ตราบเท่าที่มนุษย์ยังดำรงอยู่ “ความรัก” คงเป็นปริศนาของเขาวงกตแห่งห้วงอารมณ์อันปรารถนาและ
“
เรื่องราวของหญิงชาวบ้านแสนสวย “กาเบรียล” (มารียง โกตียาร์) ผู้ปรารถนาและไขว่คว้าหาความรักมาตลอดชั่วชีวิตของเธอแต่กลับต้องมาลงเอยอยู่กับคู่ชีวิตที่เธอไม่ได้รัก เมื่อพ่อแม่จับเธอแต่งงานกับชายแปลกหน้าที่มาพึ่งพิงทำงานในไร่ของพวกเขา “โฮเซ่” (อเล็กซ์ เบรนเดอมึล) ผู้สูญเสียทั้งบ้านและครอบครัวของตนในสมรภูมิของสงครามโลกครั้งที่สองที่เพิ่งสิ้นสุดลง กาเบรียลใช้ชีวิตคู่โดยไร้รักจนกระทั่งเธอถูกส่งไปรักษาโรคนิ่วที่เทือกเขาแอลป์ ที่นั่นเองที่เธอได้พบกับทหารผ่านศึกผู้มารักษาตัวจากโรคโลหิตเป็นพิษ “อองเดร” (หลุยส์ การ์เรล) ชายที่กาเบรียลเรียกว่าเป็น “ความรัก” ของเธอนับแต่นั้นมา
หากจะกล่าวว่า “From the Land of the Moon” เป็นเรื่องราวของการตามหาความรักแท้อันสวยงามก็คงไม่ถูกต้องนัก ถ้าจะพูดให้ถูก คือ มันเป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงความรักได้อย่างงดงามที่สุดเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งจะสามารถตามหาและพ้นผ่านอย่างงดงามท่ามกลางความเว้าแหว่งได้
ทุกภาพและเสียงที่ถ่ายทอดออกมาเต็มไปด้วยความละเมียดละไม ทั้งปล่อยให้จังหวะของเรื่องดำเนินไปตามความรู้สึกที่เนิบช้าแต่หนักหน่วงแล้วค่อยๆก่อตัวขึ้นจนไม่อาจกักเก็บไว้ได้อีกต่อไปเช่นเดียวกับความรู้สึกของตัวละคร ในขณะเดียวกันความรู้สึกอันขื่นขมและรวดร้าวรุนแรงแต่ไม่ฟูมฟายจนเกินเหตุก็คอยปกคลุมอยู่ในทุกครั้งที่ค่อยคลี่อ่านเรื่องราวผ่านแต่ละฉากตอนเมื่อ “ความรัก” ถูกเล่าออกมาผ่านมุมมองของกาเบรียลผู้เป็นตัวหลักของเรื่องโดยเริ่มเล่าจากช่วงเวลาปัจจุบันที่เธอล่วงเข้าสู่วัยกลางคนแล้ว มองดูเผินๆความปรารถนาแห่งรักราวจะดับลงหมดสิ้น หากที่แท้มันกลับไม่เคยมอดดับเลย เมื่อการเดินทางเพื่อพาลูกชายไปแข่งเปียโนในเมืองลียงอันเป็นที่อาศัยของชายหนุ่มที่เธอเรียกว่าความรักแม้เคยพบผ่านเพียงเวลาอันสั้นกลับเป็นจุดเริ่มต้นที่ห้วงอารมณ์นำเธอกลับมาวิ่งวนอยู่ในความคลั่งแห่งการถวิลหาความรักอีกครั้ง
ตั้งแต่วัยสาว เจตจำนงแห่งอารมณ์รักของกาเบรียลประกาศกร้าวต่อโลกอยู่เสมอ ทั้งผ่านบทกวีอีโรติกที่เธอเขียนให้ชายหนุ่มที่เธอหลงรักแม้ว่าเขาจะมีครอบครัวอยู่แล้วก็ตาม จนเธอรวดร้าวเหลือแสนจากการถูกปฏิเสธความรักและนำไปสู่อุบัติเหตุที่เกือบคร่าชีวิต อีกนับครั้งไม่ถ้วนที่จดหมายรักของเธอถูกปฏิเสธ ร่างเปลือยเปล่ายืนอาบแสงจันทร์ที่ส่องเข้ามาจากบานหน้าต่างเสียงร้องอันเจ็บปวดของเธอฟังดูไม่เป็นถ้อยคำ
ผู้คนรู้เพียงแค่ว่ากาเบรียลเป็นบ้าและคลั่งผู้ชายแต่ไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าความจริงเธอกำลังทุกข์ทนจากอะไร มีเพียงเธอเท่านั้นที่รู้ว่าความปวดร้าวที่คอยกัดกินข้างในไม่ได้มาจากความผิดหวังครั้งแล้วครั้งเล่าในความรักเท่านั้น เหนืออื่นใด เหตุการณ์ต่างๆล้วนตอกย้ำว่าเธอถูกสาปไม่ให้ได้รับสิ่งนั้น สิ่งที่เธอเฝ้าอธิษฐานต่อพระเจ้าแห่งความรักอยู่ทุกคืนวันว่า “หากพระองค์ไม่ปรารถนาจะมอบสิ่งสำคัญนั้นให้ฉัน ก็ขอให้ฆ่าฉันเสีย” ภายหลังการแต่งงาน เรื่องไม่ได้เล่าว่าเธอยังคงภาวนาเช่นเดิมอยู่หรือไม่ แต่สิ่งที่รู้คือกาเบรียลปฏิเสธพระเจ้านับตั้งแต่นั้น จวบจนกระทั่งได้พบกับอองเดรจึงค่อยหันกลับมายังกางเขนอีกครั้ง
แม้ภายในสายตาคนอื่นกาเบรียลจะเป็นเพียงหญิงบ้าที่คลั่งผู้ชายและเพ้อฝันจนเกินเหตุ แต่สำหรับเธอเองความรักกลับเป็นสิ่งที่เธอปรารถนามากที่สุด เพราะนั่นเป็นชิ้นส่วนใหญ่ในชีวิตที่เธอเว้าแหว่งที่สุด
ความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับแม่เป็นไปอย่างเย็นชาและห่างเหินมาตลอด การขาดแล้งความรักมาเป็นเวลานานยิ่งกระตุ้นให้ความปรารถนาในความรักของเธอเต็มล้นขึ้นจนควบคุมไม่อยู่และนำไปสู่อาการเพ้อฝันเป็นตุเป็นตะว่าได้รับความรักจากผู้ชายหรือการหาสิ่งมาแทนที่เพื่อระบายอารมณ์เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ได้ดั่งใจด้วยการทำร้ายตัวเอง อย่างในครั้งที่รู้ว่าครอบครัวต้องการให้แต่งงานกับโฮเซ่ชายที่เธอไม่ได้รัก แอนนา ฟรอยด์กล่าวถึงกลไกเหล่านี้ว่าเป็น “กลไกการป้องกันตัว” (
แม้กาเบรียลจะถูกมองเป็นสาวคลั่งรักและมีกิริยาท่าทางที่หลุดลอยไปในห้วงฝันเสมอจนบางครั้งก็ดูราวกับว่าเธอไม่ใช่มนุษย์ที่อาศัยอยู่บนโลกแต่เป็นหญิงสาวผู้มาจากดวงจันทร์ ต่อให้บางภาพฝันของเธอจะชัดเจนเสียจนเธอถือเชื่อเอาว่ามันเคยเกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามความรู้สึกของเธอกลับไม่ใช่ภาพอันเพ้อฝัน มันเป็นความจริงเสียยิ่งกว่าความจริงที่อุบัติขึ้นเมื่อทุกความรู้สึกล้วนมีที่มาเสมอ การเติบโตมาท่ามกลางความเกรี้ยวกราดของแม่และความขาดวิ่นในความอบอุ่นส่งผลให้กาเบรียลปรารถนาที่จะครอบครองในสิ่งที่เธอไม่เคยได้โอบกอดเหนือสิ่งอื่นใด ซึ่งสิ่งนั้นก็คือความรัก
อับราฮัม มาสโลว์ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาชื่อดังได้ให้ความเห็นถึงความปรารถนาต่อความรักไว้ใน “ทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้น” (Hierarchy of Needs
การเติบโตมาด้วยการเลี้ยงดูของครอบครัวโดยเฉพาะแม่ที่นอกจากจะไม่เคยแสดงความรักแล้วกลับปฏิบัติต่อเธออย่างแข็งกร้าวและเหินห่างเสมอมา กาเบรียลกลายเป็นเพียงตุ๊กตาอันงดงามที่ดูไร้ชีวิต สิ่งที่น่าเศร้ายิ่งกว่าการที่เธอขาดหายในความรู้สึกรักจึงเป็นการที่เธอไม่เคยได้รับมันจนไม่รู้จักความรักและไม่อาจที่จะรักคนอื่นเป็น
เวอร์จิเนีย ซาเทียร์กล่าวถึงการเติบโตของเด็กไว้ว่าครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญต่ออุปนิสัยเมื่อครอบครัวเป็นดั่งโรงงานที่คอยผลิตผู้คนออกมา สอดคล้องกับความคิดของอัลเบิร์ต บันดูร์ต่อพฤติกรรมของมนุษย์ว่ามีผลมาจากการเรียนรู้และทำตามต้นแบบใกล้ชิดที่เห็น สิ่งที่กาเบรียลปฏิบัติต่อลูกชายในเวลาต่อมาเป็นเช่นเดียวกันกับสิ่งที่เธอได้รับจากการปฏิบัติของแม่ที่แม้จะไม่ได้แสดงออกมาในรูปแบบของความรุนแรงหรือเกรี้ยวกราดแต่กลับแสดงออกด้วยการโยกย้ายอุดมคติความเป็นอองเดรไปยังลูกของเธอด้วยการให้ลูกชายหัดเล่นเปียโนแทนโดยเฉพาะบทเพลง The seasons หมายเลข 6 June (barcarolle) ของไชคอฟสกี้ซึ่งเป็นเพลงโปรดของชายที่เธอเชื่อว่าเป็นพ่อของลูกเสมอมา
อย่างไรก็ตาม การยัดเยียดให้ลูกชายเป็นในแบบที่เธออยากจะรักยิ่งทำให้เธอรู้สึกขาดรักจากความเหินห่างและไม่ได้รับความรักตอบจากลูก เมื่อลูกชายของเธอกลับแสวงหาโฮเซ่ที่แม้จะไม่ค่อยพูดแต่ก็มอบความใกล้ชิดและอบอุ่นให้มากกว่า ในตอนหนึ่งแม่ของกาเบรียลพูดถึงลูกสาวคนโตของเธอว่าหล่อนดูไม่รักลูกเลย โฮเซ่ผู้สงวนถ้อยคำจึงได้แต่ตอบไปสั้นๆว่า “คงเพราะเธอก็โตมาแบบนั้นเหมือนกัน”
ในอีกมุมหนึ่ง แม้การแสดงออกถึงความปรารถนาความรักอันมากเกินเหตุของกาเบรียลจะค้านสายตาแห่งกรอบเกณฑ์ของสังคม หากแต่เมื่อองค์ประกอบของมันคือความปรารถนาแห่งความรักอันเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ เช่นนั้นแล้ว หญิงจากดวงจันทร์ผู้คลั่งรักคนนี้ก็ถือได้ว่าว่าเป็นมนุษย์เช่นกัน เธอไม่ได้ผิดแผกหรือแปลกแยกเลยเพียงแต่ยิ่งเธอเว้าแหว่งเธอจึงยิ่งตามหา
เมื่อนึกถึงภาพของสายน้ำที่ไหลผ่านส่วนบอบบางของเธอมันเป็นภาพที่ชวนให้ตั้งคำถามถึงการเปิดเผยความรู้สึกที่สังคมไม่อนุญาตให้เปิดเผย ทั้งๆที่มันเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายไม่ต่างกับส่วนอื่นๆเช่นเดียวกับความรู้สึกอันรุนแรงของเธอซึ่งเป็นอีกหนึ่งความรู้สึกที่วิ่งวนอยู่ในใจไม่แตกต่างกันเลยกับความรู้สึกอีกมากมายที่ประกอบกันอยู่ในร่าง แล้วเหตุใดมันถึงไม่ได้รับอนุญาตให้ถูกสารภาพออกมาบ้าง
สิ่งเดียวที่ทำให้รู้ว่าเธอยังคงมีชีวิตและจิตใจในฐานะมนุษย์คือ “ความปรารถนาในความรัก” เช่นนั้นแล้วเจตจำนงในความรักของเธอจึงเป็นเจตจำนงอันบริสุทธิ์เฉกเช่นเดียวกับเจตจำนงที่จะมีชีวิตในฐานะมนุษย์ที่สมบูรณ์คนหนึ่งมิใช่หรือ
คือถ้อยคำในจดหมายฉบับท้ายๆที่เธอเฝ้าเขียนถึงอองเดร หวังเพียงแค่เขาตอบกลับมาแล้วเธอจะละทุกสิ่งทุกอย่างทั้งบ้านริมทะเลและโฮเซ่ผู้เป็นสามีเพื่อหนีตามความรักของเธอไป ความเจ็บปวดจากการรอคอยการตอบกลับยังไม่เท่ากับการต้องยอมรับความจริงที่ว่าจดหมายทุกฉบับถูกตีกลับมายังบ้านร้างรักแห่งนี้โดยไม่เคยได้รับการเปิดอ่านเลย เช่นเดียวกันกับจดหมายจากเธอถึงพระผู้เป็นเจ้าที่แม้จะเฝ้าภาวนาด้วยความขื่นขมเพื่อร้องขอความรักครั้งแล้วครั้งเล่าแต่พระองค์ก็ไม่เคยส่งความรักมาให้เธอเลย ซ้ำยังตอกย้ำความรู้สึกของการถูกสาปเมื่อก้อนนิ่วที่อยู่ในท้องทำให้เธอไม่อาจมีลูกได้
ภายหลังจากการพบกับอองเดรที่กลับมาอีกครั้งในห้องซาวน่าของโรงพยาบาลที่เธอเข้ารักษาโรคและได้ร่วมรักกับเขาตราบจนวันสุดท้ายที่อยู่ด้วยกัน ณ โรงพยาบาลแสนเศร้าที่อบอวลไปด้วยความรักอันผลิบานแห่งนั้น ราวกับความเจ็บปวดทุกอย่างจะสูญสลาย ก้อนหินในท้องของเธอถูกกำจัดออกไปแต่อองเดรจากไปและไม่เคยกลับมา
“
ปราศจากความรัก เธอจึงไร้ชีวิต เป็นเหมือนก้อนหินที่ทำได้แค่ทุกข์ทน
บทเพลง The seasons หมายเลข 6 June (barcarolle) ของไชคอฟสกี้ปรากฏตัวอยู่ตลอดทั้งเรื่อง บทเพลงกล่าวถึงเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นเดือนของจูโน่ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งการแต่งงาน ขณะเดียวกันเดือนนี้ก็เป็นเดือนที่พระอาทิตย์ส่องสว่างมายังโลกยาวนานที่สุด บทเพลงนี้ที่กาเบรียลเห็นอองเดรบรรเลงในโรงพยาบาล...เป็นบทเพลงเดียวกันกับที่คอยบรรเลงประกอบทั้งเรื่องโดยไม่เห็นว่าใครเป็นคนบรรเลงกันแน่ เสียงเปียโนที่คลออยู่ในทุกช่วงตอนของทั้งเรื่องราวกับเป็นจดหมายตอบจากพระเจ้าว่าสิ่งสำคัญที่เธอปรารถนานั้นพระองค์ได้ส่งมาให้นานแล้ว เพียงแค่เธอจะใช้ใจในการรับรู้ในรู้สึกของมัน
โน้ตเพลงที่ไต่ขึ้นราวจะบอกว่าความรักได้สาดส่องและก่อตัวขึ้น ไออุ่นของมันคอยปรากฏและเร้นแฝงอยู่ชิดใกล้เสมอ เพราะความรักก็เป็นเช่นนั้น ไม่อาจรับรู้ได้เพียงตาเห็นแต่ต้องใช้ใจรู้สึก เพียงแต่การจมปลักในความปรารถนาต่อความรักในอุดมคติทำให้กาเบรียลมองไม่เห็นความรักอย่างที่มันเป็น
เปรียบได้กับดวงจันทร์ ตัวมันเองอาจคิดว่าการเป็นดาวเคราะห์และไร้แสงในตัวเองนั้นช่างอับโชค ได้แต่วิ่งตามแสงของดวงอาทิตย์เพื่อค้นพบว่าจะต้องถูกลืมในเวลากลางวัน แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อาจรู้เลยว่าตัวของดวงจันทร์เองนั้นสำคัญต่อโลกถึงเพียงไหน หากนี่เป็นจดหมายจากดวงจันทร์ ไม่ว่ากาเบรียลจะเป็นดวงจันทร์ของดวงอาทิตย์ดวงไหนก็ตาม แต่โฮเซ่คือดวงจันทร์ที่เฝ้าโคจรตามกาเบรียลเสมอมาเช่นกัน
หากจะบอกว่ากาเบรียลมีชีวิตอยู่โดยถูกสาปให้ไม่ได้รับความรักก็คงจะไม่ถูกนัก เมื่อในตอนสุดท้ายที่เส้นเรื่องวนกลับมายังช่วงเวลาปัจจุบันสู่การเดินทางในเมืองลียงอีกครั้ง ภาพที่ถอยออกมาและเปลี่ยนมุมทำให้รู้ว่าเรื่องกำลังถูกเล่าด้วยมุมที่ต่างออกไป แม้ทั้งเรื่องจะเปรียบเสมือนกับจดหมายของกาเบรียลต่อความรักที่เธอไม่เคยได้รับการตอบกลับ แต่ภายหลังจากที่เธอได้รับรู้ความจริงซึ่งโฮเซ่ปิดบังมาเนิ่นนานเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นครั้งไปรักษาโรคนิ่วที่เทือกเขาแอลป์ จึงทำให้ได้รู้ว่าในอีกมุมหนึ่งโฮเซ่เองก็เป็นผู้ส่งจดหมายที่กาเบรียลไม่ยอมรับเช่นกัน
ด้วยวิธีของการเปลี่ยนมุมมองเรื่องเช่นนี้จึงชวนให้คิดตามว่าแท้จริงแล้วมันอาจจะไม่ใช่ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการไม่ได้รับความรัก แต่เป็นโศกนาฏกรรมของการไม่รู้จักรักและรู้สึกถึงความรักที่โอบกอดอยู่ต่างหาก
ในตอนท้ายกาเบรียลถามโฮเซ่ว่าเพราะเหตุใดเขาจึงไม่บอกความจริงแก่เธอ คำตอบของโฮเซ่แม้ไร้คำว่ารักอยู่ในประโยคแต่กลับอบอุ่น ชวนให้นึกถึงคำพูดของมหาตมะคานธีประโยคหนึ่งที่ว่า “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีชีวิต” เพราะสุดท้ายแล้ว คนหนึ่งยอมเป็นก้อนหินที่ต้องเจ็บปวดและไร้ชีวิตเพียงอย่างน้อยให้อีกคนได้รู้สึกถึงความรักเพื่อจะได้มีชีวิต
ยอมมอบชีวิตของตนให้คนที่รักได้มีชีวิตต่อไป...เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว
“
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in