เย็นวันที่ 15 ตุลา 2559 ผมและเพื่อน ๆ อีกสี่คน กำลังขับรถออกจากอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อเดินทางไปจังหวัดยะลาซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางที่พวกเรากำลังจะไปลงพื้นที่เก็บข้อมูลมาทำภาพยนตร์สารคดี
นี่เป็นครั้งแรกของผมในการไปสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีความรู้จักในฐานะพื้นที่อันตรายที่มีผู้เสียชีวิตจากการวางระเบิดหรือลอบยิง จากกลุ่มคนที่ถูกเรียกว่า ‘โจรใต้’ ซึ่งปรากฏให้เห็นในภาพข่าวมานับสิบปี
พวกเราขับรถไปตามเส้นทาง ผ่านอำเภอจะนะและอำเภอเทพาของจังหวัดสงขลา ซึ่งนับเป็นพื้นที่อันตรายร่วมกับสามจังหวัด สองข้างทางเป็นทุ่งโล่งสลับกับต้นไม้เรียงราย ขณะนี้พระอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้าลงไป เป็นเวลาที่เราใกล้ถึงที่หมายเข้าไปเช่นกัน
เมื่อท้องฟ้ามืดลง ภาพสองข้างทางที่เคยเห็นกลายเป็นแค่ภาพมืด ๆ
“
“
หลังจากการสนทนาไม่กี่คำ เจ้าหน้าที่ก็เดินตรวจค้นไปรอบ ๆ รถทั้งคันก่อนจะปล่อยให้เราผ่านไป
เวลานี้ยะลาเริ่มเข้าสู่ความเงียบ ร้านรวงต่าง ๆ กำลังทยอยปิด บนถนนเริ่มไม่มีรถให้เห็น นอกจากรถของเจ้าหน้าที่ที่คอยตรวจดูความสงบเรียบร้อยอย่างเข้มงวด กลายเป็นภาพชินตาไปแล้วสำหรับ ไนน์ ในฐานะเจ้าบ้านที่เกิดและเติบโตที่นี่ และหนึ่งในสมาชิกของเราผู้ริเริ่มไอเดียมาสู่การทำสารคดีเรื่องนี้ ไม่นานก็มาถึงบ้านของไนน์ซึ่งจะเป็นที่พักให้กับพวกเราในคืนนี้ด้วย
วันรุ่งขึ้น เราตื่นมาตักบาตรที่หน้าบ้านในตอนเช้า ก่อนจะก็เข้ามานั่งฟังข่าวเช้าจากโทรทัศน์
ไอร้อนจากหม้อที่ต้มน้ำจนเดือดลอยกรุ่นขึ้นย้อนแสงแดดอ่อน ๆ ที่ส่องผ่านหน้าต่างเข้ามา ลุงหลวง พ่อของไนน์กำลังยืนชงชาอยู่หลังหม้อน้ำเดือนนั้นโดยมี ป้าเนตร แม่ของไนน์เป็นผู้ช่วย ยืนอยู่ข้าง ๆ รอรับไปเสิร์ฟให้ลูกค้า แตออร้อน ๆ สองแก้วถูกนำออกไปเสิร์ฟให้กับชายวันกลางคนทั้งสองที่นั่งอยู่หน้าร้าน
‘
หลังจากน้ำชากับข้าวเหนียวปิ้งมื้อเช้า เราได้ไปดูการทำกรงนกที่บ้านของช่างหนุ่ย
ช่างหนุ่ยพาเราขับรถเลียบแม่น้ำปัตตานี เพื่อไปนั่งกินน้ำชาในตลาดพรุบาโกย และไม่นานฝนก็ตกลงมา
“การเลี้ยงนกเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุก ๆ วันอาทิตย์จะมีการแข่งนกที่สนาม เป็นการสร้างความสามัคคีของชาวบ้าน โดยไม่แบ่งชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา แต่วันนี้ฝนตก ทำให้ไม่มีการแข่ง”
นอกจากจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ก็มีวัฒนธรรมการเลี้ยงนกเหมือนกัน เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมามีการแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียนที่สวนขวัญเมืองจังหวัดยะลา เพื่อสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในคราวเดียวกัน
เมื่อฝนหยุดลง เรามุ่งหน้าไปยังหมู่บ้านตาเซะ หมู่บ้านในเขตพื้นที่สีแดงนิยามของความอันตราย มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นหลายครั้งในพื้นที่แห่งนี้
ถนนทางเข้าหมู่บ้านตัดผ่านสวนยางพาราอันกว้างใหญ่ ต้นยางสูงชะลูดบดบังแสงแดดที่ส่องลงมา บรรยากาศช่างวังเวงและเงียบสงัด
เมื่อเข้ามาถึงหมู่บ้าน ภาพที่เห็นก็เปลี่ยนไป ทุ่งนาผืนกว้างที่รถไฟตัดผ่าน มีฉากหลังเป็นสวนยางพารา เหมือนเราได้เข้ามาอีกโลกหนึ่ง คนในหมู่บ้านตาเซะส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม ระหว่างทางเข้าหมู่บ้านมีทหารเดินตรวจตราอยู่ เราขับรถผ่านบ้านเรียงรายหลายหลัง หญิงมุสลิมคนหนึ่งส่งยิ้มให้เรา แต่แววตาของเธอช่างดูเศร้านัก ชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีภาษามลายูท้องถิ่นหรือที่เรียกว่า ‘ภาษายาวี’
ในหมู่บ้านตะเซะ มีร้านน้ำชาอยู่กลางหมู่บ้าน ที่ชาวบ้านจะใช้เป็นที่พบปะกัน ภายในร้านมีชาวบ้านกำลังดื่มน้ำชาและพูดคุยกัน
เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ แบกี ชายวัยกลางคน สวมเสื้อเชิ้ต นุ่งโสร่งตามวัฒธรรมของชาวมุสลิม ผู้มีรอยบาดแผลบนร่างกายและท่าเดินกะเผลกที่ทำให้เราสังเกตได้ชัด แบกีเล่าให้เราฟังถึงที่มาของรอยแผลนี้ว่า “คืนหนึ่งที่กำลังขับรถกลับบ้าน มีเสียงปืนดังขึ้นสองสามนัดแล้วรถก็เสียหลักลงข้างทาง พอเรารู้ตัวว่าถูกยิง ก็ทิ้งรถและวิ่งเข้าป่าเพื่อเอาชีวิตรอด”
เมื่อหนีรอดจากมือปืนนิรนามมาได้ก็ใช่ว่าจะพ้นขีดอันตรายแล้ว เขาต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเป็นปี ๆ กว่าจะกลับมาใช้ชีวิตได้อีกครั้ง แบกีบอกถึงความรู้สึกในคืนนั้นว่า
ถัดเข้าไปในหมู่บ้าน เราได้รู้จักกับ ก๊ะซ้ง ซึ่งเมื่อไม่กี่นาทีมานี้เองเราเพิ่งขับรถผ่านหน้าบ้านของเธอ เธอคือผู้หญิงคนที่ส่งยิ้มให้เรา คนที่มีแววตาเศร้าลึกนั่นเอง ก๊ะซ้งสวมฮิญาบสีดำปกคลุมเส้นผม กำลังนั่งเล่นกับลูก ๆ อยู่บนแคร่ไม้ไผ่หน้าบ้าน แต่จากภาพครอบครัวอบอุ่นที่เห็น ยังมีความจริงบางอย่างซ่อนอยู่ข้างหลัง ที่ทำให้เราอดสะเทือนใจไม่ได้
ในปี 2552 ขณะที่เธอนั่งอยู่ในบ้านมีคนมาบอกว่าลูกชายของเธอถูกยิง แต่เธอไม่เชื่อ!! เพราะก่อนหน้านั้นแค่ไม่กี่ชั่วโมงลูกชายเพิ่งบอกกับเธอว่า “มะ ทำข้าวผัดให้หน่อยเดี๋ยวกลับมากิน”
ก๊ะซ้งพูดด้วยเสียงแหบพร่าว่า “ก๊ะก็ไม่รู้ว่าใครเป็นคนทำ แต่ขอให้เขากลับตัวเป็นคนดี”
ทั้งแบกีและก๊ะซ้งต่างก็บอกว่าไม่เคยคิดว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดกับตัวเอง และแม้ว่าเรื่องร้าย ๆ จะเกิดขึ้นในหมู่บ้านที่ตนอาศัยอยู่ แต่ก็ไม่เคยคิดจะหนีไปไหน เพราะที่นี่คือ
พวกเราออกจากหมู่บ้านตาเซะด้วยความรู้สึกที่อธิบายไม่ถูก มันมีทั้งความสลด หดหู่ แต่ก็ยังมีรอยยิ้มในความสุขที่ชาวบ้านตาเซะยังคงมีอยู่
พระอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้าเข้าสู่ราตรีอีกครั้ง เรากลับเข้าในเมือง เพื่อสัมผัสกับบรรยากาศของยะลาในยามค่ำคืน
ไม่ไกลจากบ้านของไนน์มีร้านน้ำชากลางคืนที่เรียกกันว่าร้านโรตีห้าแยก ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ล้วนเป็นวัยรุ่น เราก็ไม่พลาดที่จะลองไปสัมผัสกับวิถีชีวิตกลางคืน เราเลือกสั่งอาหารพื้นเมืองที่เป็นเมนูยอดนิยมเพื่อลองลิ้มรส ทั้งโรตี ข้าวยำปักษ์ใต้ ข้าวหมกไก่ รวมไปถึงชาชักที่ขึ้นชื่อ
“
ฮากิม และ อานัส คือคนที่เข้ามาทักทายพวกเราในฐานะเจ้าบ้าน ทั้งคู่เล่าให้เราฟังว่า พวกเขาเลี้ยงม้าอยู่ริมแม่น้ำปัตตานีในชุมชนจารู เวลามีงานเทศกาลหรือวันสำคัญ พวกเขาจะขี่รถม้าออกมาในงานเพื่อสร้างกิจกรรมเล็ก ๆ ที่ทำให้คนได้ออกจากบ้านมาร่วมกิจกรรมกัน และยังชักชวนให้พวกเราลองไปขี่ม้ากันในวันพรุ่งนี้
ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น และการมีชีวิตอยู่บนความเสี่ยงที่ไม่รู้ว่าความตายจะมาถึงเมื่อไร พวกเขายังคงมีความหวังและศรัทธาว่า ‘บ้าน’ ของพวกเขาจะกลับมาสงบและสวยงามอย่างที่เคยเป็น
“ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็หนีความตายไม่พ้น เพราะพระองค์ทรงลิขิตไว้แล้ว”
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in