KKU AELT สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น และบุคคลทั่วไปที่มีความประสงค์ที่จะทดสอบระดับความรู้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการเพื่อศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่นและเพื่อผ่านเกณฑ์มาตรฐานทางภาษาอังกฤษเพื่อการสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยการทดสอบคอมพิวเตอร์ (ระยะเวลาในการทำข้อสอบ จำนวน3ชั่วโมง)
CMU-eTEGS คือ การสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ได้พัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบมีมาตรฐานสากลและเชื่อถือได้ เหมาะสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษาหรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการทดสอบภาษาอังกฤษของตนเอง
NIDA TEAP (Test of English for Academic Purposes) เป็นแบบทดสอบภาษาอังกฤษที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้มอบหมายให้ศูนย์พัฒนาและบริการด้านภาษาและการสื่อสาร (NIDA Center for Language and Communication Development and Services) คณะภาษาและการสื่อสาร ได้มีการดำเนินการจัดทดสอบภาษาอังกฤษให้กับบุคคลทั่วไป เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อนำผลคะแนนไปยื่นสมัครสอบสัมภาษณ์เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท ภาคปกติ ทุกคณะ/สาขาวิชาในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือเพื่อเป็นการวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษตนเอง สำหรับเตรียมการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกชั้นปี
BUU-GET ย่อมาจาก BURAPHA UNIVERSITY GRADUATE ENGLISH TEST ซึ่งพัฒนาโดยสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อวัดความสามารถ ทางภาษาอังกฤษ โดยเน้นเฉพาะทักษะ การอ่าน ความรู้ทางคำศัพท์และไวยากรณ์ ในทางวิชาการ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา และ การทำงานทางวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ โดยเน้นทักษะการอ่าน คำศัพท์ และไวยากรณ์ และเพื่อเป็นการทดสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษของนิสิตและบุคลากรของมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งสอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องนโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา โดยสามารถเทียบเคียงผลกับ Common European Framework of Reference for Languages (CEFR)
BUU-CET ย่อมาจาก Burapha University Communicative English Test พัฒนาโดยสถาบันทางภาษามหาวิทยาลัยบูรพา เป็นแบบทดสอบมาตรฐานวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ใช้ได้กับบริษัท องกรณ์ หน่วยงานราชการและบุคคลทั่วไปที่ต้องการวัดระดับความสามารถภาษาอังกฤษ โดยเน้นเฉพาะทักษะการฟัง และการอ่าน ความรู้ทางคำศัพท์และไวยากรณ์ ในการสื่อสารทางภาษาอังกฤษ เพื่อวัดระดับทักษะการสื่อสารในการทำงานและในชีวิตประจำวัน และเพื่อพัฒนาแบบทดสอบมาตรฐานโดยสามารถเทียบเคียงผลกับ Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) ซึ่งเกณฑ์นี้เป็นมาตรฐานสากลที่ได้การยอมรับจากกระทรวงศึกษาธิการค่ะ
BUU-CET U Burapha University Communicative English Test for University การสอบวัดระดับความรู้และทักษะภาษาอังกฤษ เป็นการทดสอบมาตรฐานวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารในการเรียนและในการใช้ชีวิตประจำวัน
TU-GET คือ ข้อสอบทดสอบความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อสอบจะมี 3 ส่วน คือ ความรู้ทางไวยากรณ์ ( Grammar) 25 ข้อ 250 คะแนน , ความรู้ทางด้านศัพท์ ( Vocabulary) 25 ข้อ 250 คะแนน และ การอ่านเพื่อความเข้าใจ ( Reading Comprehension) 50 ข้อ 500 คะแนน รวมทั้งหมด 100 ข้อ 1,000 คะแนน
GAT คือ การสอบวัดความถนัดทั่วๆไป มีชื่อเต็มว่า General Aptitude Test ซึ่งจะมีข้อสอบอยู่ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 เรียกว่า GAT เชื่อมโยง จะเป็นการอ่าน เขียน คิด วิเคราะห์ และการแก้ปัญหา มีคะแนนเต็ม 150 คะแนน ส่วนที่ 2 เรียกว่า GAT ENG นั้น จะเป็นความสามารถในการสื่อสารด้านภาษาอังกฤษ ส่วนนี้จะมีคะแนนเต็มที่ 150 คะแนน
CU-ATS คือ แบบทดสอบความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้เพื่อเข้าเรียนต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ (Inter)โดยข้อสอบมีความคล้ายกันกับข้อสอบของ
SAT-II
TOEIC Online คือ ข้อสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ โดยส่วนมากจะใช้สำหรับผู้ต้องการสมัครงานโดยจะเน้นการฟังและการอ่านเป็นหลัก ข้อสอบ
TOEICจะมีทั้งหมด 200 ข้อ คะแนนเต็ม 990 คะแนน
IELTS Online คือ ข้อสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ มีชื่อเต็มว่า International English Language Testing System ข้อสอบครอบคลุมทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ การฟัง (Listening) การพูด (Speaking) การอ่าน (Reading) และการเขียน (Writing) คะแนนสอบถูกแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ เริ่มจากระดับ 1 คือไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้เลย และระดับ 9 คือความสามารถในการใช้ภาษาดีเลิศ ในปัจจุบันการสอบ
IELTSมีให้เลือกสอบอย่างหลายหลายตามวัตถุประสงค์ของการใช้คะแนน นอกเหนือจาก IELTS Academic และ General ที่เราได้ยินกันจนคุ้นหูและทราบดีว่าส่วนใหญ่มักใช้สำหรับการสมัครเรียนหรือสมัครงาน ยังมีการสอบ IELTS UKVI ซึ่งเป็นการสอบสำหรับทำวีซ่าเพื่อใช้เข้าประเทศในสหราชอาณาจักร หรือจะเป็น IELTS Life Skills เป็นการสอบสำหรับบุคคลที่ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าตนมีทักษะในการพูดและการฟังในระดับ A1 หรือ B1 ตามกรอบมาตรฐานการประเมินความสามารถทางภาษาจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป จะเห็นได้เลยว่ามีหลากหลายมาก ๆ แต่ในวันนี้เราจะมาพูดถึง IELTS ประเภท Academic กันค่ะ
KU-EPT คือ ข้อสอบที่วัดความรู้ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในระดับปริญญาตรีภาคปกติทุกชั้นปีที่ผ่านวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน I (01355111) และภาษาอังกฤษพื้นฐาน II (01355112) แต่ยังไม่ผ่านวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน III (01355113) นอกจากนี้ยังใช้สำหรับนิสิตในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโทและเอกที่ต้องผ่านการทดสอบทางภาษาอังกฤษตามข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งถึงแม้ว่าจะสามารถลงทะเบียนเรียนและสอบให้ผ่านในรายวิชาภาษาอังกฤษ 01355501 ทดแทนได้ หรืออาจจะยื่นคะแนน TOEFL / IELTS เทียบเท่าการสอบ KU-EPT ได้ แต่หลายคนก็เลือกสอบ KU-EPT กันเสียมากกว่าเพราะหากเปรียบเทียบจากเนื้อหาและลักษณะการออกข้อสอบแล้ว KU-EPT จะดูเบากว่านั่นเองค่ะ แต่ยังไม่หมดเพียงเท่านี้นะคะ สำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็สามารถสอบได้เช่นเดียวกัน โดยข้อสอบ KU-EPT จะมีการจัดสอบเพียงปีละ 4-6 รอบเท่านั้น
KU-EXITE คือ การสอบวัดความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษสำหรับนิสิตที่จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยจะสอบก่อนสำเร็จการศึกษา 1 ปีตามหลักสูตร ซึ่งข้อสอบนี้มีความสำคัญมากๆ เพราะหากไม่ได้เข้ารับการทดสอบ KU-EXITE หรือแบบทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยรับรอง ก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรนั่นเองค่ะ
MU-ELT คือ ข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถทางภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นข้อสอบที่มีมาตรฐานตาม CEFR (Common European Framework of Reference for Languages) หรือ กรอบมาตรฐานการประเมินความสามารถทางภาษา จากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยข้อสอบนี้มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งเน้นใช้ภายในมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นหลัก ทั้งใช้ในการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ใช้เพื่อสอบบรรจุเข้าเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัย หรือผู้ที่ต้องการเปลี่ยนตำแหน่งงานภายในมหาวิทยาลัย
MU GRAD TEST คือ ข้อสอบวัดทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาโดยตรง และต้องการจะเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้ เพื่อให้ทางหลักสูตรมั่นใจได้ว่าผู้สมัครเรียนมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษเพียงพอต่อการเรียนตั้งแต่เริ่มต้น
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in