เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Sanook Review 2020sanookjungrai
The Invisible Man : เมื่อความรักกลายเป็นยาพิษ

  • *บทความมีการเปิดเผยเนื้อหาของหนัง ถ้าไม่อยากโดยสปอยล์ให้หยุดอ่านก่อนจุดไข่ปลา*
    .
    Dark Universe จักรวาลที่รวบรวมเหล่า Monsters ที่ Universal หมายมั่นปั้นมือจะให้เป็นแฟรนไชส์ เพื่อสร้างจักรวาลหนังเหมือน MCU โดยมีดาราระดับแม่เหล็กเข้าแถวร่วมจักรวาลกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ทอม ครูซ / จอห์นนี่ เด็ปป์ และ จาเวีย บาเด็ม ซึ่งแค่รายชื่อเหล่านี้ ก็สามารถเรียกเสียงฮือฮาได้มากโขแล้ว
    .
    แต่พอเปิดตัวด้วย The Mummy ฉบับ ทอม ครูซ กลับกลายเป็นล้มเหลวไม่เป็นท่า จักรวาลหนังก็แทบจะล่มสลาย และหนึ่งในนั้น อีกหนึ่งเรื่องคือ The Invisible Man หนังมนุษย์ล่องหนที่หลาย ๆ คนคงคุ้นเคยจากหนังเรื่อง Hollow Man ฉบับปี 2000 ที่ เควิน เบคอน เล่น
    ซึ่งในความจริง มนุษย์ล่องหน เปิดตัวครั้งแรก ตั้งแต่ ปลายยุค 40s แต่เราไม่ขอย้อนไปไกลขนาดนั้นก็แล้วกัน เพราะ มนุษย์ล่องหนนี่มีการทำมาเป็นหนังเหยียบ 200 ครั้งเลย ดังนั้นจึงเอาแค่ฉบับ ปี 2000 ก็พอ
    .
    ในฉบับ ปี 2000 เล่าถึงทีมนักวิทยาศาสตร์ ที่ได้คิดค้นยาสำหรับทำให้ร่างกายล่องหนได้สำเร็จ จึงนำมาทดลองกับมนุษย์ แต่พอจะทำให้กลายสภาพกลับมาเป็นเหมือนเดิม เซรุ่มถอนพิษกลับไม่ได้ผลทำให้มนุษย์ทดลองเริ่มมีอาการจิตตกจนในที่สุด ก็ก่อเหตุทำเรื่องร้าย ๆ ขึ้นมา
    .
    ในฉบับนั้น เควิน เบคอน รับบทเป็นมนุษย์ล่องหนที่นานวันเข้า ด้านร้าย ๆในจิตใจก็เริ่มเอาชนะด้านดี โดยการแสดงของเขาทำเราลุ้นจนตัวโก่งว่า จะเอาชนะคนที่ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างไร ?
    .
    หนังฉบับใหม่เล่าเรื่องราวของ ซิสิเลีย แคส (อลิซาเบธ มอส) หญิงสาวที่ถูกทำร้ายโดยแฟนหนุ่ม เอเดรียน กริฟฟิน (โอลิเวอร์ แจ็คสัน‑โคเฮน จาก บ้านกระตุกวิญญาณ ใน Netflix)
    นักวิทยาศาสตร์ด้านทัศนศาสตร์ (เป็นแขนงหนึ่งในสาขาฟิสิกส์อันว่าด้วยพฤติกรรมและคุณสมบัติของแสง …. วันนี้มีสาระแหะ)
    ซึ่งหลังจากที่เธอหนีออกมาได้ไม่กี่วัน เอเดรียนได้ฆ่าตัวตายและยกทรัพย์สินบางส่วนให้กับเธอ ในขณะที่เธอได้เริ่มพยายามใช้ชีวิตใหม่ แต่เธอกลับรู้สึกว่าบางสิ่งบางอย่างกำลังหลอกหลอนเธอ และมันจะไม่หยุดจนกว่าเธอจะยอมแพ้
    .
    โดยส่วนตัวแล้ว ในหนังฉบับใหม่ อย่างแรกที่ต้องชมคือ ความสดใหม่ในแง่ของมุมมอง ซึ่งหนังหลายเรื่องมักเลือกที่จะเล่าเรื่องผ่านสายตาของมนุษย์ล่องหน แต่คราวนี้ กับกลับกันที่ครั้งนี้ เราจะได้เห็นมันผ่านสายตาของ ซิสิเลีย ตัวเอกสาวที่ถูกทำร้ายจากชายที่รัก และถูกหลอกหลอนจากเจ้าตัวมนุษย์ล่องหน ผ่านเรื่องราวที่ทันสมัย รวมไปถึงผลกระทบจากการถูกทำร้าย ซึ่งหนังได้เลือกมาเป็นหนึ่งในแกนการดำเนินเรื่อง ที่อิงจากพื้นฐานของความรัก ที่กลายเป็นพิษได้อย่างเหมาะสม
    .
    ในส่วนต่อมาก็คือ การดีไซน์มนุษย์ล่องหนที่ยอมรับว่า กล้าที่จะแตกต่างจากหนังเรื่องก่อน ๆ
    อันนี้ขอยกความดีความชอบให้กับวิสัยทัศน์ผู้กำกับ ลีห์ แวนเนลล์ ที่บอกไปแล้ว ในบ้านเราหลายคนอาจจะไม่คุ้นชื่อ
    แต่ถ้าพูดว่า เขาเป็นคู่หูของ เจมส์ วาน ที่ร่วมจมหัวจมท้ายมาตั้งแต่ Saw ภาคแรก และ Insidious อันนี้รับร้องว่า ทุกคนต้องร้อง อ๋ออออ กันเลยที่เดียว
    ซึ่งมาครั้งนี้ นอกจากกำกับแล้ว เขายังพ่วงเขียนบทอีกด้วย ทำให้ความหลอนของตัวเจ้ามนุษย์ล่องหนนั้น ทวีความน่ากลัวมากขึ้นไปอีก
    .
    ในทางกลับกัน ในส่วนที่ต้องขอหักคะแนน ซึ่งว่ากันตามจริงก็คงเป็นในส่วนของปมของตัวละครบางตัว ที่ไม่เคลียร์และถูกตัดทิ้งไปเฉย ๆ
    ทำให้เราไม่อาจรู้ถึงแรงจูงใจ หรือความความสัมพันธ์ของตัวละครแต่ละตัวว่า มีที่มาที่ไปอย่างไร ได้เลย
    อีกทั้งยัง ไม่นับ ฉากบางช่วงที่ตัดสลับกันไปมาแบบงง ๆ ส่วนนอกเหนือไปจากนั้น ทั้งหมดคือ ความบันเทิงในแบบฉบับที่ Dark Universe ควรทำตั้งแต่แรก หรือ ถ้าอยากจะเปิดจักรวาลใหม่อีกรอบ ก็ควรใช้เรื่องนี้แหล่ะ
    .
    .
    .
    .
    .
    *ถัดจากนี้จะเป็นการเปิดเผยเนื้อหาแล้วนะ*
    .
    *ใครยังไม่ดู ข้ามไปเลยครับ*
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    ส่วนที่สดใหม่ของหนังอย่างที่บอกไป คือ การดีไซน์ มนุษย์ล่องหน ที่ครั้งนี้เลือกจะอิงในความเป็นวิทยาศาสตร์มาก ๆ จนกลายเป็น ไซ-ไฟ เขย่าขวัญ
    จากเซรุ่ม กลายเป็น ชุดล่องหน เออออ ... ซื้อ ! ความคิดนี้ครีเอทจริง !
    มันทำให้ช่วงเวลาที่ตัวเอกเลือกจะโต้กลับ มันตื่นเต้นมาก ๆ ตื่นเต้นที่รู้ว่า ครั้งนี้มันไม่ได้เก่งแบบ หายตัวได้ตลอด แต่มันมีจังหวะที่ชุดมันพังด้วย (แต่ถึงอย่างนั้นชุดมันก็หลอนอยู่ดี) ซึ่งต้องยอมในความครีเอทตรงนี้มาก
    .
    อีกส่วนที่ทำให้รู้สึกอินกับหนัง คือประเด็นที่ว่า “รักมากก็แค้นมาก” เพราะคนรอบข้างเคยประสบพบเจอเรื่องราวแบบนี้
    ตัวละครของ ซิสิเลีย เป็นตัวแทนของเหยื่อที่ถูกความรักที่มากเกินไป ซึ่งอันที่จริง ไม่น่าเรียกว่ารักแล้ว น่าจะเรียกว่า เห็นแก่ตัว น่าจะเหมาะกว่า เพราะการ ถูกทำร้าย ในขณะที่ เอเดรียน ก็เป็นผู้กระทำ และในอีกส่วนหนึ่งคือ คนที่กำลังจะเป็นพ่อ
    ฉากที่ชอบที่สุดในหนัง คือฉากที่นางเอก พยายามฆ่าตัวตาย แต่ เอเดรียน ในสภาพล่องหน ได้ห้ามไว้ ซึ่งถึงแม้ว่าเป้าหมายจริง ๆ คือนางเอกที่ต้องการจะจับพระเอกให้ได้ก็ตาม
    แต่ถ้าหากเรามองในมุมของชีวิตจริง ๆ เราก็จะเห็นว่า เอเดรียนมีโอกาสที่จะฆ่านางเอกได้ตลอดเวลา แต่เลือกที่จะไม่ทำ (รึเปล่า?) เพราะเขาต้องการโอกาสที่จะได้แก้ไขตัวเอง (พี่ชายเอเดรียนเคยบอกนางเอกถึงวิธีที่จะจบเรื่องราวแบบเจ็บน้อยที่สุดแล้ว)
    ซึ่งนางเอกก็เลือกที่จะให้โอกาสแล้ว แต่เขาก็ยังเป็นเขา จนนางเอกทนไม่ได้แล้วเลือกที่จะจบมันเอง
    .
    พูดถึงความรัก มักจะมีคำกล่าวว่า “ความรักที่แท้จริง คือการเสียสละได้ทุกสิ่งอย่าง เพื่อให้คนที่รักมีความสุข”
    น่าเศร้าที่ ตัวละครอย่างเอเดรียนเลือกที่จะยึดติดกับการเป็นเจ้าของมากจนเกินไป ตามที่นางเอกพูด และน่าเศร้ามากขึ้นไปอีก เมื่อเราไม่รู้ปูมหลังว่า ในอดีตของเอเดรียน มีปมอะไร ถึงพยายามทำตัวเป็นผู้บงการคนรอบตัวได้ขนาดนี้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อเสียใหญ่ของหนัง ที่ทำให้หนังมีช่องโหว่พอสมควร
    .
    คนเราทุกคนย่อมมีความรักในหัวใจ และพร้อมจะให้อภัยคนรักเสมอ แต่ถ้าหากมากเกินไป
    มันอาจไม่ใช่ความรัก เป็นเพียงแค่ “ความหมกมุ่น” ที่ทำให้เราไม่ปล่อยให้ความรักจางหายไปเมื่อถึงเวลา
    ซึ่งในชีวิต จะมีสักกี่คนที่จะยอมทิ้ง “ความหมกมุ่น” ที่เคยมี แล้วยอมที่ก้าวต่อ เพื่อใช้ชีวิตไป
    .
    .
    .
    .
    .
    Ad : แมวดำตรงทางแยก

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in