สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านทุกท่าน วันนี้มาถึงบล็อกที่ 3 กันแล้วนะคะ โดยวันนี้เราจะมาพูดถึง speech act หรือวัจนกรรม กับคนญี่ปุ่นกันค่ะ
ทุกคนที่ได้อ่านแล้วก็คงจะสงสัยว่า speech act หรือวัจนกรรม คืออะไร แล้วเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร
โดยคำว่า “วัจนกรรม” ก็คือ การกระทำที่สะท้อนผ่านทางคำพูด นั่นเอง
จริงๆ แล้วเรื่อง speech act เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรามากๆ และแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่เราเกิดจนถึงปัจจุบันค่ะ เพราะในชีวิตประจำวันเราก็ต้องมีการสื่อสารกับผู้คนรอบข้างอยู่แล้ว และในการสนทนาต่างๆ ก็ต้องมีประโยคที่แม้ว่าคู่สนทนาจะไม่พูดตรงๆ แต่เราก็สามารถรับรู้ได้ ประโยคที่ไม่ต้องการการตีความอะไร หมายความตามที่พูด หรือแม้แต่การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ ที่ผ่านตาเราทุกวันก็มีเช่นกัน
โดยทฤษฎีเรื่อง speech act หรือ วัจนกรรม นั้นก็มีนักวิชาการจำนวนไม่น้อยเคยศึกษามา แต่ในบทความนี้ จะพูดถึงทฤษฎีของ ออสติน ค่ะ
โดยออสตินนั้น ได้ทำการแบ่ง speech act เป็น 3 ประเภท คือ
1. locutionary act คือ การพูดถ้อยคำที่มีความหมาย โดยคำหรือประโยคที่พูดออกมานั้น มีความหมายในตัวเองอยู่แล้ว และมีความหมายตามที่พูด ไม่ได้มีเจตนาแฝงในคำที่พูดออกไป และรูปประโยคอ้อม (indirect) ก็จัดอยู่ในประเภทนี้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น บนโต๊ะมีดินสอ หรือ ร้อนจัง เป็นต้น
คุณผู้อ่านที่อ่านมาจนถึงตรงนี้ก็อาจจะสงสัยว่า แล้ววัจนกรรมเหล่านี้เกี่ยวกับคนญี่ปุ่นอย่างไรล่ะ คนญี่ปุ่นกับคนไทยก็มีการสนทนาในชีวิตประจำวันเหมือนกันไม่ใช่หรอ
2. illocutionary act คือ การแสดงเจตนาด้วยถ้อยคำ กล่าวคือเมื่อผู้พูดพูดคำหรือประโยคออกมา มีเจตนาที่อยากให้ผู้อื่นทำอะไรสักอย่าง โดยเจตนาอาจจะเป็นการชวน ขอร้อง หรือเตือน ก็ได้ ตัวอย่างที่เห็นกันได้ง่ายๆ เลยก็คือ ช่วงเวลาเปลี่ยนคาบเรียน คุณครูที่สอบคาบเรียนก่อนหน้าออกไปแล้ว กำลังรอคุณครูคาบเรียนถัดไป นักเรียนในห้องเริ่มคุยกันเสียงดัง จนมีนักเรียนคนหนึ่งตะโกนว่า ‘ครูมาแล้ว’ แล้วทั้งห้องก็จะหยุดคุยโดยฉับพลัน จะเห็นได้ว่า ผู้พูดมีเจตนาเตือนคนทั้งห้องให้อยู่ในความสงบก่อนคุณครูจะเข้ามา เป็นต้น
คุณผู้อ่านที่อ่านมาจนถึงตรงนี้ก็อาจจะสงสัยว่า แล้ววัจนกรรมเหล่านี้เกี่ยวกับคนญี่ปุ่นอย่างไรล่ะ คนญี่ปุ่นกับคนไทยก็มีการสนทนาในชีวิตประจำวันเหมือนกันไม่ใช่หรอ
แน่นอนว่ามีการสนทนาเหมือนกัน แต่คนญี่ปุ่น โดยเฉพาะในเกียวโต คุณผู้อ่านอาจจะเคยได้ยินว่า คนเกียวโตเป็นคนที่พูดอ้อมโลก จนบางครั้งก็ไม่แน่ใจว่าจะสื่อว่าอะไรกันแน่ ซึ่งการสื่อสารแบบนี้พบมากในคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะในแถบเกียวโต และถือว่าเป็นวัจนกรรมแบบ illocutionary act ด้วยเช่นกัน เพราะว่าเป็นการสื่อถึงเจตนาผ่านคำพูด กล่าวคือ จะไม่พูดตรงๆ นั่นเอง เช่น หากมีคนเกียวโตพูดว่า เสียงเปียโนเพราะจัง เขาอาจจะหมายถึงเสียงเปียโนดังไปถึงบ้านของเขาก็ได้
ในวันนี้ผู้เขียนก็มีตัวอย่างของการพูดในลักษณะนี้ของคนเกียวโตที่อยู่ในสื่อปัจจุบันและเรื่องเล่าต่างๆ มาให้คุณผู้อ่านได้ดูกันค่ะ
ตัวอย่างแรก
(ที่มาภาพ : ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน เล่ม 98)
เหตุการณ์ก่อนหน้านี้ก็คือ รันแนะนำร้านแพนเค้กให้โมมิจิ แต่หน้าร้านมีคนต่อคิวเป็นจำนวนมาก โมมิจิที่เป็นคนเกียวโตก็เลยพูดว่า ‘แหม ความอดทนของคนโตเกียวนี่ ช่างดีเหลือเกินนะคะ’ โดยเจตนาในประโยคนี้ของโมมิจิอาจจะเป็นการเหน็บแนมคนโตเกียวก็ได้ ตามที่คาซึฮะได้พูดกับรันในประโยคต่อมา
ซึ่งจากภาพข้างต้นก็ยังแสดงให้เห็นอีกว่า ประโยคเหล่านี้สามารถสร้างความใจผิดให้ผู้ฟังที่ไม่เข้าใจในเจตนาของผู้พูดได้ด้วยเช่นกัน
ตัวอย่างที่ 2
ตัวอย่างนี้เป็น 落語 เรื่อง 京の茶漬け นั่นเอง ซึ่งในเรื่องนี้ก็จะเล่าถึงคนโอซาก้าที่ไปเยี่ยมบ้านคนเกียวโต แล้วคนเกียวโตก็ถามว่า 「何もございませんがちょっとぶぶ漬けでも」ซึ่งถ้าคนเกียวโตพูดประโยคนี้ขึ้นมา คือมีเจตนาอยากจะให้กลับได้แล้ว แต่คนโอซาก้าไม่เข้าใจ คิดว่าชวนให้ทานข้าวก่อน สุดท้ายก็เลยกลายเป็นว่าคนโอซาก้ามานั่งทานข้าวด้วยนั่นเอง
จากทั้ง 2 ตัวอย่างนี้ก็จะเห็นได้ว่า คนญี่ปุ่นเป็นชาติที่ใช้วัจนกรรมประเภท illocutionary act เยอะมากๆ ต่างจากคนไทย ที่ส่วนใหญ่ก็จะพูดตรงๆ เพราะฉะนั้น เวลาคุยกับคนญี่ปุ่น การที่เราสามารถรู้เจตนาของผู้พูดได้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน
สำหรับบล็อกวันนี้ ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้
ขอบคุณผู้อ่านทุกคนนะคะ ไว้เจอกันบล็อกหน้า สวัสดีค่ะ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แหล่งที่มา
https://ameblo.jp/rakugogakushi/entry-12448295271.html
https://www.tsunagujapan.com/th/10-customs-unique-to-kyoto/
https://twitter.com/ohx3ohx3/status/1285437178902765569?s=61&t=PHHN8clEJ58dQ5f3Q1d0FQ
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~wsomrudi/Speechact.pdf
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in