MUN หรือเรียกเต็มๆคือ Model United Nations เป็นเหมือนการจำลองประชุมสหาประชาชาติสำหรับเด็กม.ปลาย-มหาวิทยาลัย ที่จัดขึ้นทั่วโลก ซึ่งในการประชุมเราก็จะได้รับบทเป็นประเทศหนึ่ง และให้สมมุติว่าเราเป็นผู้แทนจากประเทศนั้นๆในcomittee(ที่มีให้เลือกมากน้อยแล้วแต่คนจัด เช่น General Assembly, Economic and Finance Committee, Social, Humanitarian, and Cultural Committee, Historical Crisis Commitee, Crisis Commitee, ฯลฯ แม้แต่ Press Corps ที่เป็นกลุ่มที่สมมุติตัวเองเป็นนักข่าวจากหลากหลายสำนักมาเขียนข่าวการประชุม)และมาถกปัญหาเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหานั้นๆ
(รูปปกเป็นรูปเพดานที่ Gardens by the Bay สถานที่ที่จัดงานปิด Yale NUS MUNของปีที่แล้ว)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1
เมื่อต้นปี2016โรงเรียนเราได้จัดทริปไปMUNของมหาวิทยาลัยYale NUS ที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นประสบการณ์ MUN ครั้งแรกของเรา
ทุกอย่างเริ่มต้นจากอาจารย์ที่โรงเรียนเสนอให้ตั้งชมรม MUN ขึ้นในโรงเรียน และจับมาพ่วงกับชมรม public speaking ที่เราเป็นสามชิกอยู่ตอนนั้น = ทุกคนที่อยู่ชมรม public speaking จะต้องอยู่ในชมรม MUNไปโดยอัตโนมัติ ประกอบกับความเชื่อของครูและเพื่อนๆในโรงเรียนที่เข้าใจว่าเราเป็นคนรู้เรื่องการเมืองระหว่างประเทศและประวัติศาสตร์มากๆ (ซึ่งจริงๆแล้วตอนนั้นเราแค่ติ่งอนิเมะที่ชื่อว่าเฮตาเลียที่เป็นอนิเมะเกี่ยวกับบุคลาธิษฐานของประเทศต่างๆทั่วโลก และพูดถึงเรื่องพวกนี้บ่อยๆ แค่นั้นเอง)
ตอนสมัครในเว็บเราเลือกประเทศออสเตรียใน European Union ไป แต่ปรากฏว่าได้ประเทศบัลแกเรีย(ซึ่งเราแทบจะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับประเทศนี้เลยนอกจากที่ว่ามันเป็นประเทศในยุโรปตะวันออก และโยเกิร์ตบัลแกเรีย) ทำให้เราต้องมานั่งหาข้อมูลจนเลือดตาแทบกระเด็น แต่โชคดีที่ว่าหัวข้อครั้งนั้นคือเรื่องปัญหาผู้อพยพในยุโรปซึ่งเป็นปัญหาที่ค่อนข้างหาข้อมูลง่าย ส่วนหัวข้อที่สองซึ่งก็คือการขยายสหาภาพยุโรปซึ่งเป็นอะไรที่ใช้จินตนาการ
(และแถ)เอาได้นิดหน่อย
พอเห็นทุกคนโชว์สกิลการพูดและสกิลทุกสิ่งอย่าง เราก็รู้สึกอยู่แว๊บนึงว่ามันเป็นที่ของคนเก่งและฉลาด ซึ่งคนฉลาดนั้นไม่ใช่เรา(ฮา) เราที่ไม่ได้มีความใกล้เคียงกับนักการทูตที่ดีเลย เลยแอบคิดในใจว่าจะไปรอดมั้ยเนี่ยเรา
ไปถึงครั้งแรกด้วยความที่เป็นเด็กใหม่ ก็เงอะๆงะๆ ไม่รู้จะพูดยังไง ของที่เตรียมมาจะพูดก็โดนคนอื่นพูด
ไปก่อนหมดแล้ว ตอนขึ้นไปพูดก็ตะกุกตะกักสุดๆ ที่หาข้อมูลมานี่กระเจิงหมด บวกกับความที่ประเทศที่เราได้เป็นประเทศเล็ก ไม่เหมือนพวกเยอรมันนี ฝรั่งเศส หรืออังกฤษ ครั้งนี้เราเลยไม่ค่อยได้ทำอะไรมากนัก
ความ(ไม่)ลับคือ บางทีในการประชุมคนที่พูดกันอยู่จริงๆมีแค่ไม่กี่คน ที่เหลือพูดกันครั้งสองครั้งก็เงียบไปด้วยประการทั้งปวง บางคนไม่รู้ว่าต้องทำยังไง บางคนไม่ถนัดพูด บางคนหาข้อมูลมาไม่พอ หรือบางคนก็ขี้เกียจไปเถียงกับใครเค้าเลยเออออห่อหมกกันไป
การประชุมรอบนั้นใช้เวลาประมาณ 2 วัน (ส่วนวันสุดท้ายเป็นงานเลี้ยงปิดงาน จัดที่Gardens by the Bay ที่เป็นงานให้รางวัลนู่นี่) แต่ที่คุยกันแล้วได้resolution paperออกมาจริงๆมีแค่เรื่องผู้อพยพเพราะใช้เวลาเกือบทั้งหมดไปในการคุยกันแต่เรื่องนี้ และใช้เวลาแก้resolution paperกันนานมาก แก้วรรคนู้นวรรคนี้ละเอียดสุดๆ เรื่องที่สองทุกคนเลยตัดสินใจว่าจะถาม joke resolution ซึ่งเขียนด้วยภาษาเหมือนซีเรียสแต่เนื้อหาตลก (สนธิสัญญาที่มีชื่อย่อว่า D-ILLUMINATI ที่มีแต่การเล่นpunsในเอกสาร มีจอห์นซีน่าและแคทนิสเป็นสปอนเซอร์) และเล่น imperatives ที่มีสาขา'คนที่ทำตัวไม่เหมือนชาวยุโรปที่สุด' ซึ่งผู้ชนะสาขานี้เป็นคนเดนมาร์คและอิตตาลี(ที่มาด้วยกันเป็นแพ็คคู่และรับบทเป็นประเทศโรมาเนีย) แทน
เป็นอะไรที่ครบรสมาก มีความสนุก ได้ความรู้ (ฝึกการlobbyคนอื่น ฮา) ได้เพื่อนใหม่จากหลายประเทศ ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน เดนมาร์ค, etc. (ซึ่งหลายคนตอนนี้ก็ยังคุยกันอยู่ บางคนเห็นแต่ในinstagram) และความหัวร้อนในบางจุด
เห็นแต่ละคนพูดแล้วรู้สึกว่าแบบ โห โหดแฮะ เตรียมตัวมาดีมากเลย
แต่เราคิดว่ามันเป็นอะไรที่น่าสนุกนะคะ ถ้ามีโอกาสจะเจ้าร่วมชมรมนี้ด้วย