เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิว On writing ว่าด้วยชีวิต Stephen King ทั้งก่อนและหลังการเป็นนักเขียนSENNELIER
On writing: A Memoir of the Craft ชีวิต ขีดเขียน และสตีเวน


  •             ผู้เขียน สตีเวน คิง            

                ผู้แปล นรา สุภัคโรจน์

                สำนักพิมพ์ แมร์รี่โกราวด์ พับลิชชิ่ง


                ถ้าใครหวังว่ารีวิวหนังสือเล่มนี้จะช่วยเป็นนักเขียนได้ เราขอปฏิเสธไว้ก่อน อย่างที่ในหนังสือเล่มนี้บอกว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ How to การเป็นนักเขียน มันเป็นการเล่าชีวิตและประสบการณ์ของสตีเวน คิงตั้งแต่จำความได้จนถึงปัจจุบันซึ่งในหนังสือคือช่วงปี 2000 หนังสือเล่มนี้ใช้เวลาการเขียนนานถึง 18 เดือน ซึ่งเราจะไม่บอกเหตุผล (ฮา)ไม่งั้นมันก็จะเป็นการสปอยตั้งแต่ย่อหน้าแรก และคนอ่านก็อาจอยากจะฆ่าเราทีหลัง

                On writing เป็นหนังสือที่เราใช้เวลาอ่านนานมาก ประมาณ 2 อาทิตย์ ซึ่งไม่ได้อ่านทุกวัน บางทีอ่านวันนึงแค่ 10 หน้าก็มีด้วยความที่หนังสือเล่มนี้จะหนักไปทางชีวิตประวัติของเฮียคิงเนื้อเรื่องช่วงชีวิตแรกๆมันไม่มีไรหวือหวา มันเป็นการเล่าแบบไปเรื่อยๆ

                ชีวิตพี่แกตอนเด็กคือแม่มีลูก 2 คน เฮียแกเป็นน้องเล็กสุด แม่นางเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ทำให้เฮียแกต้องอยู่กับพี่เลี้ยงบ่อย ตลอดชีวิตวัยเด็กไม่ได้อยู่เป็นหลักแหล่ง ย้ายบ้านบ่อยหลายครั้งก็ไปอยู่กับญาติบ้างก็มี มีทั้งคนที่ชอบขี้หน้าและไม่ชอบขี้หน้าบ้าง สตีเวน คิงไม่มีญาติคนไหนในตระกูลเป็นนักเขียน และการเขียนของเขาก็เริ่มเพียงการเล่นพิเรนทร์กับคำซึ่งพี่แกคัดลอกจากหนังสือการ์ตูน และเอามาแต่งต่อหรือบางครั้งก็ดัดแปลงคำ เช่นขนาด เปลี่ยนเป็น คะหนาด ซึ่งตรงจุดนี้ตอนที่เราอ่าน ก็เกิดความงงขึ้นนิดหน่อยแบบถ้าเป็นภาษาอังกฤษต้นฉบับดั้งเดิมก็อาจทำให้เก็ทกว่านี้

                พอสตีเวนคิงเขียนเสร็จ ก็เอาไปให้แม่ดู แม่อ่านมันและก็ชอบเสียด้วย แต่พอรู้ว่าไปคัดลอกมาแม่สตีเวนก็บอกให้เขียนเอง ตรงจุดนี้แหละที่เป็นจุดริเริ่มการเขียนในเวลาต่อมาในไม่นานสตีเวนก็เขียนนิทานเรื่องแรก เป็นเรื่องเกี่ยวกับกระต่ายที่เป็นคนขับรถมันเป็นเรื่องตลก แม่ของนางก็ชอบถึงขนาดเอาไปขายญาติคนอื่น ตอนละ 25 เซ็นต์ ทำให้เป็นเงินก้อนแรกที่สตีเวนทำได้จากการเขียนในวัยประถม

                ในหนังสือสตีเวนจะพูดถึง "คลังไอเดียคลังไอเดียของพี่แกคือสิ่งที่เราไม่ต้องออกหา แต่มันจะโผล่ขึ้นมาของมันเองขึ้นอยู่กับเรามองเห็นมันหรือเปล่าอย่างไอเดียของพี่แกคือตอนนั่งมองแม่ตัวเองสะสมแสตมป์เพื่อจะนำไปแลกของนั่นล่ะไอเดียที่สตีเวนเจอ จึงพัฒนามาเป็นเรื่อง Happy Stamps เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวหนุ่มคนหนึ่งที่เคยติดคุกข้อหาปลอมแบงค์แต่ต่อมาเขาก็หันมาปลอมธนบัตร มันเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ถูกปฏิเสธจากบก.เคี่ยวๆที่ส่งข้อความตอบกลับที่เย็นชาใส่สตีเฟ่น แต่มันก็มีประโยชน์กับเฮียแกนะหรือบางเรื่องก็เกิดจากฝันร้าย อย่าง The Shinnig.


                ก่อนที่จะแจ้งเกิดสตีเวนเขียนเยอะขึ้น ส่งไปสำนักพิมพ์ นิตยสารต่างๆเยอะขึ้นแต่ก็ถูกปฏิเสธมากเหมือนกัน สตีเวนเก็บพวกคำปฏิเสธจากบก.ที่ต่างๆไว้ตรงกำแพงตอกตะปู และก็เขียนต่อไป

                สตีเวนพบรักกับภรรยาจากชมรมของมหาวิทยาลัย รักกันดี และมีลูก 2 คนชีวิตของสตีเวนช่วงนี้จะค่อนข้างลำบากขึ้นมาอีก  1 สเต็ป ทั้งทำงาน เลี้ยงลูก และเขียน เวลาค่อนข้างจำกัดและรายจ่ายก็มากโข สตีเวนแจ้งเกิดจากเรื่องแคร์รี่ ซึ่งใครๆก็คงรู้แต่ไม่รู้เบื้องหลัง สตีเวนไม่ชอบตัวละครแคร์รี่ด้วยซ้ำ มันห่างไกลจากตัวเขาเท่าที่เราเห็นจากในหนังสือ แต่คนที่ทำให้สตีเวนเขียนต่อทั้งๆที่เขาปาต้นฉบับทิ้งไปแล้วก็คือภรรยา และการเชื่อภรรยาบางที มันก็ดูมีอนาคต


                การจะเป็นนักเขียนได้มีแค่ 2 อย่าง 1. อ่านให้เยอะ 2. เขียนให้มาก สตีเวนบอกอย่างนั้น ซึ่งเราก็เห็นด้วย สตีเวนเป็นคนอ่านหนังสือเยอะ พกหนังสือไปด้วยทุกที่ และอ่านแม้กระทั่งอยู่ในรถ(หนังสือเสียง) หนังสือเสียง 60-80 เล่มต่อปีประสบการณ์พวกนี้แหละที่ทำให้เขาเขียนได้

                บางทีเราอาจจะต้องถามตัวเองว่า เราจริงจังกับการเขียนแค่ไหน? พร้อมแค่ไหนที่จะหันหน้าเข้าสู่โลกภายในตัวของคุณ และบอกลาโลกภายนอก ไม่ว่าจะเป็นทีวี โลกข้างนอก อินเทอร์เน็ต เน็ตฟลิกและวียู ที่หลอกล่อเราอยู่ตลอดเวลา หากคุณพบคำตอบแล้ว งั้นมาเริ่มกัน 

                สตีเวนแนะนำว่าเราควรเขียนต่อวัน 1000 คำต่อวันไปเรื่อยๆ มันจะเป็นการฝึก หากขาดช่วงจะสนิมเกาะ คิดไม่ออก หัวทื่อ และนั่นก็เป็นปัญหาที่สตีเฟนพบเช่นกัน โดยส่วนตัว สตีเวนชอบเขียนตอนเช้า เพราะสำหรับเขาเป็นช่วงที่ดีที่สุด หรือบางคนอาจจะชอบเขียนเวลาก่อนนอนก็ได้ ในหนังสือเราจะพบว่าสตีเวนเปรียบการเขียนว่าเป็นพิธีกรรมก่อนการเข้านอน เหมือนกับการปลดปล่อยตัวเองเข้าสู่โลกของความฝัน เอาง่ายๆเหมือนเราซ้อมฝันก่อนการเข้านอน

               การเขียนที่ดี คือการต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปิด ปิดประตู ปิดหน้าต่าง ปิดมือถือ สตีเวนบอกว่า "เราควรเขียนในสิ่งที่เรารู้" เอ้า แล้วถ้าเราชอบแนวเหนือจริง แต่เราไม่รู้อะไรเลยแล้วเราจะเขียนได้มั้ย? สตีเวนก็ไม่ได้รู้จักสัตว์ประหลาด หรือรู้จักฆาตรกร นั่นเป็นหน้าที่ของจินตนาการ ส่วนหน้าที่เราคือลงมือเขียน มันจะดีกว่านี้ถ้าเราเขียนอย่างเดียว และลดความเป็นนักจับผิดตัวเองลง เพราะฉะนั้นถ้าอยากเป็นนักเขียนก็จงเขียนออกมาซะ อย่างที่สตีเวนบอก 

    "คุณจะเขียนห่าอะไรก็ได้ที่คุณอยากเขียน"



    ภาพประกอบทั้งหมดโดยผู้เขียน

    สามารถติดตามบทความอื่นๆของผู้เขียนได้ที่ https://emergencywrite.blogspot.com/


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in