคือ Spotify


    คุณเคยใช้ Spotify ไหม? คุณอาจจะร้องอ๋อทันทีที่ได้ยิน หรือมันอาจเป็นเพื่อนของคุณในชีวิตประจำวันก็ได้นะ แล้วคุณรู้ไหมว่า ทำไม Spotify ถึงรู้ใจคุณจัง จนอยากให้คุณแฟนรู้ใจแบบนี้


    Spotify เป็น Music Streaming Application ชื่อดังที่ถือกำเนิดในประเทศสวีเดน โดยมีจุดเด่นคือการ Personalize หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่าระบบรู้ใจแก่ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ สิ่งนึงที่เป็นปัญหาของคนฟังเพลงในอดีตคือ ใน 1 album เราชอบเพียงไม่กี่เพลงเท่านั้น แต่เราจะต้องซื้อทั้งอัลบั้มที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถมีอัลบั้มเพลงที่ติดตัวตลอดเวลา แล้วทุกเพลงเป็นเพลงที่เราชอบ อีกทั้งยังสามารถเปิดประสบการณ์เพลงแบบใหม่ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่ง Spotify ทำได้ดีมากในจุดนี้


    ในครั้งนี้ผมจะมาเล่าว่าทำไม Spotify เองถึงได้รู้สไตล์ของเราซะดีเหลือเกิน บางครั้งอาจจะรู้ดีกว่าคนใกล้ชิดของเราซะอีก ซึ่งมี 3 Algorithm ที่เราควรรู้


    (1) Collaborative filtering 

    หรือ วิธีการแลกข้าวแลกน้ำ ลองจินตนาการว่า เรากำลังฟังเพลงบน BTS เมื่อเราถูกใจเพลงนี้ เราก็มักที่จะกดไลค์ให้กับเพลงนั้น ๆ คราวนี้แหล่ะ ระบบของ Spotify เริ่มทำงานทันที จากผู้ใช้งานของ Spotify ทีมีประมาณ 150 ล้านคน ระบบจะทำการค้นหาเพื่อนของเรา เพื่อนในที่นี้หมายถึงคนที่ชอบเพลงคล้าย ๆ เรานะ แล้วจะทำการแลกเพลงของกันและกันให้ฟัง ถ้ายังมองไม่เห็นภาพ สมมุติว่า คุณกดไลค์เพลงลงคลังส่วนตัวไป 4 เพลง และผมก็กดไลค์เป็นจำนวน 4 เพลงเท่ากัน แต่ระบบตรวจสอบแล้วว่า เราสองคนมี 3 เพลงนะที่ชอบเหมือนกัน ระบบจะทำการ Suggestion เพลงที่เราไม่ได้ชอบด้วยกัน ให้แลกกันฟัง เพราะเขาตั้งสมมุติฐานว่า เราน่าจะเป็นที่คนเดียวกันนั่นเอง ด้วยเหตุนี้แหล่ะทำไมผมถึงเรียกว่า แลกข้าวและน้ำ


    (2) Natural Language Processing

    เรียกสั้น ๆ ว่า NLP จะเรียกให้คนทั่วไปเข้าใจแล้วกันว่า “รู้จังนะ เรื่องของเรา” อันนี้ขอเข้าเรื่องวิทยาศาสตร์นิดนึง คือเสียงนั้นเป็นมีรูปเป็นคลื่น นึกถึงเชือกที่สั่นไปสั่นมา แต่ละคลื่นมันก็มีลักษณะของตัวเอง สมมติผมพูดว่า “น้ำเปล่า” คลื่นเสียงของคำว่า “น้ำ” และคำว่า “เปล่า” จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ระบบ Spotify เองจึงสามารถรู้ว่าเราเป็นคนชอบฟังเพลงแบบไหน สไตล์ไหนนั่นเอง


    (3) Raw Audio Model

    หรือเอาข้อมูลเสียงเชิงลึกมาวิเคราะห์อีกที เราอาจจะสงสัยว่า มีตั้งสองวิธีข้างบนไปแล้ว ทำไมต้องใช้วิธีนี้อีก บอกสั้น ๆ เลยว่ามันเป็นวิธีที่ทำให้สามารถเดาเพลงที่เราชอบได้แม่นยำมากขึ้น... 


    ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผมเชื่อว่าหลายคนคงได้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ไปอย่างรวดเร็ว จนเราอยู่ในยุคที่ใคร ๆ ก็ก้มหน้าหาเพื่อนกันในพื้นที่สี่เหลี่ยมที่จำกัด คนไม่มีหัวใจอย่างคอมพิวเตอร์นั้นก็เป็นคนที่แนะนำให้เรารู้จักคนอื่นอีกที


    ผมคิดว่า สิ่งที่สวยงามของความเป็นมนุษย์คือ เราสามารถสร้างความสัมพันธ์ให้กับสิ่งมีชีวิตรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนข้างบ้าน หรือแม้กระทั่งสุนัขจรจัดหน้าปากซอย เพราะฉะนั้น อย่าปล่อยให้ใครมารู้ใจเราดีเกินกว่าคนที่รู้ใจคุณในชีวิตจริง

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in