ด้วยความสัจจริง การรักตัวเองทั้งกายและใจมันไม่ใช่พรสวรรค์นะ แม่งคือความพยายามล้วนๆ ความที่จะตัดสินใจเผชิญหน้าทำในสิ่งที่ uncomfortable เนี่ย อยากฮีลจิตใจก็ต้องเผชิญหน้ากับ hard feelings อยากฮีลร่างก็ต้องออกกำลังกาย
การดูแลสุขภาพจิตตัวเองมันไม่ได้ง่ายและสนุกเสมอไป มันคือ life time work การต้องบังคับให้ตัวเองไปทำอะไรที่ไม่อยากทำเช่นพยายามตื่นเช้ามารับวิตามินดี ออกกำลังกายเพื่อบาล๊านสารเคมีในสมอง หรือกล้าที่จะเผชิญหน้ากับบาดแผลที่กดมันไว้ แต่การันตีได้เลยว่าจะรู้จักตัวเองในเวอชั่นที่ดีขึ้นแน่นอน
& the thing about repairing and maintaining our mental health is it’s not an adventure, it’s just work, a life-long one ซึ่งมันไม่ได้แย่ เหมือนเราตื่นมาแปรงฟันทุกเช้า เสตจที่ยากที่สุดคือการยอมรับว่าตัวเองไม่โอเค และเริ่มปรับไลฟ์สไตล์ไปเท่านั้น เก่งมากเรา เก่งมากทุกคน รวมถึงยูด้วย เก่งมาก
และนี่คือ self-healing method ที่อยากจะเขียนบันทึกไว้ และมีสิ่งที่ตกผลึกหลังจากที่ดู
ta
lk ของ dr. Michael Yapko เกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามันรักษาได้มั้ยนะ และมันป้องกันไม่ให้เกิดได้รึเปล่า 🕺✨
เป็นหนึ่ง ชม. ที่คุ้มมาก จิตแพทย์เชี่ยวชาญด้านโรคซึมเศร้ามา 40 ปีพูดถึงการรักษาแบบใช้ยาอย่างเดียวว่ามันไม่ยั่งยืน แถมติดอันดับหนึ่งของการรักษาที่ทำให้โรคกลับมาเมื่อเทียบกับวิธีอื่น แล้วก็พูดเรื่อง มีทักษะอะไรมั้ยที่ป้องกันการเกิด/เยียวยา/เกิดซ้ำ ของ depression?
คำตอบคือมี
สภาพแวดล้อมมีผลมากกว่าปัจจัยทางชีวภาพ และมันไม่มีหนทางการรักษาที่ดีที่สุด แต่มันมีการรักษาที่ได้ผลที่สุดต่อแต่ละคน เพราะการเกิดของโรคต่างกันตามแต่ละคน ทางออกของโรคก็ย่อมต่างกันตามบุคคล
เหตุนั้นเองเราจึงต้องเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจตัวเองและ
แพทเทินทางความคิดว่ามีอะไรที่เสี่ยงมั้ย
ลิสปัจจัยเสี่ยงมี 5 ข้อหลักๆ
- internal orientation
- stress generation
- ruminating about negative and past event
- global thinking (over-general thinking)
- unrealistic expectations
แถมมี exercise ที่ช่วยเทรน cognitive behavior ให้ลองทำเพื่อติงสติให้รู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
he said and i quoted — สังคมพึ่งพายามากในช่วงปีหลัง แต่มันไม่มียาตัวไหนที่จะรักษาโรคซึมเศร้าได้ทั้งหมด ยาช่วยได้เรื่องการนอน สร้างสมดุลสารเคมีในสมอง การอยากอาหาร และลดความรุนแรงของโรค ซึ่งที่พูดมาก็อาจจะช่วยได้ไม่เกินครึ่งบองคนที่ใช้ยาจริงตามสถิติแล้ว
he said and i quoted— ไม่มียาตัวไหนที่จะตัดความเครียดออกไปหมด ไม่มียาตัวไหนช่วยให้คุณมองโลกตามความเป็นจริง ไม่มียาตัวไหนช่วยสร้างและรักษาความสัมพัน ไม่มียาตัวไหนช่วยให้วิเคราะห์เรื่องในชีวิตด้วยเหตุและผลแทนที่จะถูกดูดไปในบ่อของอารมณ์ และไม่มียาตัวไหนที่ช่วยคุณก้าวข้ามเรื่องในอดีต
Dr. Michael Yapko เขียนหนังสือเรื่อง Depression is contagious ว่าด้วยเรื่องโรคซึมเศร้ามันติดต่อกันได้ แต่ไม่ใช่ทางกายภาพ และเป็นทางใจ เพราะเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมเนอะ แต่ระดับความเสี่ยงจะแปรผันตามภูมิคุ้มกันทางใจและการสะท้อนกลับของแต่ละบุคคล (cognitive flexibility)
อยากสรุปแต่ละข้อของปัยจัยเสี่ยงแบบลงดีเทลมากเลย แต่มันจะยาวพอควร เลยสรุปว่าสภาพแวดล้อมมีส่วนเชปมายเซ็ต และมายเซ็ตก็จะไปเชปแพทเทินทางความคิด แพทเทินทางความคิดก็จะส่งผลต่อสารเคมีในสมองท้ายที่สุด เพราะงั้นการบำบัดแบบพฤติกรรม cognitive behavioral therapy ไปพร้อมกับเทคยาเอฟเฟคทีพมาก
สำหรับการสร้างภูมิก็คือ รู้เห็นตามความเป็นจริง ถ้าปัจจัยสภาพแวดล้อมควบคุมไม่ได้ก็ต้องปรับที่มายเซ็ตการรับมือ หรือเรียกว่า cognitive flexibility แล้วก็ resillience อยากร่างกายแข็งแรงก็ต้องออกกำลังกาย อยากสุขภาพจิตดีก็ต้อง mental training เช่นกันกันกัน 🍃
Additional:
นี่คือสมองของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า สารในสมองบางตัวหลั่งออกมาไม่เพียงพอหรือบางเคสหายไปก็มี
เพราะฉะนั้นคนเป็นโรคซึมเศร้าต้องหาจิตแพทย์รับยา ไปพร้อมๆกับ psychotherapy ด้วย เพื่อ balance สารเคมีในสมองแล้วก็ปรับพฤติกรรมและแพทเทินทางความคิดที่มันอยู่มานานจนเชปสมองเพื่อป้องกันการวนลูป ไม่ว่าจะเป็น Cognitive Therapy, Cognitive-Behavioral Therapy, Dialectical Behavior Therapy+
Psychodynamic Therapy, Interpersonal Therapy และจิตบำบัดรูปแบบอื่นตามความเหมาะสมและสนใจ เพราะการพูดคุยแบบจิตบำบัดก็สำคัญในการวิเคราะห์ potential contributed factors ที่ทำให้เกิดโรคได้ เช่น สภาพแวดล้อม บาดแผลทางจิตใจในอดีต toxic social relationships ก็เยียวยาทั้งสมองและพฤติกรรมเลย
neuroplasticity สุดยอดความอเมซซิ่งของสมองคือความสามารถที่มันจะเปลี่ยนแปลงได้ ผ่านพฤติกรรมซ้ำๆของเรา ทุกการกระทำ ความคิด คำพูดจะทิ้งร่องรอยที่ถาวรไว้ในสมอง (as we change our mind, our brain changes temporarily but those temporarily changes leave lasting structural traces)
เพราะสมองไม่มีภาษา ภาษาของสมองคือพฤติกรรม และถ้าอยากมี healthy brain ที่หลั่งสารเคมีเฮลตี้ออกมาโดยอัตโนมัติ เราก็สามารถเทรนสมอง โดยปรับพฤติกรรมเป็นแพทเทิน กลไกมันทำงานอย่างนั้นเอง การกระทำซ้ำๆ — เกิดร่องรอยของเส้นทางในสมองเรา — ทำซ้ำอีก — เกิดเป็น permanent traces — สมองหลั่งสารเคมีที่ดีต่อสุขภาพจิตมาอัติโนมัติ
สำหรับคนที่อยู่ใน self-healing journey ทุกคน เป็นกำลังใจให้นะคะ มันไม่ได้สวยงามเหมือน vlog ยูทูปเบอร์ ไม่ใช่แค่มองฟ้าหรือเล่นโยคะแล้วหาย การเดินทางของ mental healing มันอาจจะทำให้เราร้องไห้เป็นบ้าเป็นหลังในนาทีนึง และวันต่อมาก็เบลอๆ และวันต่อไปอาจรู้สึกดีขึ้นบ้าง และอาจจะวนเป็นลูปใหม่
แต่แน่นอนว่า trust the process อย่างที่นักจิตวิทยาทุกคนบอกไว้ เชื่อในจิตใจและ resilience ability ของมัน และคุณจะเจอตัวเองในเวอชั่นที่เฮลตี้ขึ้นแน่นอน once ยูยอมรับว่าตัวเองไม่โอเค และมองว่ามันเป็นเรื่องปกติธรรมดาของมนุษย์ที่จะไม่โอเคบ้าง นั่นคือจุดเริ่มต้นของการเดินทางนี้ค่ะ
may a peace of mind be with you always!
references:
Demystifying cognitive flexibility: Implications for clinical and developmental neuroscience
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in