Hello beautiful people! กลับมาพบกันใหม่แล้วนะคะ ในครั้งนี้ เราจะพาทุกคนเดินทางออกจาก comfort zone โดยการอ่านวรรณกรรมยุโรปกลางที่ชื่อว่า Flights วรรณกรรมท่องเที่ยวจากประเทศโปแลนด์ ซึ่ง
รวมบทความ เรื่องเล่า บันทึก และเศษเสี้ยวตัวบทต่าง ๆ เกี่ยวกับปรัชญาการเริ่มต้นในการท่องเที่ยวสมัยใหม่ แต่งโดย โอลกา โตการ์ชุก (Olga Tokarczuk) ในปี 2007 และแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย เจนนิเฟอร์ ครอฟต์ (Jennifer Croft) ในปี 2017 อีกทั้งหนังสือเล่มนี้ยังได้รับรางวัล Man Booker International Prize ประจำปี 2018 อีกด้วย
จากประวัติศาสตร์และความลื่นไหลของพรมแดนยุโรปกลางที่เปลี่ยนแปลงไปตามระบบการปกครองส่งผลให้ภูมิภาคนี้เป็นพื้นที่ที่ทับซ้อนของหลากหลายอัตลักษณ์ ซึ่งแต่ละมิตินั้นก็ขัดแย้งกันและกัน และรวมผู้คนจากหลากหลายวัฒนธรรม ดังนั้นจึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่าทำไม โอลกา โตการ์ชุก จึงยกประเด็นนี้มาถ่ายทอดเป็นนวนิยายให้ทุกท่านได้อ่านกัน และหนังสือเล่มนี้จะพาทุกคนกลับไปสำรวจตัวตนของตนเอง แก่นของความเป็นมนุษย์ ความเป็นสมัยใหม่ และพื้นที่ร่างกายที่ไม่อาจหลีกหนีได้
นวนิยายเรื่องนี้ทำให้เราได้ทบทวนมุมมองต่อการท่องเที่ยวในยุคสมัยใหม่ โดยเปรียบเทียบกับในอดีต และขณะที่เราเดินทางผ่านตัวอักษรนั้น มันมาพร้อมกับคำถามกับเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวมากมาย ทำไมเราถึงออกเดินทาง ทำไมเราถึงชอบเดินทาง การเดินทางมีความหมายในสังคมวัฒนธรรมไทยอย่างไร และสุดท้าย ในฐานะที่เราเป็นนักศึกษาและคนชนชั้นกลางที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เราให้คุณค่ากับการท่องเที่ยวอย่างไร และตัวเรานั้นเป็นนักท่องเที่ยวแบบไหน
(Sorry, Spoiler Alert!) เนื้อหาหลังจากนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของเรื่องบางส่วน
"I completed my degree, but I never really mastered any trade, which I do regret..." (p. 8) จาก quote ของผู้เล่าเรื่องในหนังสือ ซึ่งมันสามารถเชื่อมโยงกับตัวเราได้เป็นอย่างดี มันเป็นเรื่องน่าเศร้ามากที่ปัจจุบันเราไม่สามารถให้คำตอบกับตัวเองได้ว่า หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรีไป เรามีเป้าหมาย หรือหมุดหมายในการทำงานอย่างไร เราเรียนมาทั้งชีวิตและไม่เคยได้หยุดพัก และคนจำนวนไม่น้อยในสังคมไม่สามารถเลือกทำงานที่เขาฝันได้ เพราะต้องแลกไปกับคุณภาพชีวิตที่ความรุนแรงเชิงโครงสร้างได้ทำร้าย ทำลาย กัดกร่อนความเป็นตัวตนในทุก ๆ วัน แค่เพียงคุณก้าวขาออกเดินทางจากบ้านในกรุงเทพฯ การจราจรบนท้องถนนที่ย่ำแย่ก็พร้อมจะย่ำยี ดูดพลังชีวิต และเวลาไปจากคุณ ผู้คนบางกลุ่มก็ทำงานทุกวันโดยที่เราก็ไม่อาจทราบว่าเขามีจุดหมายในชีวิตอย่างไร ดังนั้น ชีวิตที่จำเจเช่นนี้ อะไรคือทางออกล่ะ
การท่องเที่ยวในปัจจุบันแตกต่างออกไปจากในอดีตเป็นอย่างมาก เนื่องจากในสมัยก่อนการเดินทางค่อนข้างลำบาก ไม่มีพาหนะที่รวดเร็ว ดังนั้น การออกเดินทางจึงเป็นเรื่องยาก และมักมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้นพบดินแดนใหม่ ๆ และเข้าไปครอบครองพื้นที่นั้น ๆ ขณะที่ปัจจุบัน การท่องเที่ยวมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ หรือดังเพลงยอดนิยมที่ว่า วันหนึ่งฉันเดินเข้าป่า...
"Whenever I managed to save money, I would be on my way again." (p.10) ชนชั้นกลางในเมืองหลวงทำงานอย่างหนัก ตั้งแต่วันจันทร์ถึงศุกร์ แล้วก็วนกลับมาใหม่ เพื่อรอต้นเดือนหวังว่าจะได้ไปกินปิ้งย่างชาบูสักมื้อเพื่อตอบแทนตัวเอง หรือหวังว่าวันหนึ่งเงินเก็บจะมากพอ และรอวันหยุดยาวที่รัฐบาลขยันจัดหามาให้ เพื่อให้สามารถออกเดินทางไปท่องเที่ยวรวมถึงเที่ยวชมที่ต่าง ๆ ได้อย่างที่หวังไว้ และถ่ายรูปลงโซเชียลมีเดีย เป็นอันว่ากลับได้ ดังนั้น คนที่ได้ไปท่องเที่ยวในปัจจุบันจึงมาพร้อมกับสถานะทางสังคม และภาพลักษณ์บางประการที่ดูเหมือนว่าเหนือกว่าผู้อื่น "Fluidity, mobility, illusoriness—these are precisely the qualities that make us cilivised. Barbarians don't travel." (p. 52)
นักสังคมวิทยาชาวอังกฤษ จอห์น เออรีย์ (John Urry) ได้เสนอเกี่ยวกับ 'tourist gaze' ในหนังสือ The tourist gaze (2002) ว่าเป็นชุดความคาดหวังที่นักท่องเที่ยวมีต่อผู้คนในท้องถิ่น เพื่อหวังที่จะได้รับประสบการณ์ที่ authentic เมื่อพวกเขามีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดังนั้น การจ้องมองนั้นจึงพื้นที่แห่งการช่วงชิงความหมายทางวัฒนธรรมระหว่างผู้มองและผู้ถูกมอง ซึ่งมีแนวโน้มว่าคนท้องถิ่นจะปรับภาพลักษณ์ของตนเพื่อตอบความต้องการแก่นักท่องเที่ยว
Wanderer above the Sea of Fog (1818) โดย Caspar David Friedrich จิตรกรแนวโรแมนติคชาวเยอรมัน
ผลงานชิ้นนี้ไดแสดงภาพของนักเดินทางบนยอดเขามองไปยังทะเลหมอกเบื้องลาง โดยแสดงทัศนียภาพในมุมกวาง ในภาพที่ปรากฏไดแสดงเรื่องราวอยางชัดเจน
อาจตีความได้ว่าเป็น the Imperial eyes และการจ้องมองของผู้ชาย โดยลักษณะการยืนอย่างองอาจและท้าทาย แสดงถึงความอหังการ ไม่เกรงกลัวต่อธรรมชาติ
การท่องเที่ยวคือการใช้เวลาว่าง (leisure) ซ่ึ่งคือขั้วตรงข้ามกับงาน (work) การท่องเที่ยวจึงไม่ได้ปรากฏในพื้นที่ของการทำงาน สถานที่ท่องเที่ยวมีลักษณะแตกต่างจากที่ทำงานอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ มันเต็มไปด้วยฝันกลางวันและความสุข โลกอุดมคติของการท่องเที่ยวถูกนำเสนอ และผลิตซ้ำผ่านสื่อต่าง ๆ จึงเป็นแรงจูงใจที่ผลักดันให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยว เพื่อหลีกหนีจากชีวิตประจำวัน และโครงสร้างสังคมที่ซ้ำซากจำเจ
นักท่องเที่ยวเดินทางไปในสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเลือกจากความชอบส่วนตัว ทำให้เกิดความคาดหวัง เมื่อสถานที่ที่เขาไปหรือประสบการณ์ที่พวกเขาได้รับนั้นไม่ตรงตามสิ่งที่พวกเขาจินตนาการไว้ ก็จะรู้สึกผิดหวังได้ นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวต่างจ้องมองและแสวงหา landscape และสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่นักท่องเที่ยวอาจจะไม่เจอมาก่อน และไม่ใช่สถานที่ปกติในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นการจ้องมองโดยตรง
กล้องถ่ายรูปกลายเป็นสิ่งสำคัญที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีติดตัวไว้ตลอดเวลา และปัจจุบัน การถ่ายภาพสามารถทำได้ง่ายเพียงแค่เปิดแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ และแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียได้ในทันที จิตวิทยาของกล้องและการถ่ายภาพเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวและแนวคิดเรื่องการจ้องมอง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวกับคนพื้นถิ่นมีแนวโน้มว่าเป็นไปในลักษณะห่างเหิน ท้ายที่สุด ธรรมชาติและวิถิีชีวิตของคนพื้นถิ่นได้กลายสภาพเป็น object ของการจ้องมองของนักท่องเที่ยว
"They weren't real travelers: they left in order to return. And they were relieved when they got back, with a sense of having fulfilled an obligation." (p. 7) หลายคราที่เรามักจะได้ยินนักท่องเที่ยวที่หลังจากไปเที่ยวชมต่างจังหวัดพูดว่า ไม่อยากให้พื้นที่เหล่านั้นเจริญไปมากกว่านี้เลย นี่คือ discourse ที่สามารถตีความลึกลงไปว่า ผู้พูดมองต่างจังหวัดเป็นเพียงสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสีสันในวันหยุดของพวกเขา เพื่อตอบสนองความต้องการในการจ้องมองของนักท่องเที่ยวเอง และหวังว่าวันข้างหน้า พวกเขาจะได้กลับมารับชมธรรมชาติแบบที่ไม่มีโอกาสได้พบในชีวิตประจำวันได้ โดยลืมไปว่า สถานที่ใดก็ตาม ล้วนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและบริบท และสถานที่เหล่านั้นก็มีผู้คนที่มีชีวิตที่ต้องดำเนินต่อไป โดยไม่ลืมว่า พื้นที่สามารถเจริญควบคู่ไปกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมได้
อย่างไรก็ตาม การออกเดินทางเป็นเรื่องที่ดีเสมอ อย่างน้อยคุณจะได้อะไรกลับมา ไม่แน่ว่า การเดินทางครั้งหน้า ผู้อ่านอาจจะตอบคำถามกับตนเองได้ว่าตัวเรานั้นเป็น traveler หรือ tourist "That smile of theirs (the flight attendants) holds—or so it strikes us—a kind of promise that perhaps we will be born anew now, this time in the right time the right place." (p. 403)
แล้วพบกันใหม่เมื่อมีเวลาและมีโอกาสค่ะ
Works Cited
Urry, J. (2002). The tourist gaze (2nd ed.). London: Sage Publications.
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in