เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
a filmWe Hello
"ผู้ชายในร่างผู้หญิง" ในหนัง three billboards outside ebbing Missouri
  •             Three billboards outside ebbing Missouri (3 บิลบอร์ด ทวงแค้นไม่เลิก) เห็นชื่อไทยก็พาเราขบคิดไปไกล หนังเรื่องนี้เป็นหนังฆาตกรรม ยิงกันกระจาย แต่ก็มีอยู่ส่วนหนึ่ง เพราะปมเรื่องเกิดจากลูกสาวของ มิลเดร็ด เฉย์ ถูกข่มขืนแล้วฆ่า หนังเรื่องนี้ไม่ได้โฟกัสยิงกันเพื่อล้างแค้นเลือกสลับสวิตซ์นำเสนอผ่านตัวละครคุณแม่ (มิลเดร็ด เฉย์) ที่ลงทุนซื้อป้ายโฆษณายักษ์ 3 ป้าย เพื่อเรียกร้องให้สังคมมาสนใจคดีฆาตกรรมบุตรสาว แล้วประจานตำรวจยังจับคนคนร้ายไม่ได้ Plot เรื่องดูง่ายๆ แต่ชวนให้ ตีความ และขบคิด




                  "เมื่อหมดที่พึ่ง" 

               ความจริงของสังคมที่มองว่า "กฎหมายเอาพวกนี้ไม่อยู่สันดานชั่วไม่เปลี่ยน นี่คือความล้มเหลวของระบบ" ทำให้คนธรรมดาหมดที่พึ่งต้องเรียกร้องด้วยมันสมองสองมือของตัวเอง หนังได้ยิบเรื่องนี้มาถ่ายทอดผ่านตัวละครได้ครบรส แถมไม่ฟังความข้างเดียว เริ่มตั้งแต่ “คุณแม่(มิลเดร็ด เฉย์)” ที่หมดความศรัทธากับระบบทำงานของเจ้าหน้าที่ต้องมาช่วยตัวเอง ไปเช่าป้ายโฆษณายักษ์ 3 ป้าย แค่ไอเดียง่ายๆกับคำโดนๆ บนบิลบอร์ด ได้ไปสะกิดต่อมผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อย่าง “ตำรวจ” และหนังได้ถ่ายทอดชุดความคิดของตำรวจออกมาสมเหตุสมผลเซอไพรส์สุดเราจะได้เห็น ตำรวจหมดที่พึ่ง พวกเขาก็มีวิธีแก้ปัญหาในฉบับของตัวเองซึ่งสะท้อนชีวิตจริงของพฤติกรรมมนุษย์ได้เนียนมาก

           "บอกเลยว่าแค่ 3 ป้ายยักษ์ถือเป็นจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะหนังสอดแทรกการตัดสินใจในวันที่หมดที่พึ่งสุดท้ายไว้ให้เราลุ้นกันตลอดทั้งเรื่อง"



                     "ผู้ชายในร่างผู้หญิง"
                   ตัวละครคุณแม่(มิลเดร็ด เฉย์) แสดงโดย ฟรานเซส แม็คดอร์มานด์ เล่นดีขนาดไหนก็การันตีด้วยรางวัล Oscars ครั้งที่ 90 สาขา นักเเสดงนำหญิงยอดเยี่ยม นั้นคือความสำเร็จของนักแสดง แต่ความจริงในหนังที่ฟรานเซส แสดงแตกต่างอย่างสิ้นเชิง เพราะตัวละครคุณแม่(มิลเดร็ด เฉย์) ต้องแบกรับหน้าที่ต่อสถานนะการต่างๆ หนักมาก ๆ แค่มาประจาน และปะทะคารมกับตำรวจ โอกาสจะไปนอนในคุกมีสูงมาก แต่นั้นเป็นภาระส่วนหนึ่งต้องเจอเท่านั้น เพราะหนังจะทยอยยอดภาระอันหนักอื้อให้คุณได้กุมขมับจนคุณต้องรู้สึกว่า “หน้าที่นี้ควรเป็นของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง” แล้วไอ้ตัวพ่อมันหายไปไหนทำไมไม่รับหน้าที่นี้ (ในหนังก็มีคำตอบให้ เรียกได้ว่าตบหน้าตัวพ่อจนหน้าชาไปข้าง)

                ถ้าเรามองไปที่เส้นแบ่งระหว่างชายกับหญิงที่มองอุดมคติ “ผู้หญิงต้องอ่อนโยน เธอคือแม่บ้าน” หนังเรื่องนี้ตอบกลับคุณว่า “ฉันมีความคิด ฉันมีกำลัง ถ้าคุณไม่ทำ ฉันทำเองแล้วคุณอย่าเรียกร้องอะไร” เพราะ ฉัน คือ ฉัน แสดงจุดยืนของผู้หญิงยุคปัจจุบันได้ดีมากๆ ซึ่งหนังก็พยายามลบภาพจำผู้ชายคือผู้คุมทุกอย่างออกไป เป็นอะไรที่เราชอบมากๆ แต่ท้ายที่สุดแล้วหนังก็ไม่ได้ถ่ายทอดมาโดยตรง “ฉันก็ขาดเธอไม่ได้” ซึ่งมันจะค่อนข้าง PARADOX(ย้อนแย้ง) กับสถานะการในหนังที่เป็นอยู่นิดๆ นั้นแหละคือเหตุผลทำไมผมต้องจั๊วหัวข้อไปว่า "ผู้ชายในร่างผู้หญิง"


                     “ดูง่ายไม่งง” 
                   เป็นหนังที่พ็อตเรื่องดูง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ได้ใช้เทคนิคเรื่องมุมภาพอะไรมาก หรือจังหวะตัดต่อมันๆ แต่กลับโดดเด่นในตัวบท ตอนแรกคิดไว้ว่าหนังเดินเรื่องด้วยบทสนทนาแบบนี้ต้องหลับแน่ๆ แต่กับถูกสะกดไว้อยู่หมัด เพราะต้องมานั่งลุ้น ตั้งแต่การหยอดเหตุการณ์ที่ตัวละครต้องเจออย่างคาดไม่ถึง หรือให้เราต้องเดาไปตลอดทั้งเรื่องว่าใครคือคนร้ายกันแน่ (อึดอัดมาก) และขอส่งท้ายเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ติดหูมากถึงต้องมาหาฟัง playlist ขอยกให้เพลง Buckskin Stallion Blues - Amy Annelle ติดหูในหนังเรื่องนี้ พอๆกับเราจำว่าหนังเรื่องนี้ มีป้ายยักษ์ 3 ป้าย



    ------ THE END----

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in