เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
In My Mind. I am a daydreamer & nighttinkerAloe Vera
ตามตำรา หรือ ตามใจ รสมือที่เราคุ้นเคย
  • เคยสงสัยกันไหม อาหารที่บ้านเราทำที่บ้านเรากินกัน 
    พวกเขาทำกันเป็นได้อย่างไร แถมยังอร่อยอีกด้วย ??


    พวกเขาเคยใช้ตำราเล่มไหนในการฝึกฝนทำอาหาร ??

    แท้จริงแล้วหลักฐานที่บ่งบอกถึงชื่ออาหารไทย (ในความคิดของหลายๆ คน) ก็คงไม่พ้น กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานที่คนไทยทุกคนต้องรู้จัก ถ้ายังเราจะยกบทมาให้และกัน เชื่อว่าทุกคนต้องร้องอ๋อ


                มัสมั่นแกงแก้วตา                    หอมยี่หร่ารสร้อนแรง

    ชายใดได้กลืนแกง                               แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา

     

              ใช่แล้วกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานวรรณคดีไทยในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยภายในวรรณคดีจะบอกเพียงแค่ ชื่ออาหารแต่ไม่ได้บอกถึงขั้นตอนวิธีการทำอาหารเหล่านั้นอย่างละเอียด แต่วรรณคดีชิ้นนี้เปรียบเสมือนแรงบันดาลใจทำให้เกิดตำราอาหารไทยขึ้นมาเป็นครั้งแรกคือ ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ เขียนโดย ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ (บุนนาค) ในสมัยรัชกาลที่ 5 

                                                   ที่มา : https://cklanpratoom.wordpress.com

               ท่านผู้หญิงชื่นชอบกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน อีกทั้งยังชื่นชอบการทำอาหารเป็นพิเศษ จึงรวบรวมตำราขึ้นเกิดเป็นตำราอาหารไทยเล่มแรกนี้เอง โดยตำราแม่ครัวหัวป่าก์ถือเป็นตำราทำอาหารไทยเล่มแรกที่มีหน่วยชั่งตวงแบบไทยขึ้นเป็นครั้งแรก และยังเป็นตำราที่แสดงอัตราส่วนอย่างละเอียด จึงถือเป็นตำราทำอาหารเล่มสำคัญ 

    จากการค้นข้อมูลของผู้เขียนมีตำราอาหารในปัจจุบันอ้างถึงตำราเล่มดังกล่าวอยู่บ่อยครั้ง

              เมื่อเกิด ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ขึ้นแต่ก็ไม่ได้กระจายสู่ระดับสามัญชนมากนัก เนื่องจากเป็นอาหารแบบชาววังวัตถุดิบต่างๆ จึงหายาก ไม่เหมาะแก่การทำในครัวสามัญชน ดังนั้น ตำราสูตรอาหารจึงถูกจำกัดอยู่ในวงแคบ ชาวบ้านสามัญชนก็ยังคงทำอาหารแบบบ้านๆ พื้นๆ ต่อไป 

             พอระยะเวลาต่อมา ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ ได้ถูกตีพิมพ์ซ้ำ บ้างก็ขายบ้างก็แจก ในงานศพงานบุญต่างๆ ซึ่งการแจกนั้นเอง ทำให้ ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ เริ่มตีวงกว้างขึ้นเป็นที่สนใจของสามัญชนทั่วไปๆ 

    ------------------

              ในช่วงที่ยุคโทรทัศน์ วิทยุเริ่มมีอิทธิพลต่อคนทั่วๆไป (พ.ศ. 2500) ก็มีการนำสูตรตำราแม่ครัวหัวป่าก์ ไปฉายที่ช่องโทรทัศน์ หรือการจัดรายการวิทยุก็นำสูตรอาหารมาออกอากาศให้แก่สามัญชน จนในปัจจุบัน ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ ก็ยังมีการตีพิมพ์อยู่ซึ่งในปัจจุบันตีพิมพ์เป็นครั้งที่ 9 แล้ว

              แต่อาหารที่เรากินกับในปัจจุบันก็มีอาหารที่มาจากแม่ครัวหัวป่าก์ไม่มากนัก เพราะอะไรกัน อาจเพราะเป็นเมนูชาววังที่มีวัตถุดิบที่หายาก แต่ในปัจจุบันก็เรียกได้ว่าแทบจะเสกทุกอย่างให้อยู่ตรงหน้าได้ แต่ทำไม อาหารในตำรากลับไม่ได้รับความนิยม 

              ดังนั้นเราจึงต้องสืบหาประวัติศาสตร์การทำอาหารของที่บ้านเราเอง เพื่อหาเหตุทำไมตำราแม่ครัวหัวป่าก์ หรือตำราอาหารอื่นๆ จึงไม่ส่งผลต่อการทำอาหารในปัจจุบัน

    ------------------


              ต้องท้าวความก่อนว่าเเท้จริงแล้วเราเป็นลูกผสมระหว่าง พ่อที่เป็นคนไทย บ้านเกิดที่นครศรีธรรมราชและย้ายมาอยู่ที่สมุทรปราการ ส่วนแม่เราก็เป็นคนจีนแท้ๆ เลย เเต้จิ๋วเสียด้วยอยู่ที่กรุงเทพฯ บ้านในภาพของเราก็มักจะสลับกันระหว่างกรุงเทพและสมุทรปราการถ้าอยู่กรุงเทพฯ อาหารหลักที่บ้านเราจะเป็นอาหารไทยรสชาติแบบคนจีนไม่จัดจ้านเท่าอาหารไทย โดยแม่จะเป็นแม่ครัวทำอาหารให้เป็นหลักส่วนที่สมุทรปราการมักจะทำอาหารไทยแบบคนใต้ แน่นอนอยู่แล้วรสชาติมันก็สุดจะจัดจ้านซึ่งแม่ครัวใหญ่ก็คือคุณย่าเรา ดังนั้นรสมือที่คุ้นเคยเราจะมีอยู่ 2 รสด้วยกัน ถึงแม้เราจะค่อนไปทางอาหารไทยรสจัดมากกว่า แต่ถึงอย่างไรเราก็ยังคุ้นเคยกับ 2 รสชาตินี้อยู่ดี 


     

    แล้วอาหารที่พวกเขาทำ พวกเขาร่ำเรียนมาจากไหนหละทำไมถึงทำอาหารได้รสชาติแบบนี้ ??


     

              เราเริ่มที่จะถามย่าก่อนเป็นอันดับแรกเผื่อพอจะไล่ไทม์ไลน์ได้บ้าง ย่าของเราๆ ก็น่าจะอยู่ในช่วง Silent Generation ย่าเราเริ่มเข้าครัวตั้งแต่เด็กๆ เพราะเมื่อก่อนตอนอยู่ใต้ก็ต้องช่วยที่บ้านแบ่งเบาภาระ ทำงานบ้านรวมถึงทำอาหารด้วย ย่าเรียนรู้สูตรอาหารต่างๆ โดยการลงมือทำและจำ มาเรื่อยๆ ดังนั้นถ้าถามว่าสูตรทำอาหารใต้ แกงไตปลา คั้วกลิ้ง ข้าวยำ พวกนี้มาจากไหน ย่าก็ตอบไม่ได้อยู่ดี บอกได้แค่ว่าเขาทำมาเลยทำตาม ส่วนโทรทัศน์ในรุ่นนี้ก็คงจะยังไม่มียิ่งย่าเราเป็นคนต่างจังหวัดยิ่งไม่ต้องพูดถึง




            ด้วยอายุปูนนี้แล้วยังทำอาหาร จำได้ว่าอะไรเป็นขั้นตอนต่อไป ก็คงต้องใช้เวลาอย่างมากในการฝึกฝน สงสัยตอนเด็กจะต้องเข้าครัวบ่อยแน่ๆ ถึงจำขั้นตอนได้ขนาดนี้



              ส่วนแม่เรา ซึ่งอยู่ในช่วง baby boomer เป็นช่วงวัยที่เริ่มมีโทรทัศน์จอขาวดำเข้ามา แต่การเรียนรู้สูตรทำอาหารต่างๆ พวกเขาก็ใช้วิธีจำและทำจากพ่อแม่ของเขาอีกทีหนึ่ง ถามว่าหนังสือ นิตยสาร ที่เกี่ยวกับอาหารมีไหม ก็มีแต่ก็ไม่ซื้อมาอ่านเพราะ หนังสือมีราคาสูง ในโทรทัศน์ก็มีรายการอาหาร แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไรมากมาย เช่นกัน




              เพราะงั้นรสมือที่กินๆ กันอยู่ทุกวันมันไม่มีสูตรว่าจะต้องใส่น้ำปลาเท่าไหร่ น้ำตาลเท่าไหร่ แต่พวกเขาใช้วิธี “ครูพักรักจำ” กัน ซึ่งจะแตกต่างจากในรุ่นพวกเรา อย่างเราก็เป็นรุ่น Gen – X ที่เวลาอยากทำอาหารอะไรก็เปิดดูคลิปเปิด youtube ดูเอา แต่พวกปริมาณอัตราส่วนเราเองก็ไม่ได้ทำตามแบบเป๊ะๆแต่ภายในรายการกลับเน้นย้ำเรื่องอัตราส่วน อาจเป็นเพราะต้องแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ ความน่าเชื่อถือ นั้นเอง

     


    ฉะนั้นรสมือที่คุ้นเคยของเราก็เป็นสิ่งที่พวกเขาทำตามธรรมชาติ ทำตามความคุ้นเคย ตามใจ    กะปริมาณเอา (คนสมัยก่อนเรียกว่า รสมือดี) มีลำดับขั้นตอนในการทำอยู่บ้างแต่ก็ไม่ได้จริงจังอาจเป็นเพราะเราเป็นครัวที่ใช้ในบ้าน จึงไม่จำเป็นที่ต้องจริงจังกับการทำอาหารไม่ต้องยึดติดกับตำราอาหาร บวกกับความคุ้นชินของพวกเราที่ตั้งแต่เด็กเรากินแต่รสชาติแบบนี้มาเรื่อยๆ ทำให้รสชาติเหล่านี้ติดปาก ยิ่งทำให้รู้สึกว่ารสมือแม่รสมือย่าเป็นอาหารที่อร่อยที่สุด (สำหรับคนอื่นอาจไม่อร่อยก็ได้) เพราะพวกท่านก็ไม่ใช่คนอื่นคนไกลที่ไหน พวกท่านก็คือคนที่ใกล้ชิดเรา คนที่เราคุ้นเคยถึงแม้จะต้องมีสักวันที่ไม่มีรสมือแบบนี้อีก แต่เราเองก็จะพยายามเรียนรู้รสมือที่คุ้นเคยเหล่านี้ไว้จดจำรสชาติ จดจำเวลาอาหารเหล่านี้ทำให้เรามีความสุข เพื่อให้คนรุ่นหลังๆ ได้สัมผัสได้รับรู้เช่นเดียวกับเราในตอนนี้นั้นเอง


    _____________________________________________


    เพิ่มเติม


    นอกจากตำราอาหารไทยสูตรดั้งเดิมอย่างกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน หรือแม่ครัวหัวป่าก์ เราเชื่อว่าต้องมีตำราอื่นอีกที่เรายังไม่สามารถหามาได้ ยังไงก็ขออภัยด้วย เราอาจทำการบ้านยังไม่ดีพอ แหะๆ แต่ถ้าใครที่อ่านบทความนี้แล้วเกิดความสนใจเรื่องตำรา สูตรดั้งเดิมที่คุณย่า คุณแม่เรียนรู้มา ลองไปถามพวกเขาดู ว่าพวกเขาเรียนมาจากไหน ไม่แน่บางทีอาหารครอบครัวของคุณ อาจมีสูตรมีตำราเป็นชิ้นเป็นอันจริงๆ ก็ได้ อย่างเช่นในคลิปของ Sangdad Publishing ที่นำเสนอตำราอาหารสูตรโบราณนั้นเอง




     

        สุดท้ายเราอยากฝากทุกคนให้ลองทำอาหารตามสูตรที่บ้านดู 

    เพื่อรสชาติที่เราคุ้นเคยไม่จางหายไป





    ที่มา :
    https://cklanpratoom.wordpress.com
    และหนังสืออีกมากมายในห้องสมุดมศก ต้องขออภัยด้วยค่ะ พอดีจำชื่อไม่ได้เเล้ว TT ถ้าหาเจอเดี๋ยวจะมาเพิ่มเติมนะคะ 
     

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in