วันนี้เรามาแนะนำระบบ Lexile ให้คนที่อยากอ่านหนังสือภาษาอังกฤษแต่ไม่รู้ว่า เออ เล่มนี้ศัพท์หรือว่าเนื้อหายากไปมั้ย จะอ่านเข้าใจรึเปล่า Lexile เป็นระบบวัด readability ของหนังสือที่ฝั่งอเมริกาใช้เลือกหนังสืออ่านนอกเวลาที่เหมาะสมให้กับนักเรียนตั้งแต่แรกเริ่มอนุบาลไปจนถึงมัธยม เพราะงั้นใครที่กลัวว่าภาษาตัวเองไม่ดีก็สามารถใช้ระบบนี้ได้แน่นอน
อย่างแรกมารู้จักระบบ Lexile กันก่อนค่ะ ถ้าเข้าไปในเว็บ
https://lexile.com หรือว่าใส่ชื่อหนังสือแล้วตามด้วยคำว่า lexile ลงไปในgoogleก็จะเจอลิงค์แรกไปสู่เว็บไซต์หน้าตาแบบนี้ค่ะ ขอใช้ Harry Potter and the Chamber of Secrets เป็นตัวอย่างประกอบนะคะ
มาดูกันทีละส่วนเลยนะคะว่าคืออะไรบ้าง
1. Lexile ของหนังสือ
เริ่มจากส่วนสำคัญที่สุดคือตัวเลขในวงกลมเขียนค่ะ ค่า L ในวงกลม เป็นระดับความยากง่ายของหนังสือทั้งซึ่งวัดมาจากเนื้อหา คำศัพท์ที่ใช้ โครงสร้างประโยคและแกรมม่าค่ะ โดยจะมีตั้งแต่ 100-2000 (ของแฮรี่940L) ซึ่งถ้าเรารู้ระดับ Lexile ของตัวเองเราก็มาเทียบกับ Lexile ของหนังสือได้เลยค่ะ จะได้พอเดาได้คร่าวๆว่าเราจะอ่านเล่มนี้รู้เรื่องรึเปล่า
2. แล้ว Lexile ของเราดูได้จากไหน
ถ้าเป็นเด็กเมกาก็ไปสมัครสอบเพื่อหาค่า L ของตัวเองได้ค่ะ แต่ในไทยไม่มีใครจัดสอบให้เพราะงั้นเราก็ต้องลองไปหาค่า L ของเราเอง เริ่มแรกก็วัดจากหนังสือภาษาอังฤษที่เราอ่านจบแล้วเข้าใจ รู้สึกว่าไม่ยากมาก มีต้องเปิดดิกส์บ้างแต่ก็ไม่ต้องเปิดจนมือหงิก อ่านได้สบายๆ ค่ะ
อันนี้เป็นค่า L ของหนังสือภาษาอังกฤษที่คิดว่าหลายคนอาจจะเคยอ่าน ลองดูเทียบไว้เป็นไกด์ไลนน์ว่าค่า L ของเราเท่าไหร่นะคะ ถ้าไม่มีก็ไปเสิร์ชหาหนังสือของตัวเองได้เลย
Harry Potter and the Philosopher's stone - 880L
Harry Potter and the Chamber of Secrets - 940L
Harry Potter and the Half-Blood Prince - 1030L
The Hunger Games - 810L
The Fault in our stars - 850L
Twilight เล่มแรก - 720L
Percy Jackson and the Lightning thief - 740L
Norwegian Wood (Murakami) - 770L
Lolita - 1380L
Invisible Cities - 1290L
ค่า L มีปัญหานิดหน่อยตรงทีมันรวมทั้งความยากด้านเนื้อหาและคำศัพท์ไว้ด้วยกัน ดังนั้นบางเล่มมีเนื้อหาไม่ยากแต่ศัพท์ยากหน่อย เช่น Harry Potter and the Chamber of Secrets ค่า L ก็พุ่ง หรือว่า Norwegian Wood ที่เนื้อหาค่อนข้างหนักแต่ภาษาง่ายหน่อยค่า L เลยไม่สูงมาก ปัญหาของคนต่างชาติอย่างเราที่โตแล้วอยากอ่านหนังสืออังกฤษ คือ เข้าใจเนื้อหาได้แน่ๆ แต่อาจจะไม่รู้ศัพท์มากนัก ในกรณีนี้ค่า L อาจไม่ช่วยเท่าไหร่ ซึ่ง Lexile เองก็แก้ปัญหานี่ด้วยช่อง Vocabulary Words กับ Particular reader ค่ะ
3. เล่มนี้ศัพท์ยากแค่ไหน ?
พาร์ท Vocabulary Words หรือ power v คือศัพท์ยากๆของหนังสือเล่มนั้นเทียบกับหนังสือที่ค่า L เท่ากันเล่มอื่นๆ โดยศัพท์พวกนี้คือศัพท์ที่ยากและสำคัญต่อการเข้าใจเนื้อหาหนังสือเล่มนั้นค่ะ เรียกง่ายๆคือศัพท์ที่เราจะได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้ค่ะ ดังนั้นถ้าเราพอแปลศัพท์ตรงนี้ได้ครึ่งนึหรือมากกว่านั้น ในแง่ของศัพท์แล้วหนังสือเล่มนี้ก็ไม่ได้ยากเกินความสามารถของเราแน่นอนค่ะ ถ้าใครอยากเรียนภาษาอังกฤษผ่านการอ่านก็เลือกเล่มที่เรามีศัพท์ไม่รู้เยอะหน่อย ถ้าใครอยากอ่านสบายๆ ก็เลือกเล่มที่เราพอรู้ศัพท์ค่ะ
ส่วนตัวเราว่าพาร์ทนี้ค่อนข้างสำคัญสำหรับคนอ่านต่างชาติแบบเราที่อยากรู้ ภาษาอังกฤษในเล่มจะยากแค่ไหนค่ะ เพราะงั้นโฟกัสส่วนนี้มากกว่าค่า L ก็ได้ค่ะ
4. ประเมินค่า L ตัวเองกันอีกรอบ
พาร์ทที่เจ๋งมากสำหรับระบบนี้คือตรงนี้ค่ะ ให้เราลองไปใส่ค่า L ของเราดูแล้วมันจะคิดมาให้ว่าน่าจะเข้าใจเล่มนี้กี่% มีศัพท์อะไรใหม่ๆให้เรียน
ตรงนี้เป็นเหมือนให้เราได้ประเมินค่า L ของตัวเองในแง่คลังคำศัพท์ค่ะ ถ้าศัพท์ที่โผล่ใน Tailored Vocab ง่ายไปแสดงว่าเราอาจประเมินค่า ศ ตัวเองน้อยไป เวลาที่เราประเมินค่า L จากหนังสือที่เราอ่านมันรวมทั้งเนื้อหาและศัพท์ พาร์ทนี่เหมือนช่วยแยกให้เรารู้ว่าค่า L ในส่วนคำศัพท์ของเราประมาณเท่าไหร่ค่ะ เพราะงั้นลองไปใส่ค่า L เล่นๆจนกว่าจะประเมินตัวเองถูกกันค่ะ
ส่วนค่า expected comprehension ถ้าจะอ่านหนังสือให้รู้เรื่องได้ค่านี้ประมาณ 60% ก็อ่านเข้าใจ เพราะเวลาอ่านจริงเราเปิดดิกส์/อ่านข้าบางประโยคได้อยู่แล้ว Lexile เองก็เขียนไว้ในเว็บว่าค่าทุกอย่างที่ประเมินในระบบ เป็นค่าที่แบบว่าเราไปนั่งอ่านคนเดียวในห้อง ไม่มีดิกส์ ไม่มีเน็ต แต่ในชีวิตจริงเราก็ยังสามารถถามคนอื่นได้ เปิดอ่านเรื่องย่อในเน็ตได้ เพราะงั้น expected comprehension น้อยมากๆก็ไม่ต้องกลัวว่าหนังสือจะยากไปค่ะ
สรุป
โพสต์นี่เอามาจากที่ทวีตไปเมื่อวานแล้วรู้สึกอยากเขียนเป็นบทความดีๆ หวังว่า Lexile จะเป็นไกด์ไลนน์ให้คนที่เริ่มอยากอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ หรือคนที่อยาก Challenge ตัวเองกับหนังสือที่ยากขึ้นไปเรื่อยๆได้นะคะ เพราะว่าโลกนี้มีหนังสือเยอะในแบบที่เราไม่มีทางอ่านได้หมด การเลือกหนังสือที่ใช่ที่โดนเลยเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ส่วนตัวเราก็ใช้ lexile บ่อยๆ แต่ถ้ามีเรื่องไหนที่รู้สึกว่ายากแต่อยากอ่าน ก็อ่านไปเลยค่ะ บางเล่มยากเกินก็เทไป บางเล่มอ่านจบแล้วก็เออ lexile มั่วป่ะวะ 555 เอาเป็นว่ายึดLexile ไว้เป็นไกด์ไลนน์ แล้วเริ่มอ่านเลยค่ะ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in