เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
What's Newsteammha
Rohingya Crisis

  • "แม้ว่ารัฐบาลของบังคลาเทศและเมียนมาจะบรรลุข้อตกลงทวิภาคีในการส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจากลับเมียนมา แต่ก็ไม่สามารถขจัดความหวาดกลัว
    จากเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยรัฐบาลเมียนมาได้"


    เมื่อประมาณ 1 ปีก่อนเราคงจะเห็นข่าวผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาพยายามหลบหนีเข้าประเทศไทยเพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศมุสลิมอย่างมาเลเซียหรืออินโดนีเซีย จนกลายเป็นข่าวและดราม่าอยู่ช่วงใหญ่ๆ และอัพเดทล่าสุดของเหตุการณ์นี้ คือข้อตกลงทวิภาคีระหว่างบังกลาเทศและเมียนมา ที่ได้บรรลุข้อตกลงในการส่งผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจากลับประเทศเมียนมา โดยจะเริ่มส่งตัวกลับกลุ่มแรกในวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน 2018 

    เป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา จะรู้สึกตื่นกลัวและเป็นกังวลต่อข้อตกลงดังกล่าวจนชาว
    โรฮีนจาจำนวนมากหลบหนีจากค่ายผู้อพยพเข้าสู่ป่า เพื่อหลบหนีการขึ้นทะเบียนเพื่อส่งตัวกลับประเทศ
    เมียนมา ถึงแม้ว่าข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHRC) จะยืนยันว่าจะไม่มีการบังคับให้ผู้ลี้ภัยกลับสู่ประเทศเมียนมาหากไม่มีการยินยอม แต่ก็ไม่สามารถคลายความหวาดกลัวของชาวโรฮีนจาได้ และจากเหตุการณ์การตกลงทวิภาคีในครั้งนี้ก็ทำให้รัฐบาลบังคลาเทศถูกจับตามองจากสังคมระหว่างประเทศ และหากเกิดการบังคับหรือผลักดันให้ชาวโรฮีนจากลับสู่ประเทศเมียนมาเมื่อใด รัฐบาลบังคลาเทศก็จะกลายเป็นเป้าหมายทันที 

    แม้ว่าการยอมรับข้อตกลงการส่งตัวกลับของเมียนมาจะดูเหมือนเป็นสัญญาณที่ดีของวิกฤตครั้งนี้ แต่ตัวข้อตกลงการส่งตัวผู้ลี้ภัยครั้งนี้กลับไม่ถูกเผยแพร่สู่สาธรณะชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อตกลงทวิภาคีในครั้งนี้ออกมาเพียงไม่กี่วันหลังจากการที่ผู้สืบสวนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของสหประชาชาติออกมาเตือนว่ายังมีการปฏิบัติการอยู่ (Ongoing Genocide) (Aljazeera, Rohingya in Bangladesh will not be forced back to Myanmar, November 15th 2018) 

    Source 1: https://www.aljazeera.com/news/2018/11/mounting-confusion-forced-rohingya-repatriation-myanmar-181115013128968.html 
    Source 2: https://www.bbc.com/news/world-asia-46217505 








Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in