12 มิถุนายน
สวัสดีค่ะ วันนี้พวกเราSummer studentมีนัดหมายให้ไปดูเครื่องAD+DC อันแรกเป็นเครื่องDecelerator “ELENA” อันหลังคือData Centerนั้นเอง
เรานัดเจอกับเพื่อนๆแก๊งค์Summer studentที่Restaurant2ที่อยู่บนเนินเขา ใกล้กับOfficeมิ่งเอง บางคนไม่เคยมาก็บ่นกันใหญ่ ทำไมมันช่างไกลเช่นนี้ อ่อ แค่นี้ ชิลๆค่ะ เดินมาทำงาน(เกือบ)ทุกวันเป็นปกติอยู่แล้ว
ได้เจอกับSummer studentแก๊งค์ใหม่ที่พึ่งมาถึงด้วย เฟรนลี่กันทุกคนเลย ได้เพื่อนใหม่เป็นชาวรัสเซีย คอสตาริก้า แล้วก็สวีเดน ระหว่างรอก็คุยเรื่องประเทศเรื่องโปรเจคกันไป เพราะนัดตั้งบ่าย2
OLLA!
พอถึงเวลา กลุ่มมิ่งก็ได้แยกไปดูเครื่องDeceleratorกันก่อนในโรงAntimatter Factory ใกล้กับโรงอาหาร ลองนึกภาพดูสิคะ คุณนั่งกินข้าวอยู่ โดยที่มีโรงทดลองAntimatterที่สามารถไขความลับของจักรวาลได้อยู่ห่างไปไม่ไกล
ว้าว
ในโรงงานนี้จริงๆก็มีหลายการทดลองอยู่ภายในค่ะ ไม่ว่าจะเป็นตัวASAKUSA หรือ Anti-gravity แต่ตัวเครื่องที่เป็นไฮไลต์ของเราวันนี้ คือตัวELENAที่จะเป็นตัวคอยลดความเร็วของAnti protonที่วิ่งมาด้วยความเร็วแสง ให้ลดความเร็วลงมาจนอยู่ในสภาพเหมาะสมที่จะสังเกตุการณ์และทดลองด้วยได้ง่ายขึ้น วิธีการลดความเร็วของมันนั้นคือการใช้Chargeขั้วตรงข้าม ดึงตัวอนุภาคกลับย้อนไปอีกทาง หลังจากที่มันวิ่งผ่านไปแล้วค่ะ จะมีตัวแม่เหล็กถูกติดตั้งอยู่มากมายเป็นรูปแบบHexagon แรงประมาณ2-3Teslaให้อนุภาคเลี้ยวหักทีละ60องศา เป็นวงกลม ตัวแม่เหล็กนี้ยังเป็นตัวช่วยFocusอนุภาคไม่ให้วิ่งออกนอกลู่นอกทางด้วย
แรกเริ่มเดิมทีเค้าใช้ฟอยล์นี่แหละค่ะในการลดความเร็ว แต่พอใช้ฟอยล์แล้วAnti protonดันสลายหายไปซะ90% การมีเครื่องนี้เกิดขึ้นมาเลยมีประโยชน์อย่างมาก!
แล้วยังมีเครื่องที่เป็นท่อสีฟ้าๆที่ช่วยSmoothenการเคลื่อนที่ของAnti protonด้วย ไม่ให้มันแกว่งไปมา
เครื่องชะลอนี้จะมีทั้งวงใหญ่และวงเล็กค่ะ วงเล็กสามารถดูได้จากด้านบน ส่วนเครื่องใหญ่ต้องเขาไปในอุโมงค์(บนดิน) ผ่านด่านตรวจ เพื่อดู โชคดีที่วันนี้มันปิดเราเลยสามารถเข้าไปดูได้
ดูเครื่องหมายสีเหลืองๆนั้นสิ5555 แต่ไม่เป็นไรนะคะ เข้าไปได้ ตอนนี้ปลอดภัย
ถ้าสังเกตุดูดีๆตรงใต้จอจะมันแผงกุญแจถูกเสียบอยู่ ถ้าใครจะเข้าไปให้ดึงกุญแจนั้นออกมาใส่ในกระเป๋ากางเกง เป็นเหมือนLife insuranceของเราค่ะ เพราะเครื่องจะไม่ทำงานตราบใดที่กุญแจไม่เสียบอยู่ครบ
ในห้องนั้นมีที่แสกนม่านตาด้วย หูย อย่างกะในหนัง
อันนี้คือข้างในค่ะ คูลลลลล องค์ประกอบจะไม่ค่อยต่างจากวงเล็กข้างนอกนัก ทำงานแบบเดียวกันเลยย
หลังจากออกมาข้างนอก วิทยากรก็อธิบายอีกการทดลองนึงที่ทำที่นี่ นั่นคือหาพลังงานที่Anti hydrogen(ซึ่งถูกFormจากAnti protonและPositron)ใช้ในการเปลี่ยนไปยังอีกExcited state (จาก1Sไป2S) ว่ามันต่างจากHydrogenธรรมดามั้ย ในการทดสอบต้องใช้2 Beamค่ะ บีมแรกยิงไปยังpositronที่สถานะพื้น ให้ถูกกระตุ้นไปอีกขั้น อีกบีมนึงไว้เทสว่ามันถูกกระตุ้นไปอีกชั้นแล้วนะ ซึ่งวิธีการสังเกตุก็จะดูจากแสง(Freqeuncy)ที่มันปล่อยออกมาค่ะ
ส่วนการForm atomของAnti hydrogenก็ไม่ใช่ง่ายนะคะ คืออนุภาคต้องมีสภาพและระดับพลังงานที่เหมาะสมด้วย ถึงจะFormได้
อ่า ช่างมีความพยายามในการค้นคว้าอะไรแบบนี้จริงๆ
ที่ถัดไป คือData centerค่ะ เผื่อใครยังไม่รู้ ที่CERNที่นี่เป็นต้นกำเนิดของสิ่งที่เรารู้จักกันในนามWorld Wide Webหรือ WWW นะคะ โดย
Tim Berners-Leeสมัยเค้ายังทำงานอยู่ที่CERNเพื่อเป็นDocument resource sharingอำนวยความสะดวกให้แก่นักวิจัยที่นี่ สุดยอดมากๆ การได้มาที่นี่ไม่ใช่ความฝันของนักฟิสิกส์เพียงอย่างเดียว แต่ก็เป็นความฝันของวิศวกรสายสารสนเทศได้เช่นเดียวกัน เมื่อยิ่งคุณเห็นแผงServerในแบบพาโนราม่าแล้วมันช่าง..
ฟินนนนนยิ่งนัก!
กว่าจะดูงานเสร็จก็ปาไปสี่โมงแล้ว กลับมาที่ห้องสมุดแก้งานนิดๆหน่อยๆแล้วก็กลับหอเพื่อเตรียมตัวอพยพไปฝั่งฝรั่งเศสค่ะ ...เพราะมันถูก และใกล้คาร์ฟูว์ แต่ก็ดันเจอแก๊งค์Summer studentมานั่งกินข้าวตั้งวงเม้าท์ด้วยกันอีกแล้ว อันประกอบด้วยชาวเยอรมัน สวีเดน บังกลาเทศ
ในส่วนของคุณพี่บังกลาเทศ แชร์เกร็ดความรู้ให้เราอีกด้วย
Bosonชื่อของสสารครึ่งนึงของจักรวาล(อีกครึ่งคือFermion) ได้ถูกตั้งชื่อตามศิษย์เก่าของมหาลัยเค้าเองค่ะ เป็นชาวบังกลาเทศ ชื่อ Satyendra Nath Bose
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in